บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด ในเครือบันลือกรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้พัฒนาคาแรกเตอร์การ์ตูนสัญชาติไทยอย่าง “ปังปอนด์” ก็ได้ต่อยอดธุรกิจพัฒนา 7 แอพพลิเคชั่น คาแรกเตอร์การ์ตูนไทยขึ้น เพื่อรองรับตลาดสมาร์ทโฟนโต นำโดย “ปังปอนด์” ที่หลาย ๆ คนรู้จักดี ที่มีต้นกำเนิดมาจากหนังสือการ์ตูนขายหัว เราะ ฝีมือลายเส้นของ “ต่าย ขายหัว เราะ” นักวาดการ์ตูน เบาสมองชื่อดังของไทย นายสันติ เลาหบูรณะกิจ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยติดอันดับประเทศที่มีอัตราการเติบโตของผู้ซื้อแอพพลิเคชั่นเกมสูงที่สุดในโลก จากตัวเลข ของ App Annie ระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2555 ในระบบปฏิบัติการไอโอเอส ผ่านแอพ สโตร์ มีการเติบโตของรายได้สูงถึง 163% รองมาคือ อินโดนีเซีย ที่ 136% ในส่วนของ กูเกิล เพลย์ ไทยก็ติดอันดับสอง มีอัตราการเติบโต 179% เป็นรองเพียงประเทศเบลเยียมที่มีอัตราการเติบโตสูงถึง 202% “ตอนนี้ไปทางไหนก็เห็นแต่คนใช้สมาร์ทโฟน ทำให้ไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยนไป บริษัทจึงนำคาแรกเตอร์การ์ตูนของคนไทยมาพัฒนาเป็นแอพพิลเคชั่นตั้งแต่เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในวงการการ์ตูนและแอนิเมชั่น โดยร่วมมือกับ 5 พันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ เริ่มที่ปังปอนด์ซึ่งเป็นที่รู้จักในไทยมา 20 ปี และได้พัฒนาคาแรกเตอร์ใหม่ อย่าง ชิคเก้น เบรก นีโอ วูดู และเบเกอรี่ เอลฟ์ เพิ่มเติม เพื่อต่อยอดธุรกิจคาแรกเตอร์อย่างเต็มรูปแบบ” นายสันติ กล่าวต่อว่า สำหรับแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับปังปอนด์ มี 4 แอพพลิเคชั่น คือ ปังปอนด์ เอดู’ตูน (PangpondEdu’toon) ซึ่งรวมกับ บริษัท อุ๊ก บี จำกัดนำการ์ตูนความรู้ของปังปอนด์นำเสนอในรูปแบบหนังสือการ์ตูนดิจิ ทัลสี่สี และปังปอนด์ อี-คอมมิค (Pangpond E-commic) เป็นการ์ตูน ปังปอนด์ เดอะ คอมมิค ที่อ่านได้ทั้งครอบครัว ทั้งสองแอพพลิเคชั่นรองรับทั้งไอโอเอส และแอนดรอยด์ เป็นฟรีแอพ แต่ต้องเสียเงินหากจะดาวน์โหลดหนังสือข้างในแอพพลิเคชั่น ส่วน ปังปอนด์ควิซ แอนแอคชั่น (Pangpond quiz&Action) เป็นการร่วมมือกับบริษัท เอไอเอ็ม แบงคอก จำกัด พัฒนาแอพพลิเคชั่นเกมพัฒนาสมองสำหรับเด็ก ๆ รองรับไอโอเอส และ ดาวน์โหลดฟรี และปังปอนด์ ฟาสท์ แมธ (Pangpond Fast Math) แอพพลิเคชั่นเกมเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เปิดดาวน์โหลดฟรีเช่นกัน สำหรับอีก 3 แอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นจากคาแรกเตอร์การ์ตูนใหม่ คือ “ชิคเก้น เบรก” ที่ได้รับรางวัลจากการประกวด เอเชีย แอนิเมชั่น อวอร์ด ปี ค.ศ. 2009 จนทาง ดรีม ลิงค์ เอนเตอร์เทนเมนท์จากญี่ปุ่นเข้ามาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ เพื่อนำเข้าไปทำตลาดในญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรป การพัฒนาเป็นเกมได้ CGMatic ซึ่งเป็นบริษัท ของไทยมาพัฒนาให้ในระบบปฏิบัติการไอโอเอส คิดค่าดาวน์โหลดอยู่ที่ 0.99 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30 บาท แอพพลิเคชั่น เบอเกอรี่ เอลฟ์ (Bakery Elf) ที่บริษัท ได้ออกแบบคาแรกเตอร์การ์ตูนเกี่ยวกับภูติแห่งเมืองขนม และได้ร่วมกับบริษัท ประนีต จำกัด ทำเป็นแอพพลิเคชั่น เพื่อให้เป็นคอมมูนิตี้ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับร้านขนมเบอเกอรี่ในเขต กทม. รองรับไอโอเอส และเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี และสุดท้าย นีโอ วูดู (Neo Voodoo)นำตัวตุ๊กตาวูดู มาออกแบบเป็นการ์ตูนและร่วมกับ บริษัท ไพอาร์ สแควร์ จำกัด พัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นเกมในระบบไอโอเอส และเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี อย่างไรก็ตามการพัฒนาแอพพลิเคชั่นทั้งหมดที่มีทั้งเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีและคิดเงิน ซึ่งบริษัทไม่ได้คาดหวังในส่วนของยอดการดาวน์โหลด แต่หากแฟนคลับของบริษัท อุ๊กบี จำกัด ติดตามหนังสือปังปอนด์ ที่มีกว่า 2 ล้านคน จำนวนครึ่งเดียวมาดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น รวมถึงคาแรกเตอร์การ์ตูนฝีมือคนไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้นในต่างประเทศ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว. [code] ข้อมูลจาก : http://www.dailynews.co.th/technology/163569 [/code]