แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้สร้างไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย ได้สำเร็จ
สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้
- สาหร่ายผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำคัญของโปรเจคสร้างพลังงานสะอาดโดยใช้จุลินทรีย์ โดยนักวิจัยได้สร้างกล่องโลหะขนาดเท่ากับแบตเตอรี่ AA และปิดผนึกด้วยสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน แทนที่จะใช้แบตเตอรี่แบบเดิมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ สาหร่ายผลิตออกซิเจนเมื่อสัมผัสกับแสงแดด ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งให้พลังงานแก่ชิป ARM ที่อยู่ภายใน
- ชิป ARM ในรุ่น Cortex M0+ ที่ขับเคลื่อนด้วยสาหร่ายใช้พลังงาน 3 ไมโครวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งอาจจะไม่มากพอเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งโดยเฉลี่ยเดสก์ท็อปอยู่ที่ 60-250 วัตต์
- อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการทดลองนี้อาจเป็นเครื่องพิสูจน์แนวคิดในการใช้พลังงานทดแทนจากสาหร่ายจับเคลื่อนคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นความหวังในอนาคตของอุปกรณ์ IOT ที่ตอนนี้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์
- คอนเซ็ปต์ของพลังงานจากสาหร่าย คือการสร้างสร้างแบตเตอร์รี่จากพลังงานทางเลือก เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ภายหลังการทดสอบสิ้นสุดลง เจ้ากล่องเหล็กใบนี้ถูกทิ้งไว้บนขอบหน้าต่างในบ้านของนักวิจัยเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน โดยที่คอมพิวเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสาหร่ายยังคงทำงานต่อไปได้
แต่กว่าจะเอามาใช้จริงอาจจะต้องทดลองกันอีกหลายด่าน ทั้งค้นหาอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ สำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงค้นหาสายพันธุ์สาหร่ายที่ให้พลังงานได้มากขึ้นครับ