พอดีได้มีโอกาสฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการฝึกคิดด้วยภาพหรือ Visual Thinking ซึ่งลองปรับมาใช้ ผมว่ามันเหมาะกับการทำงานและแก้ปัญหาต่างๆได้ดี เลยเอาเล่าให้ฟังกันในแบบฉบับของผม
Visual Thinking คืออะไร?
การใช้ความสามารถด้านการมองเห็นทั้งหมด เช่น สายตา จิตนาการทางความคิด หรือสมองไว้สำหรับประมวลผลความคิดให้ชัดเจนเพื่อให้เป็นนักสื่อสารที่ดีขึ้น
หลายคนมักกังวลเรื่องการวาดรูปมาก่อนเมื่อพูดถึง Visual Thinking แต่ที่จริงแล้วความสวยงามหรือเรื่องราวของการวาดรูปภาพไม่ได้มีความสำคัญเท่ากับการฝึกฝนและวาดความคิดของตัวเราออกมามากกว่า อาจจะเริ่มจากการว่างรูปง่ายๆ พวกสัญลักษณ์สามเหลี่ยม วงกลม ลูกศรก่อนก็ได้ เพียงแค่นี้ก็เพียงพอในการสื่อสารแล้ว นำไปสู่ Mind Mapping ที่เป็นแผนที่ทางความคิดนั้นเอง และนอกจากการวาดออกมาเป็นรูปภาพแล้ว การคิดเป็นรูปภาพก็ช่วยพัฒนาทางความคิดเช่นกัน
มีหลักการตามทฤษฎีตัวเลข 3,4,5,6 ดังนี้
- 3 = เครื่องมือพื้นฐาน (Built-in Tool)
- 4 = ขั้นตอน (Processes of Visual Thinking )
- 5 = คำถาม (Powerful Questions with SQVID)
- 6 = วิธีการเห็นและแสดงออก (Rules)
โดยทั้งหมดนี้ผมเอามาแยกอธิบายได้ในแต่ละส่วนแตกย่อยๆเพื่อให้เข้าใจเพิ่มเติมกันครับโดยเริ่มจาก
3 = เครื่องมือพื้นฐาน (Built-in Tool)
การใช้ภาพมาแทนตัวหนังสือจะทำให้เราเห็นความสำคัญและความสัมพันธ์กับส่วนต่างๆได้ดีขึ้น และที่สำคัญคือเราจะเห็นภาพรวมทั้งหมด เมื่อเราเจอข้อมูลที่มากมายบางครั้งเราจะหาวิธีการบอกต่อไม่เจอและถ้าเราไม่ได้วาดออกมาเป็นข้อมูล ข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่ได้รับการถ่ายทอดออกมาเช่นกัน มาถึงตรงนี้จะเริ่มต้นด้วยการ
- จัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวข้องที่นอกจากรูปแบบรายงาน
- การเก็บเกี่ยวข้อมูลรูปภาพ
- การสื่อสารด้วยรูปภาพที่อธิบายได้ชัดเจนกว่า
ทั้งสามส่วนที่บอกมีการใช้งานจริงมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์แล้ว จะเห็นได้ว่ามีการใช้รูปภาพอธิบายสิ่งต่างๆตั้งแต่สมัยนั้น และแน่นอนก็ยังสามารถเข้าใจได้ว่าเรื่องรายที่เขาวาดมาต้องการสื่อสารอะไรบ้าง ดังนั้นภาษาภาพจึงสามารถสื่อสารได้ง่ายและเข้าใจแม้กาลเวลาจะผ่านมายาวนานก็ตาม สำหรับการเริ่มต้นที่ดีในส่วนนี้ให้เริ่มตากการ ดู เห็น จินตนาการ และแสดงออก เพื่อใช้ภาพเล่าเรื่อง
ดังนั้นจำเป็นอย่างมากที่จะต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าประเด็นสำคัญคืออะไร ภาพที่ใช้เป็นอะไร และมีใครบ้างที่เกี่ยวข้อง เมื่อเรารู้แล้วจะทำให้เราถ่ายทอดออกมาได้ดีมากยิ่งขึ้นครับ
จากหัวข้อทำให้เป็นส่วนผสมในการแก้ไขและอธิบายข้อมูลที่ดีก็จะประกอบด้วยเครื่องมือที่ชื่อว่า Built-in Tool โดยมี 3 ตัวคือ ตา (Eyes), ตาในความคิด (Mind’s Eye) และมือ (Hand)
4 = ขั้นตอน (Processes of Visual Thinking)
กระบวณการแก้ปัญหาต่างๆด้วยภาพ ซึ่งประกอบด้วย Look (ดู), See (เห็น), Imagine (จินตนาการ), และ Show (แสดงออก)
- Look (ดู) เริ่มการเรียนรู้โดยการทำความเข้าใจให้ดี เก็บข้อมูลรายละเอียดให้ได้มากที่สุด
- See (เห็น) เห็นกระบวณการหรือรูปแบบต่างๆ เพื่อการแก้ปัญหาที่ดี
- Imagine (จินตนาการ) คำนึงถึงรูปภาพหรือลักษณะของปัญหาที่อยากจะนำเสนอออกมาว่าควรออกมาในรูปแบบไหน
- Show (แสดงออก) การลงมือวาดรูปภาพเพื่อให้มองเห็นถึงข้อมูลที่ได้ดำเนินการมาทั้งหมด โดยเริ่มวาดออกมาเป็นฉบับร่างแล้วก็นำไปเช็กกับคนที่เกี่ยวข้องว่ามีความเข้าใจสิ่งที่นำเสนอหรือไม่ก่อน ถ้าเข้าใจไม่ตรงกันก็ปรับเนื้อหาที่นำเสนอใหม่ครับ
5 = คำถาม (Powerful Questions with SQVID)
ชุดคำถามที่ใช้กระตุ้นสมอง ประกอบด้วยคำถามหลัก 5 ชุดประกอบด้วย
- S-Simple แสดงแนวคิดแบบเรียบง่าย เพื่อขยายความให้เข้าใจ (Elaborate)
- Q-Qualitative แสดงแนวคิดเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดปริมาณ (Quantitative)
- V-Vision แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศ เพื่อให้เห็นวิธีปฏิบัติและบรรลุผล (Execution)
- I-Individual แสดงแนวคิดเป็นเอกเทศ และนำมาเปลี่ยนเทียบกับแนวคิดอื่นๆ (Compare)
- D-Delta แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง และต้องบอกถึงสถานะปัจจุบันด้วย (Status quo)
6 = วิธีการเห็นและแสดงออก (Rules)
การแยกส่วนต่างๆออกเป็นส่วนย่อยๆแบบพิซซ่า 6 ชิ้น โดยเริ่มแรกเรามักเห็นปัญหาเป็นเรื่องใหญ่เสมอ ลองมองให้เป็นพิซซ่า 1 ถาดย่อยๆ โดยแบ่งเป็น
- What/Who เรากำลังคิดถึงอะไร หรือใครที่เป็นปัญหาอยู่
- How many/How much สิ่งที่เรากำลังคิดเป็นจำนวนเท่าไหร่ หรือปริมาณน้อยหรือมากเท่าไหร่
- Where สิ่งที่เรากำลังมองอยู่ที่ไหน
- When สิ่งที่เรากำลังคิดเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จะเกิดตอนไหน
- How สิ่งที่เรากำลังคิดมันสัมพันธ์กันยังไง จาก 1-4 ข้อที่ผ่านมา
- Why สิ่งที่เรากำลังคิดนั้นเกิดขึ้นได้ยัง ทำไมถึงเกิดขึ้น