โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเก่า ที่ใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์แตกตัว หรือฟิซชันเป็นที่นิยมของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมานานหลายทศวรรษ เพราะมันผลิตพลังงานได้มากมาย เพียงพอต่อความต้องการ ประหยัดเชื้อเพลิง และมีประสิทธิภาพสูง อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเก่าก็ได้สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมมากมาย เพราะมีกากกัมภาพรังสีตกค้างนั่นเอง ดังนั้นในปัจจุบันชาติมหาอำนาจที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมได้เตรียมหยุดใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเก่าแล้ว เช่นประเทศเยอรมันนี้ ที่เมื่อไม่นานมานี้พวกเขาได้ทำการปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเก่าจนหมดสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ใครอยากรู้ก็ตามมาอ่านกันเลย
สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้
- เมื่อเร็วๆ นี้ในช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศเยอรมนีประสบความสำเร็จในการยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 แห่งสุดท้ายของประเทศ ภายหลังการรณรงค์และการทยอยยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาเป็นระยะนอกจากนี้ยังเป็นยุติช่วงเวลากว่า 60 ปี ที่ประเทศพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์
-
โรงงานไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งสุดท้ายประกอบด้วยอิซาร์ II (Isar II), เอมส์แลนด์ (Emsland) และเนคคาร์เวสต์ไฮม์ II (Neckarwestheim II) ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดภายในปี 2035
-
ภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะของญี่ปุ่นในปี 2011 ที่ส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก กลายเป็นปัจจัยเร่งสำคัญที่ทำให้ประเทศเยอรมนี ตื่นตัวและเริ่มเดินหน้าปิดโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ให้เร็วมากขึ้น
-
แผนการยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศเยอรมนีเริ่มขึ้นในช่วงปี 1970 โดยมีการออกกฎหมายที่นำไปสู่การยกเลิกเตาปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดภายในปี 2021
-
อย่างไรก็ตาม ในช่วงความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้แผนการยกเลิกโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ของเยอรมนีต้องลูกเลื่อนออกไปเล็กน้อย เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในประเทศหลังจากหยุดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียตามมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ก่อนกลับมาดำเนินการอีกครั้ง
-
แม้ว่าจะเป็นการยกเลิกไฟฟ้านิวเคลียร์แต่กำลังการผลิตไฟฟ้าของโรงงานทั้ง 3 แห่ง มีเพียง 5% ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศจึงสามารถมองหาแหล่งพลังงานทดแทนได้ไม่ยาก นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมาประเทศเยอรมนี ประสบความสำเร็จส่งเสริมพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้มากถึง 44% ของแหล่งพลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ
และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงพลังงานที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่านี่จะเป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกคน เพราะเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโมเดลการสร้างพลังงานของประเทศเยอรมันจะเป็นแรงบันดาลใจให้อีกหลายๆ ชาติ