ฤดูกาลนี้คงหนีไม่พ้นการสมัครสอบก.พ.และการสอบก.พ. ที่กำลังจะมีขึ้น ผมเองเป็นผู้ลงสนามสอบครั้งแรกที่พยามเตรียมการศึกษาข้อมูลและอ่านหนังสือ เพื่อเข้าสอบอยู่เช่นกัน ก่อนหน้านี้ตอนผมเรียนจบใหม่ๆ ผมไม่เคยสนใจการสอบ ก.พ. เลยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเจ้า ก.พ. นี้มันคืออะไร รู้เพียงคราวๆว่าถ้าจะเป็นข้าราชการ ก็ต้องสอบเจ้าก.พ.นี้ล่ะ จน ณ ปัจจุบันนี้ผมกำลังจะลงสนามสอบครั้งแรก (ตื่นเต้นดีครับ กลัวไม่ผ่าน) ผมเองก็เพิ่งจะมาเตรียมตัวเอาตอนใกล้ๆแล้วนี้เอง หวังว่าจะผ่านกับการสอบไปด้วยดีครับ สำหรับใครที่ยังไม่เคยรู้จัก ก.พ. ว่ามันคืออะไรลองมาทำความรู้จักพร้อมๆ ผมก็ได้ครับผมได้เก็บข้อมูลและเรื่องราวมาเล่าเกี่ยวกับ ก.พ.ให้อ่านกัน..
ทำความรู้จัก ก.พ. ??
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. คือ คณะกรรมการที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2471 โดยมีชื่อเรียกในขณะนั้นว่า “ก.ร.พ.” หรือ “คณะกรรมการรักษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน” เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการจัดสอบคัดเลือกผู้เข้ารับราชการพลเรือน และจัดการศึกษาให้นักเรียนหลวงฝ่ายพลเรือนที่ส่งไปศึกษายังต่างประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนจากชื่อจาก ก.ร.พ. เป็น ก.พ. ทำหน้าที่ดูแลให้การดำเนินการด้านบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนับตั้งแต่การกำหนด ตำแหน่งและอัตราเงินเดือนการสอบเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการการแต่งตั้งโยก ย้ายการเลื่อนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไปจนถึงการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง บทบาทของ ก.พ. จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวม ด้วยการพิจารณา และดำเนินการเพื่อให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งข้าราชการที่ดีมีความรู้ ความสามารถสูง ให้ได้คนที่เหมาะสมกับงานและโดยประหยัดรวมถึงการรักษาขวัญและส่งเสริมกำลัง ใจ ในการทำงานของข้าราชการเป็นส่วนรวม ถือเป็นการเตรียมกำลังคนภาครัฐให้มีความพร้อมและสามารถผลักดันนโยบายของรัฐ ให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าประสงค์ อันจะช่วยให้ประเทศชาติก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง สรุปสั้นๆคือ ก.พ. คือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน นั้นเอง อยากทำงานราชการก็ต้องรู้จักไว้นะ (ที่มา : http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_content&view=article&id=85&Itemid=191)
เอาล่ะรู้จัก ก.พ. กันแล้ว ความนี้มาเข้าถึงประเด็นสำคัญของการสอบกัน นั้นคือ “แนวข้อสอบ ก.พ.” ครับ เป็นเรื่องที่ดีใช่ไหม? ถ้าเรารู้ว่าข้อสอบจะออกอะไรบ้างล่วงหน้า เป็นสิ่งนึ่งที่บอกได้เลยว่า “รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ถ้าเรารู้แนวทางและรู้จักวางแผนการทำข้อสอบ รวมถึงรู้วิธีการทำข้อสอบ และแนวทางการเตรียมตัวไว้ลงสนามสู้ศึก!!
แนวข้อสอบ ก.พ. (เป็นอย่างไรล่ะ?)
