Sunday, December 22, 2024
24 C
Bangkok

เกรกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel)

โยฮันน์ เกรกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) ต้องยอมรับว่านี่คือ “ยุคแห่งพันธุศาสตร์” เพราะในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ การค้นคว้าและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด นั่นก็เพราะความต้องการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ และต้องการไขปริศนาธรรมชาติในกระบวนการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทำให้มวลมนุษย์เดินหน้าหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถพิชิตโรคภัย และดำรงตนอยู่ในโลกยุคใหม่อย่างสบายใจไร้ทุกข์ ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมาถึงระดับเทคโนโลยี เกรกอร์ เมนเดล, Gregor Mendel ประวัติ โยฮันน์ เกรกอร์ เมนเดล เกิดในปี ค.ศ.1822 เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย และในขณะเดียวกันเขาก็เป็นอาจารย์สอนหนังสือให้แก่นักเรียน สอนนักเรียน ถึงเรื่องพันธุ์กรรมด้วย เมนเดลมีความสนใจศึกษาด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ด้านพันธุศาสตร์ เขาได้ใช้สถานที่ภายในบริเวณวัดเพื่อทำการทดลองสิ่งต่างๆ ที่เขาสนใจ เมนเดลเริ่มต้นทดลองเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1856 เรื่องที่เขาทำการทดลองคือ การรวบรวมต้นถั่วหลายๆพันธุ์นำมาผสมกันหลายๆวิธีเขาใช้เวลาทดลองต่อเนื่อง ถึง 7 ปี จนได้ข้อมูลมากเพียงพอ ในปี ค.ศ.1865 เมนเดล จึงได้ รายงานผลการทดลอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์ ต้นถั่ว ให้แก่ที่ประชุม Natural History Society ในกรุงบรุนน์ ( Brunn ) ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปทั่วทวีปยุโรปและ อเมริกาในปีต่อมาคือปี ค.ศ.1866 ผลงานของเขาถูกปล่อยไว้นานถึง 34 ปี จนกระทั่งปี ค.ศ.1900 ได้มีนัก ชีววิทยา 3 ท่าน คือ ฮูโก เดฟรีส์ ชาวฮอลันดา คาร์ล คอเรนส์ ชาวเยอรมันและ เอริช ฟอน แชร์มาค ชาวออสเตรเลีย ได้ทดลองผสมพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ และได้ผลการทดลองตรงกับที่เมนเดลเคยรายงานไว้ ทำให้เมนเดลเป็นที่รู้จัก ในวงการพันธุศาสตร์นับแต่นั้นเป็นต้นมา และ เมนเดลยังได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์อีกด้วย เมนเดลเสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1884 ถึงแม้เป็นความจริง เขาจะไม่ได้รับการ ยอมรับนับถือในฐานะนักวิทยาศาสตร์มากนัก แต่ประชาชนทั่วไปก็นับถือเขาและมีความศรัทธาในฐานะนักบวชเป็นอย่างมาก ต้องยอมรับว่านี่คือ “ยุคแห่งพันธุศาสตร์” เพราะในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ การค้นคว้าและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด นั่นก็เพราะความต้องการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ และต้องการไขปริศนาธรรมชาติในกระบวนการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทำให้มวลมนุษย์เดินหน้าหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถพิชิตโรคภัย และดำรงตนอยู่ในโลกยุคใหม่อย่างสบายใจไร้ทุกข์ ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมาถึงระดับเทคโนโลยี สัปดาห์นี้ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จึงนำสุดยอดการค้บพบทางวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอ โดยรายการ”ไซน์แชนแนล” (Science Channel) ทางช่อง “ดิสคัฟเวอร์รี” (Discovery Channel) ในประเด็น “การค้นพบทางพันธุกรรม” โดยสรุป 13 ข้อค้นพบเด่นที่ขับเคลื่อนให้วงการเทคโนโลยีชีวภาพก้าวไกลมาได้ถึงขนาดนี้ “กฎของเมนเดล” (Rules of Heredity หรือกฎของการสืบสายเลือด) ในช่วงปี 1850 แน่นอนว่า…ประวัติศาสตร์แห่งวงการพันธุศาสตร์ต้องเริ่มต้นจาก บาทหลวงชาวออสเตรียที่เป็นนักพฤกษศาสตร์นามว่า “เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล” (Gregor Mendel) ที่ได้ค้นพบข้อมูลการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น โดยเมนเดลได้ทดลองกับพืชตระกูลถั่ว เขาสังเกตว่าลักษณะบางอย่างของต้นถั่วรุ่นลูก อย่างเช่นความสูง การแสดงถึงลักษณะเด่นเหล่านี้จะแตกต่างกันไป โดยกฎแห่งการสืบสายเลือด หรือกฎของเมนเดลนั้นจะมีลักษณะเด่น (Dominant) และลักษณะด้อย (Recessive) เมื่อพ่อกับแม่ที่มีลักษณะเด่นมาผสมกัน ก็จะได้ลูกเด่นทั้งหมด แต่ถ้านำด้อยมาผสมกันก็จะได้ลูกลักษณะด้อยทั้งหมดเช่นกัน แต่ถ้านำเด่นกับด้อยมาผสมกันผลที่ได้ในรุ่นลูกคือ “เด่น” ทั้งหมด แต่ถ้านำไปผสมกันในรุ่นหลานก็จะได้ เด่นแท้-ด้อยแท้-เด่นไม่แท้ ในลักษณะ 1-1-2 ส่วน ลองดูตามตัวอย่าง ให้ถั่วต้นสูง (T) เป็นลักษณะเด่น และต้นเตี้ย (t) เป็นลักษณะด้อย 1) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นสูง (T) = ลูกสูงทั้งหมด (TT) 2) ถั่วต้นเตี้ย (t) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกเตี้ยทั้งหมด (tt) 3) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกสูงทั้งหมด (Tt) 4) เอาลูกที่ได้จากข้อ 3 ลูกสูงทั้งหมด (Tt) + ลูกสูงทั้งหมด (Tt) = ลูกสูงแท้ (TT) 25% , ลูกเตี้ยแท้ (tt) 25% ,ลูกสูงไม่แท้ (Tt) 50% 5) เมื่อเอาเมล็ดถั่วสูงแท้ (TT) จากข้อ 4 ไปปลูกจะได้ลูกสูงหมด (TT) และเอาเมล็ดถั่วต้นเตี้ย (tt) ไปปลูก จะได้ลูกเตี้ยหมด (tt) เอาเมล็ดถั่วต้นสูงไม่แท้ (Tt) จะได้ถั่วชั้นลูกเหมือนกับข้อ 4 เมนเดลได้ใช้เวลาทั้งชีวิตค้นคว้าในเรื่องนี้จนกระทั่งสิ้นใจ โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาค้นพบทำให้เขากลายเป็น “บิดาแห่งพันธุกรรม” ในเวลาต่อมา ผลงาน เมนเดลได้ใช้เวลาทั้งชีวิตค้นคว้าในเรื่องนี้จนกระทั่งสิ้นใจ โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาค้นพบทำให้เขากลายเป็น “บิดาแห่งพันธุกรรม” ในเวลาต่อมา ปัจจัยที่ทำให้ Gregor Mendel ประสบผลสำเร็จ Mendel เกิดในครอบครัวที่ประกอบอาชีพชาวสวน วันหนึ่งเขาสงสัยว่าทำไม พืชที่ปลูกมานั้นทำไมมีลักษณะไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่เป็นพืชพันธุ์เดียวกัน จากข้อสงสัยนี้ทำให้ Mendel ได้เริ่มทำการทดลอง โดยก่อนเริ่มทำการทดลอง Mendel ได้เลือกสิ่งที่ต้องการศึกษา Mendel ได้เลือกที่จะศึกษากับ ถั่วลันเตา เนื่องจากถั่วลันเตาเป็นพืชล้มลุก มีระยะเวลาในการเติบโตสั้น เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอกที่ปิดมิดชิด จากการที่ Mendel ได้สังเกตุถั่วลันเตาเขาพบว่าถั่วลันเตามีอยู่ 7 ลักษณะด้วยกัน คือ ความสูงของลำต้น รูปร่างของฝัก รูปร่างของเมล็ด สีของเม็ด ตำแหน่งของดอก สีของดอกและสีของฝัก และก่อนที่ Mendel จะทดลองในแต่ละลักษณะนั้น เขาได้ทดสอบก่อนจนแน่ใจว่าเป็นพันธุ์แท้ ( พันธุ์แท้ เช่น ถ้าลักษณะฝักสีเขียวผสมกับฝักสีเขียว( P ) แล้วต้องได้ลูกฝักสีเขียว ( F1 ) เมื่อนำลูกที่ได้มาผสมกันต้องได้ลูกฝักสีเขียว ( F2 ) ทำไปอีกซักสองรุ่นหากได้ลูกฝักสีเขียวหมดแสดงว่าเป็นพันธุ์แท้ ) แล้วจึงนำมาทดลอง และนี้แหละที่เป็นเหตุให้ Mendel ประสบผลสำเร็จ ซึ่งคนอื่นที่ทำการทดลองเหมือน Mendel แต่ไม่ได้ทำการวางแผนล่วงหน้าเหมือน Mendel โดยสักแต่ว่าใช้พืชชนิดใดก็ได้ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะขาดการวางแผนล่วงหน้า

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

Hot this 48 hr.

