สวัสดีเพื่อนๆ ชาวไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับเรื่องราวที่น่าสนใจด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ว่ากิจกรรมของมนุษย์ที่พร้อมใจกันลดปริมาณก๊าซคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลลงอย่างรวดเร็วในช่วงการระบาดของโควิด ทั้งหยุดเดินทาง ปิดโรงงานอุตสาหกรรมและอื่นๆ คาดว่าช่วยลดการใช้น้ำมันลงกว่า 1,000 ล้านบาร์เรล ลดการใช้ก๊าซธรรมชาติกว่า 1 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร และถ่านหินกว่า 1 ล้านตันส่งผลให้คาร์บอนในอากาศของโลกเราลดลงอย่างรวดเร็ว
ผลจากการที่โควิด 19 ทำให้มนุษยชาติต้องกักตัวลดกิจกรรมต่างๆ ทั่วโลกส่งดีต่อสิ่งแวดล้อมสรุปได้ดังนี้
1. นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าส่งผลให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจากทั่วโลก (Carbon Emission) ซึ่งมีการประมาณการว่าอาจจะลดลงถึง 2,500 ล้านตัน หรือคิดเป็น 5%
2. Dr Fatih Birol หัวหน้า International Energy Agency กล่าวว่า การลดใช้พลังงานฟอสซิลลงในช่วงการระบาดไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนัก เพราะเป็นช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอย (ไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือมีน้อยมาก) ประชาชนต้องถูกจำกัดให้อยู่แต่ในบ้าน ไม่ได้ลดลงจากผลพวงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลต่างๆ ที่ถูกต้องหรือลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3. นักวิเคราะห์ คาดการณ์ด้วยว่า ปริมาณความต้องการน้ำมันดิบจะลดลงเฉลี่ยถึง 11 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ คิดเป็นทั้งหมด 4,000 ล้านบาร์เรล ซึ่งเท่ากับลดการสร้างคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ 1,800 ล้านตัน
4. ขณะที่ความต้องการไฟฟ้าและอุตสาหกรรมลดลง ความต้องการของก๊าซธรรมชาติและถ่านหินลดลง 2.3% เท่ากับลดคาร์บอน 200 ล้านตัน และ 500 ล้านตันตามลำดับ จากครั้งสุดท้ายที่การใช้น้ำมันลดลง คือช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2551-2552 แต่ปีนี้ ผลจากไวรัสโคโรนาอาจมากกว่าปี 2551 ถึง 5 เท่า
5. ความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกชะงัก ซึ่งในภาวะปกติจะมีเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ประมาณ 99,700 เที่ยวต่อวัน แต่โควิดทำให้ปริมาณเที่ยวบินลดลงเกือบ 1 ใน 4 ของปี
6. รถยนต์บนท้องถนนที่มีจำนวนน้อยลงจะลดลงตามความต้องการน้ำมันเบนซินและดีเซลลงเฉลี่ย 9.4% ต่อปี ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลงในปี 2563 โดยเฉลี่ย 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน
7. หากโควิดหายไป นักวิเคราะห์คาดว่าความต้องการน้ำมันจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี ส่วนภาคพลังงานของจีนอาจจะกลับมาฟื้นตัวในเดือน พ.ค. หลังจากการแพร่ระบาด 4 เดือนที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะกลับสู่ระดับปกติเร็วที่สุดภายในเดือน ก.ย.นี้
8. หัวหน้า International Energy Agency กล่าวว่า จากวิกฤตครั้งนี้บอกกับมนุษย์บนโลกว่า ทุกกิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุโดยตรงของภาวะโลกร้อน ต่อจากนี้ไปควรมีการทบทวนกันใหม่โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และที่สำคัญรัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องร่วมมือกันทบทวนการใช้แหล่งพลังงานสะอาดเพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเร่งด่วนด้วย
และนี่ก็คือข่าวที่น่าสนใจที่เราอยากจะมาแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ เมื่อคำนวณแล้วจะเห็นได้ว่าหากมนุษย์หยุดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ 3 เดือนจะช่วยลดคาร์บอนในอากาศได้ถึง 2,500 ล้านตัน ดังนั้นในอนาคตจึงอยากแนะนำให้มนุษยชาติเร่งพัฒนาพลังงานสะอาด