หลายคนอาจมองว่า คนที่เกิดมาตัวเล็ก ความสูงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มีปมด้อยไม่สามารถทำงานสู้คนปกติได้ แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคในชีวิตสำหรับเธอ ครูสาว พิ้งกี้ บาห์รู
พิงกี้ป่วยเป็นโรคเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้โครโมโซมเพศ หรือต่อมเพศไม่เจริญ ส่งผลให้ผู้ป่วยประสบปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่าง ทั้งในด้านเจริญพันธุ์ กระดูก ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
ทำให้มีปัญหาในการดำเนินชีวิต ตั้งแต่ยังเป็นเด็กมัธยม พิงกี้ รู้สึกว่า เธอเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ไม่สามารถคุยเรื่องขนาดหน้าอก เรื่องการมีประจำเดือน เรื่องของสาวๆกับเพื่อนได้
และบางทีก็มีเพื่อนรังแก ดูถูกเธอว่า เตี้ยเกินจะเป็นเพื่อนได้ ดูเป็นน้องด้อยกว่าเพื่อนคนอื่น
แต่พิงกี้ก็พยายามตั้งใจเรียน จบจบการศึกษาและได้ไปสมัครงาน เธอก็พบกับอุปสรรคอีก ด้วยความสูงเพียง 142 เซนติเมตร หนัก 31.7 กิโลกรัม
ตอนที่เธอไปสมัครงานเป็นครูนั้น เจ้าหน้าที่ที่โรงเรียน เหยียดเธอว่า เป็นเด็กใช้เอกสารปลอมมาสมัครงาน มองว่า ตัวเล็กดูเป็นเด็กแบบนี้จะสอนเด็กนักเรียนได้ยังไง
แต่เธอก็ไม่ท้อถอย สู้ต่อไปจนเธอได้งานทำ เป็นเอเจนซี่ท่องเที่ยวและทำงานที่ดูไบ เธอได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์มากมาย และได้เจอผู้คนที่หลากหลาย เธอตัดสินใจลาออกและกลับบ้านเกิดหลังจากอยู่ที่นั่นได้ 12 ปี
ตอนนี้พิ้งกี้อายุเกิน40ปี เธอได้งานใหม่ทำงานเป็นครูสอนเด็ก ๆ อายุ 3-8 ขวบ ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองวาโดดารา รัฐคุชราต ทางตะวันตกของประเทศอินเดีย
และปัจจุบันพิ้งกี้ได้เป็นนักเขียน เขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติประวัติของเธอ เพื่อให้คนอื่นเข้าใจเรื่อง เทอร์เนอร์ ซินโดรม
เมื่อก่อนเธอคิดมากเกี่ยวกับปมด้อยของตัวเอง จนมีอาการซึมเศร้า แต่ในวันนี้ พิงกี้ก็เรียนรู้ที่จะอยู่กับความแตกต่าง เริ่มยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น การเปลี่ยนมุมมองชีวิตครั้งนี้ มันทำให้พิงกี้รักตัวเองมากขึ้น
และคิดว่าตัวเองโชคดีแล้วที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ในทุกวันนี้ เพราะเด็กที่ป่วยเป็นโรคเทอร์เนอร์ มักจะเสียชีวิตตั้งแต่กำเนิด มีโอกาสรอดชีวิตแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แม้ร่างกายของเธอจะไม่โต แต่ความคิดของเธอมันได้โตขึ้น
ซึ่งเป็นสิ่งมีค่ามากกว่าคนรูปร่างหน้าตาดี แต่ความคิดไม่ดี ไม่ยอมพัฒนาตัวเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก