คอยานยนต์ทุกคน ครั้งนี้เรามีข่าวสำคัญจะแจ้งว่า จากผลการทดสอบการสึกหรอของยางรถยนต์พบว่ามีอนุภาคที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน รวมทั้งสารก่อมะเร็งที่อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต รายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย
สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ดังนี้
- ล่าสุดมีการเปิดเผยผลการทดสอบพบว่ายางที่สึกหรอมีอนุภาคขนาดเล็กมาก มากกว่า 1 ตันต่อการขับในแต่ละกิโลเมตร ซึ่งหมายถึงอนุภาคมีขนาดเล็กกว่า 23 นาโนเมตร ด้วยขนาดที่เล็กมากนี้สามารถเข้าสู่ร่างการของเราถึงกระแสเลือดได้
- Nick Molden จาก Emissions Analytics บริษัททดสอบการปล่อยมลพิษอิสระชั้นนำที่ทำการวิจัย กล่าวว่า “ยางรถยนต์กำลังก่อมลพิษแซงหน้าท่อไอเสียอย่างรวดเร็วเนื่องจากมันเป็นส่วนที่จำเป็นหลักของยานพาหนะ และขณะนี้ยังไม่มีข้อบังคับควบคุมอัตราการสึกหรอของยางและกฎระเบียบที่เกี่ยวกับสารเคมีที่มีอยู่ในยางเลย”
- สารเคมีที่มีอยู่ในยางประเภทต่างๆ 250 ชนิด ซึ่งปกติแล้วจะทำมาจากยางสังเคราะห์ ซึ่งได้มาจากน้ำมันดิบ “มีสารเคมีหลายร้อยชนิด ซึ่งสารเคมีจำนวนมากเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง” Molden กล่าว “เมื่อคุณคูณมันด้วยอัตราการสึกหรอทั้งหมด คุณจะได้ตัวเลขที่น่าตกใจมากว่ามีสารมลพิษอะไรที่หลุดลอยออกมาบ้าง”
- การทดสอบการสึกหรอของยางจำนวน 14 แบรนด์ที่แตกต่างกัน โดยใช้รถยนต์ Mercedes C-Class ในการทดสอบขับเคลื่อนไปบนท้องถนนด้วยความเร็วปกติ ด้วยเครื่องชั่งที่มีความแม่นยำสูงจะวัดน้ำหนักของยางที่สูญเสียไป และระบบจะสุ่มตัวอย่างที่รวบรวมอนุภาคที่อยู่ด้านหลังของยางในขณะขับรถ เพื่อนำมาประมวลผลของจำนวนและขนาดของอนุภาคลงไปที่ 6 นาโนเมตร
- โดยทดสอบเปรียบเทียบกับการปล่อยไอเสียจากรถ SUV ที่ใช้น้ำมันเบนซินจำนวน 4 คัน ซึ่งเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ที่ได้รับความนิยมโดยใช้โมเดลปี 2019 และ 2020
- ผลที่ได้คือยางรถยนต์ใช้แล้วขับไปจะปล่อยอนุภาครวมน้ำหนักได้ 36 มก./กม. ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของไอเสีย 02 มก./กม. หรือเทียบเท่าว่ายางรถยนต์ผลิตอนุภาคมลพิษในอากาศโดยมีน้ำหนักรวมมากกว่าไอเสียมากกว่าถึง 1,850 เท่า ส่วนการทดลองในการขับขี่ที่ดุดันมาก (แต่ยังอยู่ในความเร็วที่กฎหมายกำหนด) มีการปล่อยอนุภาคที่พุ่งสูงขึ้นถึง 5,760 มก./กม.
- ทั้งนี้ยังมีการถกเถียงกันเป็นพิเศษถึงน้ำหนักเฉลี่ยของรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ (BEV) ที่มากกว่ารถยนต์ทั่วไป อีกทั้งยังมีแรงบิดล้อที่มากกว่า อาจยิ่งส่งผลให้มีการผลิตอนุภาคยางมากขึ้น แต่ทาง Molden กล่าวว่า ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ขับขี่ โดยปกติแล้วผู้ขับรถ EV ที่ขับแบบไม่เร็วก็จะจะผลิตอนุภาคของยางน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่แล้ว และเขาก็คาดการณ์ว่าอนุภาคยางจาก BEV จะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย
นี่จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่เราต้องเร่งจัดการกันด่วน เพราะมันจะเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของผู้คนหากไม่มีการเข้ามาจัดการเรื่องนี้ อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่ได้มีการควบคุมทั้งในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา