Sunday, December 22, 2024
29 C
Bangkok

จ่ายเงินทุกครั้งที่คลิก กฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญาการใช้งานอินเทอร์เน็ต

จ่ายเงินทุกครั้งที่คลิก เรื่องจริงที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า อย่าชะล่าใจ เพราะเป็น 1 ใน 15 ข้อของสนธิสัญญาการบริหารเครือข่ายโทรคมนาคมของโลก หรือ อินเทอร์เน็ต เทเลคอมมูนิเคชั่น เร็ก กูเรชั่น (Internet Telecommunication Regulation : ITR) ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้มีการตกลงให้แก้ไขเนื้อหาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ.2553) โดยปลายเดือน ธ.ค.2555 ประเทศสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ราว 180 ประเทศจะมีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว ระหว่างการประชุมด้านโทรคมนาคมซึ่งไอทียูจัดขึ้นที่ประเทศดูไบ น.ส.ดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหาร อินเทอร์เน็ต โซไซตี้ ประเทศไทย (ไอซอก) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิก ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานอินเทอร์เน็ตโลก กล่าวถึงเนื้อหาของสนธิสัญญาเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ตกลงให้มีการแก้ไข ว่า เกือบ 2 ปีของการแก้ไขเนื้อหา พบว่ามี 10 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่เสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินเดีย อิหร่าน มาเลเซีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย เป็นต้น ซึ่งมีทั้งส่วนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาที่แก้ไข ซึ่งประเทศไทยหน่วยงานที่ดูแลยังไม่แสดงท่าทีต่อประเด็นดังกล่าว สำหรับเนื้อหาของสนธิสัญญาที่แก้ไขจาก 15 ข้อ มี 6 ข้อที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ได้แก่ 1. ความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต 2. การใช้ทรัพยากรเลขหมายในทางที่ผิด 3. การกำหนดนิยามเรื่องบริการโทรคมนาคม  4. ระบุตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและประวัติการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต  5. คุณภาพบริการ และ 6. ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย น.ส.ดวงทิพย์ ยกตัวอย่างขอบเขตสนธิสัญญาที่แก้ไข ว่า หนึ่งในเรื่องที่แก้ไขเนื้อหา คือการใช้อินเทอร์เน็ต โพรโตคอล แอดเดรส (ไอพี แอดเดรส) ซึ่งระบุว่าประเทศสมาชิกต้องหาวิธีใดวิธีหนึ่งในการคิดค่าบริการจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยไอพี แอดเดรส ซึ่งเป็นความพยายามที่จะจัดเก็บค่าบริการจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกครั้ง และเก็บเงินทุกครั้งที่เข้าสู่ข้อมูลต่าง ๆ โดยเก็บเงินทั้งจากผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ เป็นการแก้เนื้อหาโดยอิงรูปแบบการเก็บค่าบริการจากรูปแบบการคิดค่าบริการของโทรศัพท์มือถือ “ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากเนื้อหาสนธิสัญญานี้ คือ เมื่อไหร่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและคลิกเข้าไปยังเนื้อหา หรือข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้งานจะถูกเก็บค่าบริการ ซึ่งเป็นผลเสียกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่โปรโมตสินค้าและห้องพักทางอินเทอร์เน็ตเพราะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษาซึ่งต้องจ่ายค่าบริการจากการนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ ขณะที่นักเรียน นักศึกษาก็ต้องจ่ายค่าบริการจากการคลิกดูเนื้อหา” นอกจากนี้ น.ส.ดวงทิพย์ กล่าวว่า เนื้อหาของสนธิสัญญาที่แก้ไขเปลี่ยนเป็นแบบบังคับใช้ แทนการเลือกยอมรับเฉพาะกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมกับประเทศตนเอง ทำให้การลงนามในสนธิสัญญาเป็นการผูกมัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งที่ไม่เหมาะสมกับประเทศตนเอง ต่อข้อถามที่ว่า เมื่อเนื้อหาของสนธิสัญญาที่แก้ไขไม่เหมาะสมกับประเทศไทยแล้วประเทศไทยจะมีทางออกอย่างไร น.ส.ดวงทิพย์ กล่าวว่า เรื่องนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ผู้ที่มีอำนาจลงนามในสนธิสัญญาต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อเนื้อหาในสนธิสัญญาที่แก้ไข เนื่องจากระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค. 2555 เป็นเวลาที่อยู่ในกระบวนการต่อรองสนธิสัญญา หากมี 25% ของประเทศที่เป็นสมาชิกไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของสนธิสัญญา ต้องนำสนธิสัญญาที่แก้ไขมาพิจารณาใหม่ แต่ถ้าประเทศสมาชิกเห็นด้วย 100% ก็จะมีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวช่วงปลายเดือน ธ.ค. 2555 ดังนั้นประเทศไทยต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องนี้ และหากประเทศไทยไม่ลงนามในสนธิสัญญาก็จะถูกบล็อกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากอีก 179 ประเทศที่เป็นสมาชิกไอทียู. เอกชนวอน กสทช.-ไอซีที แสดงจุดยืนชัดเจน เป็นเรื่องแปลกที่การแก้ไขเนื้อหาของสนธิสัญญาเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่จะส่งผลกระทบคนไทยกลับยังไม่มีข่าวออกจากหน่วยงานที่จะจดปากกาลงนามในสัญญา ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) กล่าวว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ ประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ๆ ในขณะที่ประเทศจีนใหญ่กว่ามาก ถ้าต้องจ่ายเงินในการคลิกเข้าดูข้อมูลและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกครั้ง ประเทศไทยคงแย่ และจะทำให้เกิดการชะงักในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของทุกคน ที่สำคัญไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนคิดค่าบริการในการคลิกเข้าดูข้อมูล และค่าบริการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในแต่ละครั้ง นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ กรรมการสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) กล่าวว่า หากประเทศไทยต้องเข้าสู่การจ่ายเงินทุกครั้งที่เข้าดูเนื้อหาออนไลน์และจ่ายเงินทุกครั้งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แล้วแท็บเล็ต ป.1 ที่รัฐบาลแจกให้กับเด็ก ป.1 ประมาณ 1 ล้านคน ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายให้ และโครงการแท็บเล็ต ป.1 ที่แจกให้เด็ก ๆ ก็จะไม่มีความหมาย ขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจหากต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้อีกก็คงรับไม่ไหว และจะส่งผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับประชาชนทุกคนที่ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 24 ล้านคน

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

Hot this 48 hr.

ความหมายของไพ่ยิปซี ไพ่ทาโรต์ ไพ่ชุดเมเจอร์และไพ่ชุดไมเนอร์ อาร์คานา

ไพ่ทาโรต์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ไพ่ชุดเมเจอร์ อาร์คานา มี 22...

ข่าวใหญ่ จีนค้นพบอารยธรรมที่เก่าแก่กว่าราชวงศ์เซี่ย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่มีนักโบราณคดีคนไหนในโลกเชื่อว่าจีนจะมีอารยธรรมที่เก่าแก่กว่านี้อีกแล้ว

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจรอบโลก สำหรับครั้งนี้เราก็มีข่าวสำคัญจะมาแจ้งให้ทุกท่านได้ทราบว่า ที่ประเทศจีนมีการค้นพบอารยธรรมที่เกิดขึ้นก่อนราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์แรกของจีนที่เกิดขึ้น 2,100...

น้องลิลลี่ แอร์โฮสเตสสาวสวย ตัวเล็ก น่ารัก ขาวออร่าหน้าตาตะมุตะมิชวนให้เคลิ้ม 

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการแนะนำให้รู้จักสาวสวยน่าติดตาม ในโพสต์นี้เราจะพาเพื่อนๆ มาสัมผัสความสวยเว่อร์อลังการของน้องลิลลี่ แอร์โฮสเตสสาวสวย ตัวเล็ก...

AI ที่ดีที่สุดในการทำ Images to Video AI: เปรียบเทียบ Kling AI, Vidu AI, RunwayML และ Luma AI

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว การสร้างวิดีโอจากภาพนิ่ง (Images to Video) กลายเป็นเรื่องง่ายและน่าตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น หลาย...

มีอะไรใหม่ในด้านกล้องของ iPhone 16 (คาดการ)

iPhone 16 มาพร้อมกับการพัฒนาในด้านกล้องที่สำคัญ โดยมีเซนเซอร์ขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อการรับแสงที่ดีกว่า ช่วยให้ภาพถ่ายในที่แสงน้อยคมชัดและสดใสยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงระบบ Optical Zoom ให้ซูมได้ไกลขึ้นโดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ...

Topics

Sony A1 II รีวิว: กล้อง Mirrorless ระดับเรือธงที่โดดเด่นยิ่งขึ้น

Sony A1 II ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากรุ่นก่อนหน้าอย่าง Sony A1 ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นกล้อง Mirrorless ที่ดีที่สุดในตลาด...

ข่าวลือ OnePlus Open 2 อาจต้องรอเปิดตัวนานกว่าที่คิด!

สาวก OnePlus คงตื่นเต้นไม่น้อยหลังจากที่ OnePlus Open ได้เปิดตัวไปอย่างอลังการ ซึ่งกระแสตอบรับจากผู้ใช้งานทั่วโลกถือว่าดีเยี่ยม แต่สำหรับรุ่นต่อไปอย่าง OnePlus...

Apple TV+ คุ้มไหม? รีวิว ฟีเจอร์ ราคา และทุกอย่างที่คุณต้องรู้

ถ้าคุณกำลังมองหาแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งใหม่ที่ให้ความบันเทิงระดับพรีเมียม Apple TV+ อาจเป็นคำตอบที่น่าสนใจ! แม้จะเป็นคู่แข่งรายเล็กในตลาดเมื่อเทียบกับยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix หรือ Disney+ แต่...

GPT-5 ของ OpenAI ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง: หรือยุค AI จะถึงจุดสะดุด?

GPT-5 ที่ทุกคนรอคอยจาก OpenAI กลายเป็นหัวข้อถกเถียงในโลกเทคโนโลยี หลังเปิดตัวไม่นาน ผู้ใช้งานจำนวนมากกลับมองว่าระบบ AI รุ่นนี้ไม่ได้พัฒนาไปไกลจาก GPT-4...

Related Articles

Popular Categories

spot_img