ใครที่ชื่นชอบในเรื่องราววิทยาศาสตร์ต้องมารวมกันทางนี้ เพราะวันนี้เรามีข้อมูลงานวิจัยล่าสุดที่เผยว่า ค้างคาวรู้จักสร้างเครือข่ายเพื่อหาอาหารได้เร็วขึ้น มานำเสนอ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย
สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้
- เมื่อเรานึกถึงสัตว์ที่ทำงานร่วมกันเพื่อล่าเหยื่อ เราอาจจะนึกถึงกลุ่มสัตว์นักล่า เช่น หมาป่า แต่งานวิจัยล่าชุดชี้ว่า “ค้างคาว” ธรรมดา ๆ ก็อาจจะมีพฤติกรรมล่าเหยื่อเป็นกลุ่มแบบสัตว์นักล่าด้วยเช่นกัน
- โดยทั่วไปแล้ว ค้างคาว สามารถระบุตำแหน่งของแมลงผ่านการปล่อยคลื่นคลื่นอัลตราโซนิกสะท้อนกลับไปที่ใบหูขนาดใหญ่ของมัน ทำให้รู้ว่าเหยื่ออยู่ไกลแค่ไหน
- แต่ทีมวิจัยพบว่ามันจะสามารถระบุตำแหน่งของเหยื่อได้แค่ในระยะ 10-15 เมตรเท่านั้น แต่ถ้าใช้คลื่นอัลตราโซนิกสะท้อนกันเอง จะทำได้ไกลถึงกว่าถึง 160 เมตร
- นักวิจัยต้องการค้นหาว่าค้างคาวจะใช้ความสามารถนี้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร จึงติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณวิทยุขนาดเล็กไว้ที่ด้านหลังของค้างคาวกินแมลงนิ้วสั้น (Nyctalus noctula) จำนวน 81 ตัว
- จากการติดตามพบว่า เมื่อพวกมันออกล่าเหยื่อ มันจะบินออกไปไกล ให้ครอบคลุมพื้นที่กว้างที่สุด แต่ยังรักษาตำแหน่งสะท้อนของกันและกัน หากตัวใดตัวหนึ่งเจอเหยื่อและเริ่มล่า ตัวที่อยู่ใกล้กันจะรู้จากการเปลี่ยนแปลงของคลื่นเสียง และมุ่งมาหาเหยื่อในที่เดียวกัน
- นักวิทยาศาสตร์พบว่าด้วยวิธีการนี้ ค้างคาวจะเสียเวลาน้อยกว่า 40% ในการค้นหาเหยื่อ เมื่อเทียบกับการออกล่าโดยไม่สนใจฝูง และกล่าวว่าการปกป้องชุมชนที่มีค้างคาวจำนวนมากอาศัยอยู่เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากมันอาจจะไม่สามารถหาอาหารได้เพียงพอ หากอาศัยอยู่ในกลุ่มเล็ก ๆ หรือต้องอยู่ลำพังด้วยตนเอง
สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิจัย Proceedings of the National Academy of Sciences และนี่ก็คืออีกหนึ่งการค้นพบสำคัญในแวดวงวิทยาศาสตร์ที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบถูกใจคอไซไฟทุกคน และหากมีเรื่องราวที่น่าสนใจเช่นนี้อีก เราจะรีบมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครทันที