สวัสดีเพื่อนๆ ที่ชื่นชอบในเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทุกคน วันนี้เราจะขอพาคุณมาดูบริษัทญี่ปุ่น อวดโฉม “โดรน 2 in 1” ใช้ได้ทั้งบนอากาศ และใต้น้ำ ตัวแรกของโลก ซึ่งมันจะมีความน่าสนใจอย่างไร ใครอยากรู้ ตามมาดูกันเลย
สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับโดรน 2 in 1 ตัวนี้ ได้ดังนี้
- เมื่อไม่นานมานี้ KDDI Corporation บริษัทโทรคมนาคมของญี่ปุ่น ร่วมกับบริษัท Prodrone ผู้ผลิตโดรนเชิงพาณิชย์ และบริษัท QYSEA ผู้สร้างหุ่นยนต์ใต้น้ำ เพื่อสร้างโดรนเชิงพาณิชย์ตัวแรกของโลก ที่สามารถบินบนอากาศ และดำลงไปใต้น้ำได้
- โดยเปิดตัวพร้อมขึ้นบินโชว์ครั้งแรกที่สวนสนุก Hakkeijima Sea Paradise ในจังหวัดโยโกฮามะ ประเทศญี่ปุ่นซึ่งโครงการนี้ มีความคิดริเริ่มมาจาก KDDI ในการพยายามที่จะรวมเครือข่ายการสื่อสารเคลื่อนที่ขั้นสูง เข้ากับเทคโนโลยีโดรน ที่จะมีระยะทางและความยาวในการบินที่มากขึ้น ในขณะที่ยังบังคับโดรนได้
- ส่วนจุดประสงค์ของโดรนสะเทินน้ำสะเทินอากาศ (Sea-Air Integrated Drone) นี้ จัดทำขึ้นมาเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานทางอากาศ และการจัดการทางทะเลให้มีความทันสมัย, มีประสิทธิภาพ และสามารถลดกำลังคนได้มากขึ้น
- โดยปกติแล้ว เราอาจคุ้นชิ้นกับโดรนบนอากาศอยู่แล้ว แต่เจ้าโดรนตัวนี้มีความพิเศษด้วยเทคโนโลยี “FIFISH PRO V6 PLUS ROV” ซึ่งเป็นโดรนใต้น้ำของบริษัท QYSEA เข้ามาทำให้สามารถทำงานใต้น้ำได้ด้วย
- ทั้งนี้ ตัวโดรนจะสามารถทำงานจากระยะไกลเพื่อบินไปยังเส้นทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในทะเลและหลังจากลงจอดในตำแหน่งที่กำหนด เทคโนโลยีโดรนใต้น้ำ หรือ “FIFISH ROV” จะถูกปล่อยลงไปใต้น้ำ ด้วยการคอยควบคุมจากระยะไกล (Remote Control) ทำให้เราสามารถดำเนินการตรวจสอบ, บำรุงรักษา และซ่อมแซมอุปกรณ์ หรือเครื่องมือใต้น้ำได้
- นอกจากนี้ โดรนยังสามารถส่งภาพแบบเรียลไทม์, เครื่องมือสุ่มตัวอย่าง, การวัดมาตรต่าง ๆ และเครื่องมือจัดการอื่น ๆ รวมถึงสามารถถ่ายทอดสดระหว่างการปฏิบัติงานสำหรับการทำงานร่วมกันหลายคนได้
- คาดว่าโดรนตัวนี้จะมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมทางทะเล และสำหรับพลังงานลม (กังหันลม) นอกชายฝั่ง
- ตัวโดรนยังสามารถตรวจสอบ และบำรุงรักษาโครงสร้างและฐานรากได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของมนุษย์ ที่ต้องเดินทางออกไปกลางทะเลได้อย่างมาก
นี่ก็นับเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี ที่จำทำให้อุตสาหกรรมทางบกและทางทะเล มีความยั่งยืนมากขึ้น เนื่องจากโดรนก็ใช้พลังงานน้อยกว่าการเดินเรือ หรือเครื่องบิน ทำให้เทคโนโลยีนี้กลายเป็นอีกหนึ่งหนทางที่เข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ได้ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของคนที่ต้องไปปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น ๆ ด้วยนั่นเอง