ด้วยเทคโนโลยีของโลกเราที่เจริญขึ้นทำให้ไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนมาก หลายคนใช้ชีวิตติดจอ หากมีจ้องมองแต่มือถือ ก็อยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็โทรทัศน์ แต่ก็น่าจะทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าชีวิตติดจอ ทั้งจอโทรศัพท์หรือจอคอมพิวเตอร์ จะส่งผลเสียต่อสายตา ถ้าใช้งานมากจนเกินไป แต่จริงๆ แล้ว มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ระหว่างที่เรามองจอเหล่านี้ ? ใครอยากรู้ต้องตามมาหาคำตอบกันเลย
สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้เป็นดังนี้
- โดยล่าสุดทางศาสตราจารย์นีมา กอร์บานี โมจาร์ราด (Neema Ghorbani Mojarrad) ผู้เชี่ยวชาญด้านทัศนมาตรวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยแบรดฟอร์ด (University of Bradford) ในสหราชอาณาจักรอธิบายว่า เมื่อคนเรามองจอใกล้ ๆ กล้ามเนื้อดวงตาของเราจะพยายามปหดตัวเพื่อปรับรูปร่างของเลนส์ให้สามารถมองวัตถุที่อยู่ใกล้ ๆ ได้ชัดขึ้น
-
หากดวงตาของเราต้องพยายามหดกล้ามเนื้อเพื่อมองเห็นวัตถุในระยะใกล้บ่อยครั้ง เลนส์ตาก็จะหนาขึ้น ส่งผลทำให้คืนรูปร่างเดิมได้ แน่นอนว่า ถ้าเกิดขึ้นบ่อย ๆ กล้ามเนื้อดวงตาจะไม่สามารถกลับมาคลายตัว เพื่อกลับมามองวัตถุในระยะปกติได้ ส่งผลให้คนที่มองจอใกล้หรือใช้สายตามากเกินไป จะเกิดภาวะสายตาสั้นขึ้นนั่นเอง
-
โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ต้องเรียนทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์และมือถือในช่วงโควิด 19 ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งมีงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารด้านการแพทย์ชื่อบีเอ็มเจ โอเพ่น (BMJ Open) เมื่อปี 2022 ระบุว่าเด็กกลุ่มนี้กำลังประสบกับภาวะสายตาสั้นจากการมองจอ
-
ส่วนเหตุผลที่ดวงตาของมนุษย์ต้องพยายามหดกล้ามเนื้อเมื่อมองวัตถุระยะใกล้นั้น มาจากการที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสายตายาวตั้งแต่กำเนิด แต่เมื่อคนเราโตขึ้น ดวงตาของเราจะค่อย ๆ เกิดกระบวนการปรับตัวให้การมองเห็นสั้นลง เพื่อให้ได้ระยะการมองเห็นที่สมบูรณ์ ไม่นับในกรณีของคนสายตาสั้นจากพันธุกรรม ซึ่งดวงตาของคนกลุ่มนี้จะไม่สามารถหยุดกระบวนการดังกล่าวได้เองตามธรรมชาติ ทำให้คนกลุ่มนี้มีสายตาสั้นลงเรื่อยๆ ตามอายุ
และนี่ก็คืออีกหนึ่งเรื่องราวดีๆ ด้านสุขภาพที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับทุกคน และเมื่อได้ทราบแล้วเพื่อนๆ ก็อย่าลืมใช้ชีวิตห่างจากหน้าจอกันบ้างนะครับ เพื่อสุขภาพดวงตาที่ดีของคุณ