สำหรับการส่งบทความเข้ามายังเว็บไซต์ไอทีเมามันส์นั้น..แน่นอนว่าหลายบทความไม่ได้คิดเองและเขียนเองทุกๆบทความ และหลายบทความต้องมีข้อมูลมาสนับสนุนความคิดของคุณว่าแนวคิดเหล่านั้นเป็นจริง ลักษณะการเขียนบทความที่เป็นที่ยอมรับสำหรับที่นี้คล้ายงานวิจัยที่จะต้องมีการแสดงที่มาที่ไปของเนื้อหาที่คุณนำมาเขียนเป็นบทความ
การคัดลอกบทความเพื่อนำมาเป็นความของผู้เขียน
สำหรับการคัดลองตัวเนื้อหาจากบทความไม่ว่าจะเป็นจากเว็บไซต์อื่น หรือจากเนื้อหาทั้งหนังสือและวารสาร สื่อสิ่งพิมพ์แบบออฟไลน์นั้นจะต้องมีการแสดงความคิดเห็นของต้นเองประกอบเสมอโดยลักษณะการแสดงความคิดเห็นจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหัวบทความและท้ายบทความ ดังตัวอย่างเช่น ส่วนหัวบทความ
ผู้เขียนจะต้องมีการแสดงความคิดเห็นในลักษณะแนะนำหรือเขียนเป็นการแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบทความที่คิดลอกมาอย่างเหมาะสมดังตัวอย่างในรูป
จากรูปภาพตัวอย่างนั้นแสดงให้เห็นว่าข้อมูลใน ส่วนที่ 1 หัวบทความ จะต้องมีการเขียนแนะนำหรืออ้างถึงเนื้อบทความที่กำลังจะนำเสนอให้ผู้อ่านได้ทราบ และ ส่วนที่ 2 เป็นเนื้อหาที่มีการคัดลอกมา
“ไม่อนุญาติให้คัดลอกมาทั้งประโยคต้องปรับปรุงเนื้อหาโดยการเขียนและเรียบเรียงใหม่ทุกครั้ง”
ส่วนท้ายบทความ
ในส่วนท้ายบทความผู้เขียนจำเป็นต้องสรุปข้อมูลจากเนื้อเรื่องที่ได้คัดลอกมาจากที่อื่น และอธิบายเป็นข้อมูลสรุปให้ผู้อ่านเข้าใจถึงข้อมูลที่กล่าวมาโดยมีรายละเอียดดังรูปภาพ
เมื่อได้ทำการคัดลอกข้อมูลและบรรยายมาเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนจำเป็นต้องสรุปข้อมูลจากเนื้อหาที่เขียนให้ผู้อ่านทราบข้อมูลเพื่อความเข้าใจและเป็นบทความที่น่าอ่านยิ่งขึ้น และมีการอ้างอิงในส่วนต่อไป
ตัวอย่างการอ้างอิงบทความจากที่อื่น
การอ้างอิงจากเว็บไซต์
เป็นวิธีการอ้างอิงมากที่สุดที่มีการส่งเนื้อหาเข้ามายังเว็บไซต์ไอทีเมามันส์ ซึ่งการอ้างอิงที่ถูกต้องจำเป็นอย่างยิ่งเพราะหลายเว็บไซต์ที่เป็นแหล่ง ข้อมูลที่เราคัดลองมากนั้น มีหลายเว็บไซต์ที่มีลิขสิทธิ์และหลายเว็บไซต์อนุญาติให้อ้างอิงเนื้อหาไปใช้ ได้ โดยเว็บไซต์ไอทีเมามันส์ก็เช่นกัน สามารถนำเนื้อหาไปอ้างอิงได้โดยการอ้างอิงกลับมายังเว็บไซต์แห่งนี้ โดยสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เนื้อหาได้ที่หน้าเว็บ การเขียนบทความ ลักษณะการอ้างอิงที่ควรทำสามารถทำได้ดังนี้
- คัดลอก ชื่อเรื่อง หรือ ชื่อบทความ จากหน้าเว็บไซต์ที่อ้างอิงมาสำหรับใส่ข้อมูลในส่วนท้ายบทความ
- ทำการอ้างอิงไปยังลิงก์ (Link) ที่ถูกต้อง โดยจะต้องคลิกแล้วไปพบกับบทความที่เรายกมาอ้างอิง ไม่ใช่หน้าเว็บหลัก
- ใช้เครื่องมือ เพิ่ม/แก้ไขลิงก์ (Link) สำหรับใส่ข้อมูลลิงก์ต้นฉบับ
Code สำหรับสร้าง Tab คำว่า “Reference”
สามารถนำไปใช้เป็นแม่แบบในการโพสลิงก์อ้างอิงบทความของผู้เขียนได้การอ้างอิงจากหนังสือ/วารสาร/บทความออฟไลน์
สำหรับการอ้างอิงนี้ให้ยึดหลักแบบเดียวกับกับการเขียนงานวิจัยนั้นคือจะต้องระบุ ชื่อผู้เขียน, ปีที่เขียน, “ชื่อบทความ/ชื่อเรื่อง”, ชื่อหนังสือ/วารสาร/สำนักพิมพ์, หน้าที่คัดลอกมา.
ตัวอย่างเช่น
- วิเชียร เกตุสิงห์, 2538, “ค่าเฉลี่ยกับแปรความหมาย: เรื่องง่ายๆที่บางครั้งก็พลาดได้”, ข่าวสารวิจัยการศึกษา 18, 3, หน้า 8-11.
- Kenneth Hsi-Che Wang, Sin Mei Li, 2011, “The study on the social factors influencing the purchasing intention for financial commodities: Applying to elderly people”, Business Innovation and Technology Management (APBITM), 2011 IEEE International Summer Conference of Asia Pacific, Page 264-268.