Tuesday, April 15, 2025
30.4 C
Bangkok

มาชม ภารกิจ ล่าหิมะ  โปรเจคใหม่ของ NASA ที่จะสำรวจ พายุหิมะ  เพื่อทำการวิจัย

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับเรื่องราววาไรตี้ได้ความรู้ที่น่าสนใจจากรอบโลก สำหรับในครั้งนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาชม ภารกิจ ล่าหิมะ  โปรเจคใหม่ของ NASA ที่จะสำรวจ พายุหิมะ  เพื่อทำการวิจัย โครงการนี้มีความน่าสนใจอย่างไร ใครอยากรู้ต้องลองมาอ่านกัน 

โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อไหร่? 

สำหรับโครงการชื่อสุดเท่นี้เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2020 ที่ผ่านมา โครงการ “ล่าหิมะ” (Snow-Chasers) ของ NASA ซึ่งจะส่งเครื่องบินเข้าสู่พายุหิมะเพื่อทำการศึกษาปรากฎการณ์การทับถมของหิมะโดยเฉพาะ

ภาพขณะเกิดพายุหิมะ การสัญจรเป็นไปอย่างยากลำบาก รถหลายคันอาจติดอยู่กลางถนน  

 

สำหรับประเทศในเขตหนาว “หิมะ” ถือเป็นสิ่งที่ทำนายได้ยากกว่าฝนตกมาก เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้หิมะตก และยังไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่าจะตกมาก-น้อย หรือตกนานแค่ไหน

องค์การนาซ่าจึงได้จัดตั้งโครงการล่าหิมะขึ้นเพื่อทำการศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีทีมนักวิทยาศาสตร์พร้อมด้วยเครื่องมือประจำการอยู่ที่ภาคพื้นดินที่ Stony Brook University ในนิวยอร์ก ขณะที่เครื่องบินขนาดเล็ก 2 ลำในรหัส P-3 และ ER-2 จะขึ้นบินสำรวจเมื่อเกิดพายุหิมะขึ้นในแถบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ค.ศ. 2020

 

Lynn McMurdie ทีมนักวิจัยได้ให้ความรู้ว่า 

เมื่อเกิดพายุหิมะแต่ละครั้ง สถานที่บางแห่งจะมีหิมะหนาถึง 2 ฟุต (60 เซนติเมตร) แต่สถานที่ใกล้เคียงกลับหนาขึ้นเพียงแค่ 1 นิ้ว นี่จึงเป็นปัญหาใหญ่ในเรื่องการคาดการณ์ ซึ่งการศึกษานี้คือความพยายามเพื่อต้องการนำเสนอแบบจำลองสภาพอากาศที่ดีกว่าเดิม

McMurdie อธิบายเพิ่มเติมว่า พื้นที่ที่มีหิมะจำนวนมากมักจะอยู่ในบริเวณแคบภายในกลุ่มเมฆที่เรียกว่า “วงหิมะ”(snow band) ซึ่งจะมีหิมะตกหนักกว่าบริเวณอื่น และตอนนี้ยังไม่มีการศึกษาใดที่สามารถอธิบายปรากฎการณ์นี้ ได้อย่างขัดเจนว่ามันเกิดอะไรขึ้น ? และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ? ในช่วงที่เกิดพายุหิมะ

ทีมวิจัยเข้าไปศึกษาพายุหิมะอย่างใกล้ชิดได้อย่างไร ? 

ในการปฏิบัติการแต่ละครั้ง ทีมนักวิจัย จะสามารถเข้าไปใกล้พายุหิมะด้วย เครื่องบินสำรวจ P-3 ซึ่งติดตั้งเครื่องสำรวจเมฆไว้ใต้ปีก ซึ่งจะวัดขนาดและรูปร่างของเกล็ดหิมะ ไอน้ำ อุณหภูมิ และค่าอื่นๆ ของสภาพแวดล้อมที่ก่อตัวขึ้น ซึ่งสามารถเรียกรวมกันได้ว่า Microphysics (ปัจจัยที่ควบคุมปฏิกิริยาของหยดน้ำและผลึกน้ำแข็ง ทั้งการชนกัน การละลาย หรือการแข็งตัวแม้กระทั่งการหยดลงมาเป็นฝนหรือเป็นหิมะ)

 

ขณะทำการบินอยู่เหนือพายุ เครื่องบินสำรวจ P-3 จะปล่อยเซนเซอร์ที่เรียกว่า “dropsondes” เพื่อวัดอุณหภูมิ ความชื้น และความเร็วลมในบรรยากาศ ขณะเดียวกันหน่วยเคลื่อนที่จะส่งบอลลูนตรวจสภาพอากาศ เพื่อวัดสิ่งเดียวกันจากพื้นดินขึ้นไปบนก้อนเมฆ รวมทั้งยังมีทีมที่จะทำการวัดปริมาณและลักษณะของหิมะบนภาคพื้นดินอีกด้วย

ส่วน ER-2 เครื่องบินสำรวจอีกลำหนึ่ง จะตั้งอยู่ในสนามบินของกองทัพสหรัฐฯ ในจอร์เจีย และจะขึ้นบินที่ความสูง 65,000 ฟุต เพื่อตรวจวัดเมฆจากด้านบน โดยจะวัดการกระจายตัวของฝน เกล็ดหิมะ และอนุภาคน้ำแข็งในแนวตั้ง รวมทั้งการเคลื่อนที่และขนาดของก้อนเมฆ

 

