ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์นั้น นอกจากจะมีความเสี่ยงที่เกิดจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น การถูก hack ข้อมูล หรือการขโมยตัวตนในสื่อสังคมออนไลน์แล้ว ยังมีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นจากตัวผู้ใช้งานสังคมออนไลน์เอง นั่นก็คือความเสี่ยงที่จะต้องรับผิดตามกฎหมายจากการโพสต์หรือส่งต่อข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยจุดเด่นของสื่อสังคมออนไลน์ที่สามารถมีความสะดวกและรวดเร็วในการเผยแพร่และการรับข้อมูลข่าวสาร จึงทาให้สื่อสังคมออนไลน์ถูกนามาใช้ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทั้งของ ภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น ณ ปัจจุบันซึ่งประเทศไทยกาลังประสบกับอุทกภัยครั้งใหญ่ ประชาชนชาวไทยต่างก็ตื่นตัวในการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์น้าท่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่นเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีข่าวสารครอบคลุมตั้งแต่การแจ้งพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ประสบอุทกภัย การแจ้งเส้นทางจราจร การแจ้งให้อพยพ การประสานงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์การทางานของรัฐบาลและ ภาคส่วนต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาอุทกภัยแบบนาทีต่อนาที โดยที่ประชาชนไม่ต้องรอรับข้อมูลจากสื่อหลักอย่างโทรทัศน์และวิทยุซึ่งอาจจะให้ข้อมูลได้ไม่เร็วทันใจประชาชนผู้กาลังตื่นตัวกับภาวะวิกฤติ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในสังคมออนไลน์ของประชาชนชาวไทยในช่วงอุทกภัยนั้นก็มิได้มีเฉพาะข่าวจริงที่เชื่อถือได้เสมอไป แต่กลับระคนไปด้วย ข่าวเท็จ ข่าวมั่ว และข่าวลือ เนื่องจากผู้ใช้งานบางคนเมื่อได้รับข้อมูลที่หลั่งไหลผ่านหน้าเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์แล้วก็ส่งต่อทันทีโดยไม่ได้พิจารณาถึงแหล่งข่าวหรือความน่าเชื่อถือของข่าวสารนั้น ๆ บางคนก็พยายามกุข่าวลือและสร้างกระแสต่าง ๆ โดยการโพสต์รูปที่มีการตัดต่อและข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์น้าท่วมที่เกินจริงหรือไม่ชัดเจนในรายละเอียดซึ่งก่อให้เกิด ความสับสนและความตื่นตระหนกต่อประชาชนผู้ได้รับข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะด้วยความคึกคะนองหรือด้วยการหวัง ผลประโยชน์ทางธุรกิจก็ตามเช่น ในทวิตเตอร์ของบางคนมีการโพสต์ข้อความว่าพบศพเด็กหรือเจองูพิษหรือจระเข้ลอยมาตามน้าที่นั่นที่นี่ โพสต์ว่าให้รีบกักตุนสินค้าชนิดนั้นชนิดนี้ไว้เนื่องจากสินค้ากาลังจะขาดตลาด หรือโพสต์ว่าสถานที่นั้นสถานที่นี้มีน้าท่วมสูง ไม่สามารถสัญจรผ่านหรือเข้าไปใช้บริการได้ แล้วมีการรีทวีตกันต่ออย่างแพร่หลาย ซึ่งปรากฏว่าเมื่อมีการตรวจสอบจากประชาชนในพื้นที่และจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ก็พบว่าสถานการณ์ยังปกติและไม่มีเหตุการณ์ตามที่กล่าวอ้าง แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์บางคน ยังขาดความรับผิดชอบต่อสังคมและความตระหนักถึงความรับผิดตามกฎหมายในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในทางกฎหมาย การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในทางที่ผิด เช่น การโพสต์รูปภาพหรือข้อความที่ไม่เป็นความจริงโดยมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือสร้างความปั่นป่วนให้กับสังคมนั้น อาจเข้าข่าย เป็นการกระทาความผิดตาม มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ฐาน (๑) นาเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หรือ (๒) นาเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน หรือ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ นอกจากความรับผิดตามกฎหมายจากการโพสต์รูปหรือข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวแล้ว การใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นที่ระบายความแค้นหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นโดยการโพสต์ข้อความว่าร้ายผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยความนึกสนุกหรือเพื่อต้องการให้คนที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้โพสต์ข้อความได้รับรู้ถึงความเลวร้ายหรือข้อมูลใน