Tuesday, December 24, 2024
25.1 C
Bangkok

เอกชนชี้กฎหมาย กสทช.ฝั่งบรอดแคสต์ กฎเกณฑ์ไม่ชัดเจน

กสทช. บรอดแคสต์ คณะกรรมาธิการ การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม วุฒิสภา  ,สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และสถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมจัดโครงการประชุมรับฟังความคิดเห็นว่าด้วย “คลื่นความถี่: ทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ” ในหัวข้อ “นัยการประมูลคลื่นความถี่ต่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์” จากแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กสทช. กำหนดให้มีการเปลี่ยนผ่านระบบการออกอากาศโทรทัศน์จากอนาล็อกเป็นดิจิทัลในปี 2558 ภายใต้เงื่อนไขการเข้าถึงกล่องรับสัญญาณดิจิทัลทีวีครอบคลุม 80% ของครัวเรือนไทย นายเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์และบริการ บริษัท ไทยคม จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ทีวีดิจิทัล ภาคพื้นดินที่กำลังเกิดขึ้นนั้นน่าเป็นห่วง เพราะต้องประเมินถึงความต้องการและความจำเป็นของผู้ประกอบการในแต่ละประเภท ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก โครงข่ายและช่องรายการว่าสนใจมากน้อยเพียงใด ท่ามกลางแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียมที่ได้รับความนิยมและขยายตัวต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน แนวทางการประมูลในแต่ละกิจการของ ทีวีดิจิทัล ในอนาคตจะมีปัญหาอีกมาก โดยเฉพาะการลงทุนสร้างโครงข่ายของผู้ประกอบการ วิธีการกระจายกล่องรับสัญญาณแก่ครัวเรือนไทยให้ครอบคลุมมากที่สุดทำอย่างไร การประมูลผู้ประกอบการรายเล็กรายใหญ่อยู่บนฐานเดียวกันหรือไม่ ตลอดจนความคุ้มค่าการลงทุนในอนาคต นอกจากนี้ปัญหาสำคัญอีกประการคือ ที่กฎหมายตั้งต้นที่เกี่ยวข้องกับกิจการบรอดแคสต์ ทั้ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 และ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 โดยกำหนดนิยามของกิจการบรอดแคสต์ต่างๆ ยังไม่ชัดเจน ท่ามกลางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงประเด็น “การประมูล” คลื่นความถี่ที่อาจให้เป็นหนึ่งทางเลือกในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ  ซึ่งทั่วโลกยอมรับว่าการประมูลเป็นหนึ่งแนวทางกำกับดูแลที่ดี สะท้อนมูลค่าของทรัพยากรนั้นๆ ตามหลักดีมานด์ซัพพลาย ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่าการประมูลอาจไม่เหมาะสมกับบางกิจการ โดยเฉพาะกิจการบรอดแคสต์ “โครงสร้างกฎหมายผิดตั้งแต่ต้น เนื่องจากไปใช้แนวคิดเดียวกันกับกิจการโทรคมนาคม ซึ่งต้องยอมรับว่ากิจการบรอดแคสต์มีหลากหลายมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง รวมถึงห่วงโซ่ที่อยู่ในอุตสาหกรรม ก็มีจำนวนมากกว่ากิจการโทรคมฯมาก” นายเอกชัยกล่าว ทั้งนี้ การประมูลที่เหมาะสม อาจแบ่งได้ 3 แนวทาง 1.แบ่งรอบการประมูลโดยจำแนกจากขนาดของผู้ประกอบการ 2.แบ่งเป็นดิวิชั่น ผู้ใดที่มีความพร้อมก่อน ก็ได้สิทธิพิเศษก่อน และ 3.ไปกำกับที่มัลติเพล็กเซอร์ ทีวีดาวเทียมจี้ความชัดเจนกิจการ นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อานวยการ บริษัทเนชั่น บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปัญหาสำคัญของผู้ประกอบกิจการทีวีดาวเทียมคือ ความชัดเจนในสถานะทางกฎหมายของผู้ประกอบการกลุ่มนี้ว่า จัดอยู่ในกิจการประเภทใด รวมถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่บังคับหยุมหยิมเกินไป ไม่ยืดหยุ่นต่อการทำงานของผู้ประกอบการ หรือบางครั้งกฎเกณฑ์ที่ออกมาก็ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ทั้งในเชิงเทคโนโลยีและเชิงธุรกิจ เช่น การจัดกลุ่มรายการที่แบ่งออกเป็น 6 ประเภท จากที่เสนอไป 10 ประเภท ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการที่เป็นคอนเทนท์ โปรวายเดอร์หลายราย ต่างเริ่มพิจารณาแล้วว่า การขยายสู่ทีวีดิจิทัล คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ ท่ามกลางความต้องการในการติดตั้งจานดาวเทียมสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันคาดว่าครอบคลุมราว 60-70% ของประเทศไปแล้ว นายเดียว วรตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการสายงาน แพลตฟอร์ม สแตรทิจี้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด กล่าวสอดคล้องกันว่าจากนิยามที่ไม่ชัดเจนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อทีวีดาวเทียม ส่งผลให้ทิศทางการดำเนินธุรกิจไม่ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี อาจทำให้การกำกับดูแลผิดทางได้ ขณะที่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น  ทีวีดิจิทัลอาจไม่มีความจำเป็นในอนาคต เช่นเดียวกับที่เกิดในไต้หวัน นายปราโมทย์ โชคศิริกุลชัย ประธานสมาพันธ์ สมาคมดิจิทัล คอนเทนท์บันเทิงไทย กล่าวว่าการประมูลช่องดิจิทัลนั้น ต้องไม่จำกัดเพียงประเภทธุรกิจ แต่ต้องรวมถึงกิจการประเภทสาธารณะและชุมชน ซึ่งอาจเป็นลักษณะ “นอนไพรซ์” (None-prize) โดยอาจใช้หลักเกณฑ์ด้านประโยชน์สาธารณะหรือมิติทางสังคม เพราะไม่เช่นนั้นจะมีดีมานด์มากกว่าซัพพลาย และการใช้คลื่นความถี่ก็จะไม่มีประสิทธิภาพพอ เกิดเป็นช่องทีวีที่ไม่มีคุณภาพ หรืออาจใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเช่นเดียวกับวิทยุชุมชน นายกรัณย์พล อัศวสุวรรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิมโฟนี คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การกำกับดูแลในอนาคต อาจไม่ใช่ที่แพลตฟอร์มที่แบ่งเป็นอนาล็อกหรือดิจิทัล แต่อาจแบ่งตามลักษณะการส่งสารแบบสื่อสารทางเดียวหรือสื่อสารสองทาง ซึ่งเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีการรับสารของโลก ทำให้บทบาทห่วงโซ่อุตสาหกรรม “สื่อสาร” ในอนาคตจะคอนเวอร์เจนซ์กันหมด  ทำให้คอนเทนท์จะสามารถไปได้ทุกสื่อ ไม่จำกัดเป็นหน้าจอโทรทัศน์อีกต่อไป ซึ่งจอสมาร์ทโฟนและแทบเล็ตจะทรงอำนาจมากในอนาคต