ทีมวิจัยกล่าวว่า การรวบรวมข้อมูลโดยตรงจาก P-3 และการเก็บข้อมูลระยะไกลจาก ER-2 จะช่วยให้เราเข้าใจโครงสร้างและการเปลี่ยนแแปลงของวงหิมะทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้การคาดการณ์ปรากฏการณ์พายุหิมะครั้งต่อไปของเราแม่นยำขึ้น

เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับโปรเจ็คต์นี้ 

โดยเฉลี่ย “พายุหิมะ” แต่ละครั้งจะมีความเร็วลมไม่ต่ำกว่า 56 กม./ชม. มีขนาดประมาณ 400 เมตร และมักจะพัดอยู่นานมากกว่า 3 ชั่วโมง ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงได้มากกว่า -6 องศาเซลเซียส และอาจทำให้เกิดหิมะทับถมสูงถึง 60 เซนติเมตร เลยทีเดียว

 

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

This field is required.

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

Hot this 48 hr.

iPadOS 19 มาแนวใหม่! เปลี่ยน iPad ให้เหมือน Mac มากขึ้นอีกขั้น

ในทุกปี Apple มักจะเปิดตัวระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่พร้อมกับการปรับแต่งเพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งาน และในปี 2025 นี้ iPadOS 19 ก็เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่หลายคนรอคอย...

เรียกคืน Tesla Cybertruck จำนวน 46,000 คัน เพราะชิ้นส่วนตกกระจาย

เมื่อเร็วๆ นี้ Tesla ได้เผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้เหล่าเจ้าของ Cybertruck ต้องตกใจ เมื่อบริษัทประกาศเรียกคืนรถ Cybertruck จำนวน...

Apple ยังปักหลักผลิต iPhone ในอินเดีย แม้ความเสี่ยงภาษีจะเพิ่มสูงขึ้น

Apple ยังคงเดินหน้าผลิต iPhone ในอินเดียอย่างมั่นคง แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตลาดอเมริกา ซึ่งมีแนวโน้มว่าภาษีศุลกากรจะถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งกับสินค้าที่ผลิตในจีน Ming-Chi...

ราคาทองปี 2025 พุ่งแตะ $3,700 ต่อออนซ์! Goldman Sachs มั่นใจทองยังไปต่อ

ใครที่กำลังเล็งลงทุนในทองคำหรือมีทองเก็บไว้ในเซฟ ต้องรีบอัปเดตข่าวนี้กันเลย เพราะล่าสุด Goldman Sachs ธนาคารชื่อดังระดับโลกได้ออกมาคาดการณ์ว่า ราคาทองคำในปี 2025 มีโอกาสพุ่งไปแตะถึง...

ผู้ก่อตั้ง Telegram Pavel Durov เผยตัวเลขใหม่! แอพพลิเคชั่นแชทฮอตแห่งปีมีผู้ใช้ 1 พันล้านแล้ว พร้อมบ่น WhatsApp ว่าเป็น “ของเลียนแบบไม่มีความมัน”

สวัสดีเพื่อน ๆ ชาวเทคโนโลยีและคนรักแอพแชททุกคน วันนี้เรามีข่าวใหญ่จากวงการแอพแชทที่ไม่ควรพลาดกันแน่! Telegram ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวัน โดยเฉพาะคนที่ชอบความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการสื่อสาร ได้ผ่านการประกาศจากผู้ก่อตั้งแอพฯ ที่มีชื่อเสียงอย่าง...

Topics

Apple ยังปักหลักผลิต iPhone ในอินเดีย แม้ความเสี่ยงภาษีจะเพิ่มสูงขึ้น

Apple ยังคงเดินหน้าผลิต iPhone ในอินเดียอย่างมั่นคง แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตลาดอเมริกา ซึ่งมีแนวโน้มว่าภาษีศุลกากรจะถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งกับสินค้าที่ผลิตในจีน Ming-Chi...

ราคาทองปี 2025 พุ่งแตะ $3,700 ต่อออนซ์! Goldman Sachs มั่นใจทองยังไปต่อ

ใครที่กำลังเล็งลงทุนในทองคำหรือมีทองเก็บไว้ในเซฟ ต้องรีบอัปเดตข่าวนี้กันเลย เพราะล่าสุด Goldman Sachs ธนาคารชื่อดังระดับโลกได้ออกมาคาดการณ์ว่า ราคาทองคำในปี 2025 มีโอกาสพุ่งไปแตะถึง...

iPadOS 19 มาแนวใหม่! เปลี่ยน iPad ให้เหมือน Mac มากขึ้นอีกขั้น

ในทุกปี Apple มักจะเปิดตัวระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่พร้อมกับการปรับแต่งเพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งาน และในปี 2025 นี้ iPadOS 19 ก็เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่หลายคนรอคอย...

Netflix กำลังทดสอบระบบค้นหาด้วย AI แนะนำหนังและซีรีส์ให้ตรงใจยิ่งขึ้น

Netflix เดินหน้าทดลองระบบค้นหาแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อให้การแนะนำหนังและซีรีส์ตรงใจผู้ชมมากขึ้นกว่าเดิม โดยระบบใหม่นี้อยู่ในช่วงทดสอบภายใน และมีแผนจะเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ลองใช้ในอนาคตอันใกล้ ระบบ AI ตัวใหม่นี้ไม่ใช่แค่การแนะนำแบบเดิม ๆ...

Related Articles

Popular Categories

spot_img