ข้อสอบจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 วิชาความสามารถทั่วไป
- อนุกรม
- คณิตทั่วไป
- เงื่อนไขสัญลักษณ์
- การวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง
- เงื่อนไขภาษา
- ตรรกวิทยา
- อุปมา – อุปไมย
- ปริมาณสัดส่วน
- ข้อมูลเพียงพอ
ส่วนที่ 2 วิชาภาษาไทย
- การเลือกใช้คำ/กลุ่มคำให้ถูกต้องตามหลักภาษา (เติมคำในช่องว่าง)
- สรุปความ – ตีความ
- เรียงลำดับข้อความ
- การอ่านทำความเข้าใจบทความ
- หาข้อบกพร่องทางภาษา
คราวนี้เราก็พอจะมองแนวทางและวางแผนการอ่านหนังสือได้ถูกทางแล้วใช่ ไหม?ครับ แต่สำหรับการเดินให้ถูกทางนั้นเราต้องศึกษาข้อมูลปริมาณการออกข้อสอบว่าแต่ ละหัวข้อทาง ก.พ. เขาจะออกมาเท่าไหร่ เราจะได้คำนวณว่าเราจะใช้เวลาในการทำข้อสอบตรงไหนเท่าไหร่ เพราะจากที่ผมศึกษามานั้น ถ้าเราใช้เวลาโดยไม่แบ่งให้ดี เราอาจจะทำข้อสอบไม่ทันตามกำหนดเวลาในการเข้าห้องสอบ และสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำข้อสอบ ต้องรู้ว่าอะไรสำคัญเป็นเรื่องที่เราต้องทำ และวัดกันเลยว่าคุณทำผ่านไม่ผ่าน สิ่งที่ ก.พ. ต้องการคือไม่ได้ต้องการคนที่เก่ง ทำข้อสอบได้ทุกข้อ หรืออัฉริยะทำถูกหมดว่างั้น เพราะสิ่งที่ต้องการจริงๆ คือเราต้องการสอบผ่านจริงไหม? ดังนั้น เรื่องการแบ่งเวลาทำข้อสอบก็สำคัญมาก ดังนั้นสิ่งที่ต้องฝึกไปพร้อมกับการอ่านหนังสือคือ “การเดาข้อสอบ ก.พ.” ครับ ซึ่งผมจะมาเล่าให้ฟังเป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆที่ผมได้ศึกษามาให้ฟังในบทความหลังจากนี้ครับ
ทำไมก.พ. ถึงมีลักษณะข้อสอบแบบนี้ (หยิบจากหนังสือ แนวข้อสอบมาเล่าให้ฟัง)
สำหรับการสอบภาค ก. นี้ สำนักงาน ก.พ. ใช้ข้อสอบมาตรฐานเป็นเครื่องมือวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของผู้เข้าสอบ ซึ่งประกอบด้วยวิชาความสามารถทั่วไปและวิชาภาษาไทย สำหรับวิชาความสามารถทั่วไปนั้น จะวัดความสามารถขั้นพื้นฐานทางสติปัญญาของคนเรา ซึ่งเป็นความสามารถที่สั่งสมมาจากประสบการณ์เพียง 3 องค์ประกอบคือ ความสามารถทางด้านความมีเหตุผล (Reasoing ability) ความสามารถทางด้านตัวเลข (Numerical ability) และความสามารถทางด้านภาษา (Verbal ability) สำหรับภาษาไทยก็จะใช้ข้อสอบมาตรฐานในการวัดความรู้ ความเข้าใจภาษา และความสามารถในการใช้ภาษาให้ถูกต้อง ข้อสอบมาตรฐานที่ใช้ในการสอบนั้น ผู้เข้าสอบไม่จำเป็นต้องเรียนกวดวิชาให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด เพียงแต่อ่านคำแนะนำ วิธีการทำและการตอบข้อสอบ และตัวอย่างคำถามในคู่มือต่างๆ ก็เพียงพอแล้ว
ก.พ. กับความคิดเห็นส่วนตัว (ต่อท้ายจากบทคำนำที่หนังสือมันบอกมา..)
ผมเป็นคนนึ่งครับที่เลือกเดินทางอ่านหนังสือ ดูวีดีโอสอบทำข้อสอบ โดยไม่ได้เข้าไปติวจากสถาบันต่างๆ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายครับ ซึ่งถ้าใครมีกำลังทรัพย์ สามารถเข้าไปฝึกที่สถาบันต่างๆ ก็ไม่ว่ากันครับ แต่สิ่งต้องทำด้วยตัวเอง นั้นคือการฝึกฝนทำข้อสอบครับ และขยันอ่านหนังสือสอบบ่อย ผมเอง ณ ตอนนี้ที่กำลังเขียนบนความในบล๊อกก็ไม่ได้เก่งอะไร ไม่ได้สอบก.พ.มาก่อนเลย แต่ผมก็ยังมีความมั่นใจ และเชื่อมั่น และยังคงต้องอ่านหนังสือ ฝึกทำข้อสอบ ดูวีดีโอสอบทำข้อสอบต่อไป และดูเหมือนว่าเวลากำลังไล่หลังผมมากเรื่อยๆ เหมือนผมเริ่มช้าไปรึป่าว? เป็นสิ่งที่ท้าทายและวัดกันตอนทำข้อสอบครับ แล้วไปเจอกันที่สนามสอบครับ นับรบ ก.พ. ทั้งหลาย บรรไดขั้นแรกที่ต้องใช้ทักษะไปมั่วกัน (555+)
…เอาล่ะพอหอมปากหอมคอล่ะ วันนี้ผมขอตัวไปฝึกวิทยายุทธ และวิชามารก่อนล่ะกันครับ แล้วจะมาสรุปหัวข้อต่างๆให้ฟังต่อ ติดตามกันได้ครับใครที่ยังไม่เริ่ม หรือ เพิ่งเริ่ม หรือ แซงผมไปนานแล้วก็ อย่าลืมมาเล่ามาแชร์กันนะครับ