ด้านที่ไม่พึงประสงค์ของคนที่ถูกกล่าวถึง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน คู่อริสมัยเรียน หรือคนรักเก่าของสามี แม้จะทาให้ผู้โพสต์ข้อความได้รับความสะใจในชั่วขณะหนึ่ง แต่ก็อาจทาให้เกิดทุกข์มหันต์ตามมา เนื่องจาก การโพสต์ข้อความในลักษณะดังกล่าวอาจเป็นเหตุให้ผู้กระทาต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ในทางอาญานั้น ผู้กระทาอาจต้องรับผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาซึ่งต้องระวางโทษ จาคุกไม่เกิน สองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท หากกระทาการโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะด้วยข้อความ เอกสาร ภาพ เสียง วิดีโอ ภาพยนตร์ หรือตัวอักษรที่ทาให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ ที่เป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ในลักษณะที่น่าจะทาให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หรือแม้แต่ในกรณีที่ผู้ที่ถูกใส่ความเป็นผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว หากการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือ ถูกเกลียดชังผู้ที่โพสต์ข้อความก็มีความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้ตายโดยการโฆษณาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากการโพสต์ข้อความนั้นเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเป็นการติชมบุคคลอื่นหรือสิ่งใดด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทา เช่น การแสดงความคิดเห็นหรือติชมบุคคลสาธารณะด้วยความเป็นธรรม หรือแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อป้องกันตนเองหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนเองตาม คลองธรรม ก็อาจไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท นอกจากนี้ ในกรณีที่การกระทาเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหากผู้ถูกหาว่ากระทาความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่ต้อง รับโทษ แต่ในกรณีที่เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ผู้ที่กระทาความผิดอาจต้องรับโทษแม้เรื่องที่ใส่ความจะเป็นเรื่องจริงก็ตาม เพราะกรณีการใส่ความในเรื่องส่วนตัวนั้น กฎหมายห้ามไม่ให้พิสูจน์ว่าเรื่องที่ใส่ความเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงหากการพิสูจน์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ – ๓๓๐ ส่วนความรับผิดทางแพ่งนั้น หากข้อความที่โพสต์ไม่เป็นความจริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ถูกกล่าวถึง ผู้โพสต์ข้อความจะต้องรับผิดทางแพ่ง ฐานกระทาละเมิดโดยการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็น ที่เสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณหรือทางทามาหาได้หรือทางเจริญของผู้อื่น โดยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ต้องเสียหายจากการโพสต์ข้อความนั้น นอกเหนือจากโทษทางอาญาฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่กล่าวมาแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ผู้โพสต์ข้อความไม่รู้ว่าข้อความที่โพสต์นั้นไม่เป็นความจริงและตนเองหรือผู้รับข้อความมีส่วนได้เสียโดยชอบเกี่ยวกับเรื่องที่โพสต์นั้น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๓ ดังนั้น ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์จึงควรจะคิดให้ดีก่อนที่จะโพสต์รูปภาพ วิดีโอ ข้อความหรือสื่อใด ๆ ลงในหน้าสื่อสังคมออนไลน์นั้น เนื่องจากเมื่อขึ้นชื่อว่า “สังคม” ไม่ว่าจะสังคมในชีวิตจริงหรือในโลกออนไลน์ ก็ย่อมต้องมีกฎ กติกาที่เราต้องรักษาเสมอเพื่อความสงบสุขของสังคม ดังสานวนกฎหมายของโรมันที่กล่าวไว้ว่า “Ubi societas, ibi jus” “ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย” เอกสารอ้างอิง ๑. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ๒. ประมวลกฎหมายอาญา ๓. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ [code] ที่มา : โดย นับทอง วนวัฒนาวงศ์ เจ้าหน้าที่กฎหมายอาวุโส สานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) [/code]