ครั้งนี้เราจะพาทุกท่านมาไขความลับที่หลายคนอยากรู้มานานว่า ทำไม “มาม่า” การขึ้นราคาที่กระทบ แทบทุกคน ซึ่งมันจะเป็นเพราะอะไรนั้น ตามมาหาคำตอบที่ด้านล่างนี้กันเลย
สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้
- สินค้าตัวแล้วตัวเล่าต่างทยอยขึ้นราคากันตั้งแต่ต้นปี โดยผู้ผลิตเกือบทุกรายก็ให้เหตุผลในการขึ้นราคาว่าเป็นเพราะเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้นจนต้องขึ้นราคาเพื่อรักษาการทำกำไร
- แต่ถ้าหาก “มาม่า” ที่ถูกตรึงราคาไว้ที่ 6 บาท มากว่า 13 ปี จะถูกขึ้นราคาตามสินค้าอื่น ๆ บ้าง แล้วใครจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาครั้งนี้ ?
- เราจะมาลองวิเคราะห์กัน แน่นอนว่าการขึ้นราคาจะต้องกระทบกับกลุ่มลูกค้าหลักของมาม่าคือผู้มีรายได้น้อย และคนชนชั้นกลางระดับล่าง ที่ต้องแบกรับราคาที่สูงขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เพราะไม่มีอาหารที่ราคาถูกกว่านี้ให้เปลี่ยนไปทานแล้ว
- แต่อย่างไรก็ตามการขึ้นราคาครั้งนี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่ผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ใช้แรงงานเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบเพราะร้านอาหารจำนวนมาก ก็เป็นลูกค้าหลักของมาม่าเช่นกัน
- อย่างเช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว ซึ่งเป็นที่ฝากท้องของพนักงานออฟฟิศต่าง ๆ ก็อาจต้องพลอยขึ้นราคาไปด้วย เพื่อรักษากำไรให้คงเดิมทำให้ช่วงพักเที่ยงในครั้งต่อ ๆ ไป เราอาจต้องควักเงินจ่ายมากกว่าเดิม
- นอกจากนี้ในอีกแง่หนึ่ง ด้วยความที่ภาพลักษณ์ของมาม่านั้น เป็นอาหารที่ไว้ใช้กินเมื่อเราต้องการประหยัด ทำให้ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว เราอาจบอกได้ว่ามาม่าเป็น สินค้าด้อย (Inferior Goods) ซึ่งสินค้าด้อยนั้น จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นมาก เมื่อรายได้ของผู้คนลดลง
- ตรงข้ามกับสินค้าทั่วไป ที่เราจะซื้อเพิ่มเมื่อมีรายได้สูงขึ้น ทำให้ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจที่ผู้คนต้องรัดเข็มขัดในการใช้จ่ายมากขึ้นการที่คนชนชั้นกลางจะหันมาบริโภคอาหารราคาถูก อย่างเช่น มาม่า เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายบ้างก็เป็นเรื่องที่อาจพบเห็นได้
แต่ถ้าหากมาม่าทำการขึ้นราคา ก็จะเป็นการเพิ่มความยากลำบากให้กับการประหยัดเงินของคนเหล่านี้มากขึ้น เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าการขึ้นราคาของมาม่านั้น ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างกว่าที่เราคิดนั่นเอง จึงไม่แปลกใจที่หน่วยงานภาครัฐอย่าง กระทรวงพาณิชย์ต้องออกมาขอร้องให้ตรึงราคาอย่างถึงที่สุด แม้ในวันที่ผู้ประกอบการส่งสัญญาณว่าแบกรับต้นทุนไม่ไหวแล้วก็ตาม