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

Hot this 48 hr.

ข่าวใหญ่ จีนค้นพบอารยธรรมที่เก่าแก่กว่าราชวงศ์เซี่ย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่มีนักโบราณคดีคนไหนในโลกเชื่อว่าจีนจะมีอารยธรรมที่เก่าแก่กว่านี้อีกแล้ว

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจรอบโลก สำหรับครั้งนี้เราก็มีข่าวสำคัญจะมาแจ้งให้ทุกท่านได้ทราบว่า ที่ประเทศจีนมีการค้นพบอารยธรรมที่เกิดขึ้นก่อนราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์แรกของจีนที่เกิดขึ้น 2,100...

เทศกาลกลองฮ่องกง ปิดท้ายอย่างยิ่งใหญ่ : เสียงเพลง ความสนุก ประทับใจ ของผู้รับชม

เมื่อเร็วๆ นี้ ไชน่าเคม กรุ๊ป (Chinachem Group) ฮ่องกง ได้ร่วมจัดงานเทศกาลกลอง ภายใต้ธีม...

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ทำนายปี 2025: Agentic AI พลิกโฉมองค์กร พร้อมแนวคิด Sovereign AI

ในโลกที่เทคโนโลยีเป็นตัวเร่งความเปลี่ยนแปลง เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้เผยแพร่วิสัยทัศน์สำหรับปี 2025 และปีต่อๆ ไป ที่จะส่งผลต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะการเติบโตของ...

ส่องความสวย Nissan Leaf 2020 ยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของโลกที่ตอนนี้มีอายุครบ 10 แล้ว

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทเรื่องราวที่น่าสนใจในแวดวงยานยนต์ สำหรับในครั้งนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาชมความสวยงามของรถยนต์ Nissan Leaf...

อนุภาคที่หลุดออกมาจากยางรถยนต์เป็นภัยต่อสุขภาพยิ่งกว่าควันไอเสียเยอะ

คอยานยนต์ทุกคน ครั้งนี้เรามีข่าวสำคัญจะแจ้งว่า จากผลการทดสอบการสึกหรอของยางรถยนต์พบว่ามีอนุภาคที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน รวมทั้งสารก่อมะเร็งที่อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต รายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย    สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ดังนี้...

Topics

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ทำนายปี 2025: Agentic AI พลิกโฉมองค์กร พร้อมแนวคิด Sovereign AI

ในโลกที่เทคโนโลยีเป็นตัวเร่งความเปลี่ยนแปลง เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้เผยแพร่วิสัยทัศน์สำหรับปี 2025 และปีต่อๆ ไป ที่จะส่งผลต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะการเติบโตของ...

Sony A1 II รีวิว: กล้อง Mirrorless ระดับเรือธงที่โดดเด่นยิ่งขึ้น

Sony A1 II ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากรุ่นก่อนหน้าอย่าง Sony A1 ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นกล้อง Mirrorless ที่ดีที่สุดในตลาด...

ข่าวลือ OnePlus Open 2 อาจต้องรอเปิดตัวนานกว่าที่คิด!

สาวก OnePlus คงตื่นเต้นไม่น้อยหลังจากที่ OnePlus Open ได้เปิดตัวไปอย่างอลังการ ซึ่งกระแสตอบรับจากผู้ใช้งานทั่วโลกถือว่าดีเยี่ยม แต่สำหรับรุ่นต่อไปอย่าง OnePlus...

Apple TV+ คุ้มไหม? รีวิว ฟีเจอร์ ราคา และทุกอย่างที่คุณต้องรู้

ถ้าคุณกำลังมองหาแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งใหม่ที่ให้ความบันเทิงระดับพรีเมียม Apple TV+ อาจเป็นคำตอบที่น่าสนใจ! แม้จะเป็นคู่แข่งรายเล็กในตลาดเมื่อเทียบกับยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix หรือ Disney+ แต่...

Related Articles

Popular Categories

spot_img