สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการนำเสนอสาระความรู้ที่น่าสนใจด้านธุรกิจ สำหรับครั้งนี้เราจะพาเพื่อนๆ มารับทราบเหตุผลว่า ทำไม เมืองไทย ทำสตาร์ทอัพแล้วเจ๊ง เกาหลีทำสตาร์ทอัพแล้วเจ๋ง ซึ่งคำตอบจะเป็นอย่างไร ตามมาดูกันเล้ยย
คำตอบสำหรับเรื่องนี้มีดังนี้
- รายงานของ Startup Genome ยกให้กรุงโซลติดอันดับ 20 เมืองที่มี ระบบนิเวศสตาร์ทอัพใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่า 117,300 ล้านบาท หรือเกือบ 4 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก และยังเป็นปีแรกที่โซลติดท็อป 20 ด้วย
- ปี 2563 แม้จะมีการระบาดใหญ่ของโควิด-19 แต่ถือเป็นอีกหนึ่งปีทองของสตาร์ทอัพในเกาหลีใต้ ซึ่งสามารถปั้น ยูนิคอร์น หรือสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 30,000 ล้านบาท) ถึง 12 ราย มากที่สุดอันดับ 5 ของโลก
- ทางการโซลประกาศทุ่มทุน 1,700 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 51,120 ล้านบาทจนถึงปี 2565 เพื่อปั้นเมืองหลวงแห่งนี้ให้ติด 1 ใน 5 ฮับสตาร์ทอัพชั้นนำของโลก และตั้งเป้าเพิ่มจำนวนยูนิคอร์นสัญชาติเกาหลีเป็น 15 รายภายในปี 2565
- งบจำนวน 1,700 ล้านดอลลาร์นี้จะถูกนำไปใช้ฝึกฝนแรงงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีราว 10,000 คน และเพิ่มจำนวนพื้นที่ประกอบการสตาร์ทอัพอีก 2 เท่าในโซลเป็น 2,200 แห่ง
- เดือน ส.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลประกาศแผนนำร่องใช้งบ ราว 42 ล้านล้านบาท จากเงินทุนระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และเอกชนทั่วประเทศ เพื่อสร้างงานในอุตสาหกรรมสตาร์ทอัพ 1.9 ล้านตำแหน่งภายในปี 2568
- เดือน ก.ย. กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน ให้คำมั่นว่า จะเพิ่มจำนวนสตาร์ทอัพด้านพลังงานเป็น 4,000 รายภายในปี 2568 และในเดือน พ.ย. กระทรวงสิ่งแวดล้อม ให้คำมั่นว่า จะทุ่มงบ 2,200 ล้านดอลลาร์ใน 5 ปีข้างหน้าเพื่อบ่มเพาะสตาร์ทอัพ “สีเขียว” 2,000 ราย ซึ่งรวมถึงยูนิคอร์นอย่างน้อย 1 ราย
และนี่ก็คือข่าวสาระความรู้ที่น่าสนใจด้านธุรกิจที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังเป็นสตาร์ทอัพทุกคน และหากใครอยากประสบความสำเร็จก็อย่าลืมนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กันเร่งด่วนเลย