เราสามารถแบ่งการป้องกันออกเป็น 2 ช่วงได้ดังนี้ สังเกตอย่างไร และแก้ไขแบบไหน สำหรับเรื่องปลวก เราสามารถแบ่งการป้องกันออกเป็น 2 ช่วงได้ดังนี้ 1. การป้องกันก่อนหรือระหว่างการก่อสร้าง – ทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้าง โดยการกำจัดเศษไม้ ตอไม้ พร้อมทั้งทำลายรังปลวกตามพื้นดินและต้นไม้ จากนั้นราดด้วยน้ำยากำจัดปลวก – ราดน้ำยากำจัดปลวกลงในพื้นที่ก่อสร้างก่อนที่จะลงฐานอาคารและควรราดน้ำยาให้ห่างจากระยะฐานอีก 1เมตรรอบพื้นที่ – ทาหรืออาบน้ำยารักษาเนื้อไม้ให้ทั่วโครงการสร้างอาคารที่ทำด้วยไม้ 2. การกำจัดและป้องกันหลังการก่อสร้าง – สำรวจความเสียหายของอาคาร หากเป็นปลวกใต้ ดินให้หาทางเดินของปลวกและทำลายให้หมดเพื่อไม่ให้ขึ้นสู่อาคารได้ พยายามหาตัวปลวกมาคลุกหรือพ่นยาฆ่าปลวกก่อนปล่อยกลับรัง เพราะธรรมชาติของปลวกจะชอบเลียสัมผัสกันและกันตลอดเวลาและยังกินของเหลวจาก ซากปลวกด้วยกันอีกด้วย ทำให้สามารถทำลายได้ทั้งรัง หากเป็นปลวกไม้ ให้นำไม้ชิ้นนั้นมาเผาทิ้ง หรือเจาะรูขนาด 1 ซม. ลึก 3 ใน 4 ของ ความหนาของไม้แต่ละรูห่างกันราว 50 – 60 ซม. พ่นสารเคมีลงรูแล้วอุดไว้ 7 วัน ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง – หากเป็นอาคารที่สร้างติดพื้นดิน หรือห่างจากพื้นดินน้อยกว่า 50 ซม. สามารถป้องกันปลวกจากภายนอกไม่ให้เข้ามาในอาคารได้โดยการขุดคูเล็กๆ รอบอาคารแล้วราดน้ำยากำจัดปลวกลงคูพร้อมทั้งคลุกเคล้าดินไปด้วย เมื่อกลบดินแล้วควรราดด้วยน้ำยากำจัดปลวกอีกครั้ง TIP Q: ปลวกมีกี่แบบ และสังเกตบริเวณไหนได้บ้าง? A: ปลวกไม้แห้ง เป็นปลวกที่จะดำรงชีวิตในเนื้อไม้แห้งสนิท เนื้อไม้ที่ถูกปลวกกินจะมีรูพรุนขนาดเล็กและจะพบมูลเล็ก ๆ คล้ายเมล็ดฝิ่นอยู่รอบๆ บริเวณไม้ / ปลวกใต้ดิน ถ้าหากฐานของอาคารกับพื้นดินห่างกันไม่มากหรือมีรอยแตกเล็กน้อยปลวกประเภท นี้ก็สามารถทำทางเชื่อมเข้าสู่อาคารได้ เนื้อไม้ที่โดนปลวกเจาะทำลายนั้นภายนอกจะดูปกติภายในจะกลวงซึ่งเสี่ยงต่อการ พังทลายได้