ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “โลจิสติกส์” อยู่ 2 ยุทธศาสตร์ได้แก่ 1. ยุทธศาสตร์การปรับโครง สร้างเศรษฐกิจ ซึ่งให้ความสำคัญกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เช่น เครื่องบิน เรือ รถบรรทุก และรถไฟ 2. ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ซึ่งเป็นแผนรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 (Asean Econo mics Community 2015) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีได้มอบหมายให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำระบบขนส่งเข้าสู่ระบบโลจิสติกส์เต็มรูปแบบ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ใช้บริการขนส่งสินค้า เพราะเมื่อเปิดเสรีประชาคมอาเซียนจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจที่มากขึ้น โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปณท. ได้จัดงานเสวนาเรื่อง “แนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ไทยรองรับ AEC’’ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการขนส่งของ ปณท. ไปสู่การทำบริการโลจิสติกส์ในวันที่เปิดเสรีอาเซียนได้อย่างเหมาะสม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ข้อมูลภาพรวมโลจิสติกส์ในประเทศไทยระหว่างงานเสวนา ว่า เมื่อเปิดเสรีอาเซียนจะพบว่ากลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งไม่ได้มีเพียงประชา กรไทย 65 ล้านคน แต่หมายรวมถึงประชากรในประเทศอาเซียนกว่า 600 ล้านคน และเมื่อเปิดเสรีอาเซียนในปีพ.ศ. 2558 จะทำให้ต่างชาติสามารถเข้ามาถือหุ้นในธุรกิจขนส่งได้ถึง 70% จากปัจจุบันที่เปิดให้ต่างชาติถือหุ้นได้เพียง 50% ดังนั้นไปรษณีย์ไทยต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับแข่งขัน “วันนี้ดัชนีด้านโลจิสติกส์ของประ เทศไทยอยู่ในลำดับที่ 35 และมีต้นทุนการขนส่งอยู่ที่ 15% ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นที่อยู่ในลำดับต้น ๆ โดยแบ่งเป็น 7% มาจากการขนส่ง 7% มาจากการบริหาร และ 1% มาจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งมองว่าประเทศไทยสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ โดยใช้ การขนส่งด้วยรถไฟเนื่องจากต้นทุนการขนส่งด้วยรถไฟปัจจุบันอยู่ที่ 93 สตางค์/ตัน/กิโลเมตร โดยสามารถลดต้นทุนการขนส่งให้เหลือเพียง 70 สตางค์/ตัน/กิโลเมตรได้ จากการทำถนนให้เป็นรางรถไฟมากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนการขนส่งด้วยรถบรรทุกยังสูง อยู่ที่ 1.72 บาท/ตัน/กิโลเมตร ซึ่งตามแผนการดำเนินงานของรัฐบาลวางแผนการลงทุนเรื่องของระบบขนส่งไว้ที่ 2 ล้านล้านบาทในระยะเวลา 10 ปี เป็นแผนการลงทุนที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและทำให้ระบบขนส่งรวดเร็วขึ้น” ดร.ชัชชาติ กล่าว ดร.ชัชชาติ กล่าวต่อว่า ไปรษณีย์ไทยมีจุดแข็งเรื่องของการเชื่อมต่อและนำสินค้าไปส่งถึงมือผู้บริโภคปลายทาง (Last Mind) ซึ่งในการทำระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจรตัวนี้ถือว่ายากที่สุด และเป็นสิ่งที่ไปรษณีย์ไทยนี้ แต่เป็นสิ่งที่บริษัทที่ให้บริการด้านโลจิสติกส์ของต่างชาติซึ่งจะเข้ามาให้บริการในประเทศ ไทยไม่มี ด้าน น.ส. อานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปณท. กล่าวถึงความพร้อมเพื่อรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ว่า ขณะนี้ ปณท. ได้ยกเลิกการตั้งบริษัทลูกของ ปณท. ที่ชื่อ บริษัทสินเชื่อไปรษณีย์ไทย จํากัด แล้ว และอยู่ระหว่างตั้งบริษัทไปรษณีย์ไทย โลจิสติกส์จำกัด โดยจะใช้ทุนจดทะเบียนตั้งบริษัทจำนวน 500 ล้านบาท คาดว่าในสิ้นปีนี้จะแล้วเสร็จ “การที่ ปณท. เปลี่ยนแผนการตั้งบริษัทลูกจากบริษัท สินเชื่อไปรษณีย์ไทย จํากัด เป็น บริษัท ไปรษณีย์ไทย โลจิสติกส์ จำกัด เนื่องจากเป็นการดำเนินธุรกิจในสิ่งที่ไปรษณีย์ไทยมีความถนัด โดยบริษัทดังกล่าวไปรษณีย์ไทยจะถือหุ้น 100% ส่วนงบลงทุนและแผนงานทั้งหมดเมื่อตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการแล้วถึงจะมีความชัดเจนเรื่องเงินทุนต่อไป” น.ส.อานุสรากล่าว ธุรกิจการขนส่ง หรือโลจิสติกส์ เป็นอีกธุรกิจที่น่าจับตามอง เมื่อเปิดเสรีประชาคมอาเซียน 2558. [code] น้ำเพชร จันทา @phetchan [/code]