สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับเรื่องราวที่น่าสนใจด้านเทคโนโลยีพลังงาน วันนี้เรามีข่าวดีจะมาแจ้งให้ทุกคนได้ทราบว่า นักวิจัยพบวิธีดึง “พลังงานแสงอาทิตย์” มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าโซลาร์เซลล์แล้ว ซึ่งจะทำได้อย่างไรบ้าง ลองมาดูกัน
วันที่ 21 มกราคม 2020 สำนักข่าว Phys รายงานว่า
=> นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนา “โมเลกุลเดี่ยว” ที่สามารถดูดซับแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ได้เป็นครั้งแรก ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานทางเลือกสะอาดสำหรับยานพาหนะ โมเลกุลตัวนี้จะรวบรวมพลังงานจากสเปกตรัมที่มองเห็นได้ทั้งหมด และสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากกว่าโซลาร์เซลล์ที่ใช้ในปัจจุบัน 50% การค้นพบนี้ช่วยให้มนุษย์เปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดโลกร้อนได้
“แนวคิดโดยรวมคือเราสามารถใช้โฟตอนจากดวงอาทิตย์และแปลงให้เห็นไฮโดรเจนได้ พูดง่าย ๆ ก็คือ เรากำลังเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ไว้ในพันธะเคมีเพื่อนำกลับมาใช้ในภายหลัง” – นักวิจัย คลอเดีย เทอร์โร (Claudia Turro) กล่าวถึงโฟตอนที่เป็นองค์ประกอบของแสงแดด
=> นักวิจัยชี้ให้เห็นว่านี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาสามารถเก็บรวบรวมพลังงานจากสเปกตรัมของแสงที่มองเห็นได้ทั้งหมด
=> หนึ่งในนั้นคืออินฟราเรดพลังงานต่ำที่ยากต่อการเก็บรวบรวม และเปลี่ยนพลังงานเหล่านั้นให้เป็นไฮโดรเจนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
ในการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานให้รถ จำเป็นต้องใช้สิ่งที่เรียกว่าตัวเร่งปฏิกิริยา
=> เพื่อให้ปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานที่ใช้งานได้ เช่น ไฮโดรเจน ซึ่งพวกเขาได้เลือกใช้ธาตุโรเดียม (Rhodium) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพราะมันทำให้ระบบสูญเสียพลังงานน้อยลง และมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบก่อนหน้านี้ถึง 25%
=> แต่ก่อนที่การค้นพบนี้จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เทอร์โรกล่าวว่า เนื่องจากโรเดียมเป็นโลหะหายากและการผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาจากโรเดียมนั้นค่อนข้างแพง พวกเขาจึงกำลังพัฒนาให้โมเลกุลเดี่ยวผลิตไฮโดรเจนได้ในนานขึ้น และกำลังสร้างตัวเร่งปฏิกิริยาจากวัสดุที่มีราคาไม่แพงเป็นการต่อยอดในอนาคต