ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้ ความเจริญก้าวหน้าและการเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และเทคโนโลยีการสื่อสาร ได้เปลี่ยนวิถีทางการดาเนินชีวิต การดาเนินธุรกิจ และการสื่อสารของคนในสังคมไปอย่างมากมาย งานวิจัยด้านเทคโนโลยีการสื่อสารบ่งชี้ว่า สื่อหรือเครื่องมือสื่อสารที่ได้รับความนิยมในแต่ละช่วงเวลาจะมีอิทธิพลต่อความคิดของคนด้วย โดยมันจะเป็นปัจจัยสาคัญที่กาหนดกรอบความคิดและความเข้าใจในการมองโลกรอบ ๆ ตัวเราด้วย ปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกมีจานวนมาก อินเทอร์เน็ตกลายเป็นแหล่งแห่งการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก และทาให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารจากยุคการสื่อสารแบบดั้งเดิมในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น การพบปะพูดคุยสนทนาแบบเห็นหน้าพบเจอตัวกันของคู่สนทนา หรือ การเขียนหรือส่งจดหมายทางไปรษณีย์ เป็นต้น มาสู่การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคดิจิทัลแห่งโลกเสมือนจริง (Virtual World) ก่อให้เกิดยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน ทาให้คนจานวนมากทั่วโลกมีการดาเนินชีวิตทั้งในสังคมของโลกแห่งความเป็นจริงและสังคมแห่งโลกเสมือนจริง เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ของการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างบุคคลในโลกอินเตอร์เน็ต โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างชุมชนออนไลน์ซึ่งทาให้ผู้คนสามารถที่จะแลกเปลี่ยน แบ่งปันข้อมูล ตามประโยชน์ กิจกรรม หรือความสนใจเฉพาะเรื่องซึ่งกันและกัน จนในปัจจุบัน นักการตลาดได้มองเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นสื่อใหม่ประเภทหนึ่ง โดยพวกเขาเปลี่ยนจากการเรียกเครือข่ายสังคมออนไลน์มาเป็นสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่ง เป็นช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ที่เป็นที่นิยมมากจนกลายเป็นวัฒนธรรมส่วนหนึ่งของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เพราะเครือข่ายสังคมออนไลน์เปรียบเสมือนเป็นบริการพื้นฐานของเว็บไซต์ที่ผู้ใช้สามารถแสดงตนให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป โดยการสร้างหน้าต่างหรือเว็บไซต์ (Web Page) ของตัวเอง และอนุญาตให้ผู้อื่นที่ใช้บริการเครือข่ายเดียวกันเข้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์กับผู้ใช้นั้นๆ ได้ การสารวจโดย Retrevo ซึ่งศึกษาผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะในเว็บไซต์ยอดนิยม เช่นFacebook, Twitter, Hi5 และอื่นๆ พบว่าในปัจจุบันเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดาเนินชีวิตของคนมากขึ้น จากกลุ่มตัวอย่าง1,000 คน พบว่าผู้ใช้งานเกือบครึ่งหนึ่งที่มีการติดตามความเคลื่อนไหวเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งก่อนเข้านอนและตอนตื่นในตอนเช้า และ 16%ของจานวนผู้ใช้งานได้รับข้อมูลข่าวสารประจาวันจากเว็บไซต์เหล่านี้ นอกจากนี้ผลสารวจยังพบว่ามีผู้ใช้มากกว่าครึ่งหนึ่งที่ต้องติดตามความเคลื่อนไหวเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ของตนอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง และมากกว่า 10% ที่เข้าไปดูความเคลื่อนไหวล่าสุดทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นที่นิยมและมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตประจาวันในกลุ่มคนที่ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งจะทาให้เครือข่ายขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ และเติบโตต่อไปอีกในอนาคต นอกจากนี้ผลการสารวจจากประเทศสหรัฐอเมริกายังยืนยันการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และเติบโตเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกออนไลน์ดังนั้นนักการตลาดจึงมีแนวโน้มในการเลือกใช้สื่อ รูปแบบนี้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการดาเนินชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จากรายงาน The Wave 3 Report ของ Universal McCann แสดงให้เห็นว่า สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อแบรนด์และภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างมาก เพราะผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) นิยมโพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ ผ่านบล็อก หรือในกลุ่มสังคมออนไลน์ของตนเอง นอกจากนี้ การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีทัศนคติในเชิงบวกต่อบริษัทหรือองค์กรที่สร้างบล็อกเป็นของตนเอง ผลจากการศึกษายังพบด้วยว่า ผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่จะเข้าร่วมในสังคมเครือข่ายโดยเฉลี่ย 3-5 เครือข่าย ทาให้เครือข่ายสังคมออนไลน์กลายมาเป็นแหล่งข้อมูลสาคัญของผู้บริโภค โดยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ หรือสินค้ายี่ห้อต่างๆจากเว็บไซต์หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ไปพร้อม ๆ กับหาข้อมูลโดยตรงจากเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิต โดยผู้บริโภค 7 ใน 10 ราย จะเข้าไปหาข้อมูลในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ ต่าง ๆ อาทิ เว็บบอร์ด กลุ่มชุมชนออนไลน์หรือบล็อกต่างๆเพื่อหาข้อมูลนอกจากนี้ เกือบครึ่ง (ร้อยละ 49) ของผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อจากข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ เหล่านี้ พฤติกรรมการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ เว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค (facebook) เป็นสังคมออนไลน์ที่กลุ่มตัวอย่างให้ความนิยม ในการเป็นสมาชิกมากที่สุด การที่กลุ่มตัวอย่างนิยมเข้าเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค(facebook) มากที่สุดนั้น เนื่องจากเฟซบุ๊ค (facebook) เป็นลักษณะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทชุมชนออนไลน์ (Community) ตามแนวคิดของเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ ที่ช่วย สร้างเครือข่ายเพื่อนเก่าและหาเพื่อนใหม่ สามารถส่งข้อความแลกเปลี่ยนความสนใจ ซึ่งกันและกัน โดยเฟซบุ๊ค (facebook) มีการจัดรูปแบบ ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างใกล้ชิด มีฟังก์ชันในการกาหนดให้ระบุรายละเอียดถึงผู้ที่เป็นสมาชิกที่ค่อนข้างตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด (Boyd &Ellison, 2007อ้างถึงใน ธนัสถ์ เกษมไชยานันท์, 2544) ทาให้เกิดเครือข่ายที่อยู่ในแวดวงหรือสังคมเดียวกัน ทาให้กลุ่มคนวัยทางานให้ความสนใจ เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานและชีวตประจาวันของตนเอง อีกทั้งจากการที่เข้าสู่ชีวิตการทางานแล้วนั้นทาให้ขาดการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเพื่อนในวัยเรียน เฟซบุ๊ค(facebook) เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่สามารถเชื่อมต่อความสัมพันธ์เหล่านี้ได้ ในด้านกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทาเป็นประจามากที่สุด คือการสนทนา (chat) ตามแนวคิดด้านพฤติกรรมการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสาร การสนทนา เป็นลักษณะการสื่อสารที่มีปฏิสัมพันธ์กัน คือเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับสารในเวลาเดียวกัน ดังเช่นกิจกรรมการสนทนากับเพื่อนที่เป็นลักษณะการสื่อสารแบบโต้ตอบกันบนโลกออนไลน์ ทั้งนี้ หากพิจารณาเพิ่มเติมตามแนวคิดของพฤติกรรมการสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์ ในประเด็นของเทคโนโลยีกับพฤติกรรมการสื่อสาร จะเห็นว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการเชื่อมโยงกลุ่มบุคคลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จากการเกิดเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวแทนเสมือนกลุ่มทางสังคมขึ้นมา สามารถเชื่อมโยงและติดต่อสื่อสารถึงกันและกัน ผ่านเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่มีข้อจากัดเรื่องเวลาและสถานที่ ทาให้สื่อสารกันได้ทั้งที่บ้าน ที่ทางาน หรือแม้กระทั่งผ่านโทรศัพมือถือ ซึ่งเช่นเดียวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่เป็นเวทีให้มีการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดในประเด็นต่าง ๆ หรือแม้แต่มีกิจกรรมร่วมกัน จึงทาให้การสื่อสารถึงกันกระทาได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทาให้กลุ่มตัวอย่างการสนทนา (Chat) กับเพื่อนมากกว่ากิจกรรมอื่น สาหรับกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างเลือกทาเป็นอันดับรองลงมาคือ การอัพเดทสถานะ/ข้อมูลส่วนตัว/ รูปภาพของตน เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้ ตามแนวคิดด้านพฤติกรรมการสื่อสาร การที่ปัจเจกบุคคลจะแสดงพฤติกรรมการสื่อสารนั้นเป็นผลมาจากปัจจัยในหลาย ๆ ด้านความคิด ความรู้สึก หรืออยู่ในอารมณ์แบบไหน ไปยังเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เพื่อนที่อยู่ในเครือข่ายสังคมเดียวกันได้รับรู้ เป็นความต้องการทางด้านจิตวิทยา ที่อาจพิจารณาได้ในหลาย ๆแง่มุม เช่น บุคคลดังกล่าวอาจต้องการการยอมรับจากสังคม ต้องการเป็นบุคคลที่มีความโดดเด่นและให้บุคคลอื่นสนใจในความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เป็นต้น เครือข่ายสังคมออนไลน์ จึงเปรียบเสมือนเวทีหรือพื้นที่ที่ทาให้พวกเขาได้แสดงออก เพื่อตอบสนองความต้องการจากภายในจิตใจ เป็นที่น่าสังเกตว่า จากผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างเลือกที่จะทาน้อยที่สุด นั้นคือ การเชิญชวนให้บุคคลอื่น ซื้อสินค้า หรือบริการ และเชิญชวนให้บุคคลอื่นเข้าร่วมกิจกรรมที่ตนเองจัดขึ้นหรือหน่วยงานอื่นจัดขึ้น อาจวิเคราะห์ได้ตามแนวคิดของเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะประเภทสังคมออนไลน์ (community) ที่เป็นเครือข่ายสังคมที่สร้างขึ้นเพื่อจัดสรรพื้นที่ที่ทาให้บุคคลเกิดการแบ่งปัน และแลกเปลี่ยนข้อมูล เรื่องราวส่วนตัว หรือเรื่องราวที่สนใจร่วมกัน ในรูปแบบการดาเนินที่แตกต่างกัน มากกว่าการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ การชักชวนสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นสมาชิกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จึงเกิดจากพื้นฐานความสนใจที่มีร่วมกัน และบุคคลต้องยินยอมที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆได้ด้วยตัวเอง สาหรับสินค้าและบริการที่มีความหลากหลาย และกิจกรรมต่างๆที่ทางหน่วยงานจัดขึ้นอาจไม่สามารถ ทาให้คนที่อยู่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ สนใจเหมือนๆกันทั้งหมดได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถเป็นแนวทางในการเลือกใช้รูปแบบในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ที่เป็นสมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์เปิดรับและยอมรับได้มากขึ้น การแสดงพฤติกรรมการเข้าใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ พฤติกรรมการเข้าใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทางานในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง โดยจะใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) ในการติดต่อสื่อสารและพบปะสังสรรค์กับเพื่อนบ่อยที่สุด รองลงมา จะเข้าไปอัพเดท ข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวในสถานการณ์ที่กาลังเป็นกระแสนิยมบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) เข้าไปโพสต์ข้อความเรื่องราวที่น่าสนใจ และคอมเม้นต์บทความที่น่าสนใจบน เครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) เข้าไปค้นหาข้อมูลข่าวสารสินค้าและบริการบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) เข้าไปส่งต่อความรู้ต่างๆ (share) บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) ไปยังเพื่อนๆของท่าน คลิกเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อเห็นข่าวสารจากการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) เข้าไปกด Like (ถูกใจ) หรือ (แสดงความพึงพอใจ) ข้อมูลสินค้าและบริการบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) เข้าไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าและบริการบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) เข้าไปร่วมกิจกรรมต่างๆที่ทางหน่วยงานจัดขึ้นโดยพบเห็นข้อมูลกิจกรรมบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) และนาน ๆ ครั้งจะเข้าไปสั่งซื้อสินค้าและบริการบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) [code] แหล่งที่มา : ปณิชา นิติพรมงคล PANICHA NITIPORNMONGKHON พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร SOCIAL NETWORKS USAGE OF WORKING PEOPLE IN BANGKOK [/code]