เมื่อปี 2553 ไม่ใช่หลุมยุบธรรมดาที่เรียกกันตามสื่อต่างๆ ว่า “Sinkhole” เนื่องจาก sinkhole เกิดขึ้นจากการละลายของชั้นหินปูน (หรือหินโดโลไมต์) ที่รองรับอยู่ข้างใต้จนทำให้เกิดโพรงใต้ดิน ซึ่งเมื่อโพรงใต้ดินขยายใหญ่ขึ้นก็จะรับน้ำหนักจากด้านบนไม่ไหว จึงเกิดการถล่มลง กลายเป็นหลุมขนาดใหญ่ แต่สำหรับในประเทศกัวเตมาลาแล้ว พื้นที่ส่วนมากประกอบด้วยหินพัมมิส (pumice) เศษเถ้าภูเขา ไฟที่เกาะกันอย่างหลวมๆ และเศษวัสดุต่างๆ ที่ตกสะสมหลังจากการระเบิดของภูเขาไฟในอดีตหนากว่า 200 เมตร ซึ่งวัสดุเหล่านี้ง่ายต่อกระบวนการกร่อน (erosion) เป็นอย่างมาก เมื่อมีการรั่วไหลของน้ำจากท่อใต้ดินหรือเกิดพายุกระหน่ำ ก็จะเกิดการทรุดตัวลงไปด้านล่างได้เช่นกัน นักธรณีวิทยาของกัวเตมาลาจึงเรียกหลุมนี้ว่า “Piping Structure” หรือโครงสร้าง (หลุม) ที่เกิดจากการกร่อนโดยท่อน้ำใต้ดินนี้ และเป็นศัพท์ที่ถูกเสนอเพื่ออธิบายหลุมยักษ์ในกัวเตมาลา รวมถึงหลุมยักษ์ในบริเวณใกล้เคียงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในปี 2550 ด้วย กลิ่นเหม็นของน้ำจากท่อใต้ดินและเสียงของน้ำไหลจากบริเวณก้นหลุมเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งของสาเหตุที่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ นาย Bonis ผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมสำรวจธรณีวิทยาและวิศวกรรมในพื้นที่นี้ ยังได้ให้ความเห็นอีกว่า หลุมยักษ์นี้ยังสามารถเกิดขึ้นอีกได้ เมื่อมีปริมาณน้ำจากพายุ หรือจากการรั่วไหลของท่อใต้ดิน หรืออะไรก็ตามที่สามารถพัดพาวัสดุเหล่านี้ไป และทำให้เกิดการกร่อนใต้ดิน ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันจะใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะยุบตัว และมันสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณ จะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์ครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว การกระทำของมนุษย์ก็มีส่วนร่วมด้วยเช่นเดียวกัน คัดลอกจาก The Weather Lover Club https://www.facebook.com/WeatherLoverClub