ความหมายของไพ่ยิปซี ไพ่ทาโรต์ ไพ่ชุดเมเจอร์และไพ่ชุดไมเนอร์ อาร์คานา

ไพ่ทาโรต์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ไพ่ชุดเมเจอร์ อาร์คานา มี 22...

ข่าวใหญ่ จีนค้นพบอารยธรรมที่เก่าแก่กว่าราชวงศ์เซี่ย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่มีนักโบราณคดีคนไหนในโลกเชื่อว่าจีนจะมีอารยธรรมที่เก่าแก่กว่านี้อีกแล้ว

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจรอบโลก สำหรับครั้งนี้เราก็มีข่าวสำคัญจะมาแจ้งให้ทุกท่านได้ทราบว่า ที่ประเทศจีนมีการค้นพบอารยธรรมที่เกิดขึ้นก่อนราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์แรกของจีนที่เกิดขึ้น 2,100...

AI ที่ดีที่สุดในการทำ Images to Video AI: เปรียบเทียบ Kling AI, Vidu AI, RunwayML และ Luma AI

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว การสร้างวิดีโอจากภาพนิ่ง (Images to Video) กลายเป็นเรื่องง่ายและน่าตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น หลาย...

มีอะไรใหม่ในด้านกล้องของ iPhone 16 (คาดการ)

iPhone 16 มาพร้อมกับการพัฒนาในด้านกล้องที่สำคัญ โดยมีเซนเซอร์ขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อการรับแสงที่ดีกว่า ช่วยให้ภาพถ่ายในที่แสงน้อยคมชัดและสดใสยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงระบบ Optical Zoom ให้ซูมได้ไกลขึ้นโดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ...

น้องลิลลี่ แอร์โฮสเตสสาวสวย ตัวเล็ก น่ารัก ขาวออร่าหน้าตาตะมุตะมิชวนให้เคลิ้ม 

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการแนะนำให้รู้จักสาวสวยน่าติดตาม ในโพสต์นี้เราจะพาเพื่อนๆ มาสัมผัสความสวยเว่อร์อลังการของน้องลิลลี่ แอร์โฮสเตสสาวสวย ตัวเล็ก...

Topics

GPT-5 ของ OpenAI ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง: หรือยุค AI จะถึงจุดสะดุด?

GPT-5 ที่ทุกคนรอคอยจาก OpenAI กลายเป็นหัวข้อถกเถียงในโลกเทคโนโลยี หลังเปิดตัวไม่นาน ผู้ใช้งานจำนวนมากกลับมองว่าระบบ AI รุ่นนี้ไม่ได้พัฒนาไปไกลจาก GPT-4...

Google โดนแฉ! ข้อเสนอยุติคดี Antitrust ที่อาจเปลี่ยนเกมการค้นหา

ในวงการเทคโนโลยีช่วงนี้ ข่าวใหญ่ที่หลายคนให้ความสนใจคือกรณีที่ Google ถูกสอบสวนเรื่องการผูกขาด (Antitrust) เกี่ยวกับบริการ Search Engine ที่เป็นค่าเริ่มต้นในเบราว์เซอร์และระบบ...

Microsoft Copilot Vision เพื่อนแท้แห่งการช้อปปิ้งช่วงเทศกาลสุดปัง!

ในยุคที่เทคโนโลยี AI กลายเป็นตัวช่วยสำคัญในชีวิตประจำวัน Microsoft Copilot Vision ก้าวเข้ามาเป็นเพื่อนแท้สำหรับการช้อปปิ้งในช่วงเทศกาลอย่างสมบูรณ์แบบ! สำหรับใครที่กำลังเตรียมลิสต์ของขวัญหรือมองหาสินค้าสุดคุ้ม เทคโนโลยีตัวนี้คือสิ่งที่คุณต้องการ Microsoft...

หลุดสเปค Galaxy S25 เพิ่ม พร้อมเผยความบางรุ่น S25 Slim ที่ต้องร้องว้าว!

Samsung Galaxy S25 รุ่นใหม่ล่าสุดที่กำลังจะเปิดตัวในปี 2024 มีข่าวลือและข้อมูลหลุดออกมาให้สาวกซัมซุงได้ตื่นเต้นกันแล้ว! ล่าสุดรายงานจาก TechRadar เปิดเผยว่าสเปคที่เพิ่มขึ้นในรุ่นนี้มีการพัฒนาทั้งด้านประสิทธิภาพและดีไซน์...

Related Articles

Popular Categories

spot_img