ฐิติมา บุญสุยา
งานเขียนคือชีวิตของนามปากกา ฐาดา
คิดต่างไม่ผิด
ทำอะไรต่างจากคนอื่นไม่ใช่เรื่องผิด
สิ่งที่ทำกันมาอย่างยาวนานใช่ว่าสิ่งนั้นจะถูกต้องและดีเสมอไป
มันเป็นประโยคที่ถูกใจผู้เขียนตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ยิน
มันก็จริงนะ
บางอย่างถ้าเราลองเปลี่ยนไปทำในสิ่งที่คนอื่นไม่เคยทำบ้างก็ใช่ว่าสิ่งนั้นมันจะไม่ดีเสมอไป
การหลุดออกจากกรอบเดิมๆที่เคยมีคนทำมาตลอด บางทีมันก็ช่วยให้เราได้เห็นมุมมองใหม่ๆ
ได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่คนอื่นคิดไม่ได้ให้เกิดขึ้น
และบางคนยังร่ำรวยจากการที่คิดต่างด้วย
เหมือนความคิดบางอย่างของคนที่มีความสามารถเฉพาะตัว
เช่น คนแต่งเพลง คนร้องเพลงเก่ง
แต่เขาแค่ไม่ชอบเรื่องเรียน งานวิชาการที่ต้องคิดอะไรซับซ้อนแบบนี้
คนพวกนี้เลยไม่ค่อยได้รับการยอมรับในสังคมเพราะหลายคนยังให้ค่ากับคนที่เก่งวิชาการมากกว่าพวกที่ทำอะไรไปวันๆหาหลักหารอยไม่ได้
แต่หากมีใครสามารถปลดล็อกความสามารถของพวกเขาให้เจิดจรัสได้ คนพวกนี้มักจะกลายเป็นมหาเศรษฐีที่เราคาดไม่ถึงเลย เช่นคนดังๆที่เรารู้จักหลายคนในวงการบันเทิง
ส่วนใหญ่คนที่มีความสามารถเฉพาะตัวในแบบที่คนอื่นไม่มี แล้วไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จนั้น มักจะเกิดจากการที่เขาหาหนทางจะไปต่อไม่ได้ หรือไม่มีคนแนะนำคอยสนับสนุนต่างหาก
คนเหล่านั้นจึงต้องทิ้งความฝันและความสามารถไป ด้วยมองว่าสิ่งที่ตัวเองแตกต่างนั้นมันไม่สามารถสร้างรายได้หรืออาชีพที่ดีจากปากของใครที่ว่าเราไม่เหมือนคนอื่น
แต่แท้จริงแล้วเราประสบความสำเร็จจากความต่างนี้ได้เพียงแค่เรายังหาแนวทางต่อไปไม่เจอเท่านั้นเอง
ผู้เขียนจึงรู้สึกเสียดายมาตลอดว่าตัวเองรักในงานเขียน แต่ก็ต้องทิ้งความฝันไปเพราะสมัยนั้นงานเขียนยังไม่ได้ทันสมัยและเข้าถึงได้ง่ายเหมือนสมัยนี้
แม้แต่ในยุคนี้หลายคนก็ยังมองว่ามันเป็นงานที่ไม่มั่นคง เราควรเลือกและทำตามสิ่งที่คนอื่นเขาทำกันมานั่นแหละประสบความสำเร็จที่สุดแล้ว
ไม่เถียงหรอกว่าความคิดบางอย่างของใครหลายคนที่บอกว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้มันก็ดีจริง
แต่เราก็ต้องยอมรับว่าไม่ค่อยจะมีความสุขเลย
พอผ่านชีวิตมาหลายหลากเราจึงได้คิดว่าความคิดบางอย่างหรือการกระทำบางอย่าง
หรืออาชีพบางอาชีพที่คนมองว่ามันดี
มันก็แค่อะไรอะไรที่คนหลายคนยึดปฏิบัติมานานแล้วก็ฝังหัวว่ามันดีแบบนั้นแบบนี้
มันดีค่ะแต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน
และการคิดต่างก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจเพียงแต่เราอย่ายึดมั่นในความคิดของตนจนเกินไป ความต่างที่ดีจะต้องอยู่บนเหตุและผลที่สมควรด้วย
รับมือกับคนที่นิสัยไม่โอเคในที่ทำงาน
รับมือกับคนที่นิสัยไม่โอเคในที่ทำงาน
การมีงานทำมีเงินใช้ทุกเดือนถือว่าเป็นความโชคดีและความหวังสูงสุดในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ และยิ่งมีเพื่อนร่วมงานที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลในที่ทำงานด้วยแล้วก็ยิ่งเป็นความโชคดีเข้าไปใหญ่
แต่ในสังคมของคนทำงานย่อมรวมผู้คนจากหลายที่หลายถิ่น แตกต่างด้วยนิสัยการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดการขัดแย้งทางความคิดกันอยู่บ่อยครั้งด้วยมุมมองที่แตกต่างกันออกไป
แล้วเราจะมีวิธีการจัดการกับเหตุการณ์เหล่านี้อย่างไร เพราะตัวเราคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะเจอกับมันได้
วันนี้เรามีเทคนิคดีดีในการรับมือกับคนในที่ทำงานที่มีนิสัยไม่โอเค เพื่อที่เราจะสามารถทำงานร่วมกับพวกเขาได้โดยที่ไม่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเราลดลงตามไปด้วย
รับมือกับคนที่ชอบโยนความผิด (รู้เขารู้เรา ไม่จำเป็นก็ไม่เข้าใกล้)
อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นว่านิสัยและความคิดของคนเราเกิดจากการเลี้ยงดูและการใช้ชีวิต
เราจึงเห็นได้ชัดว่าเมื่อเจอปัญหาที่คล้ายกัน คนเราจึงมีวิธีการจัดการตามนิสัยที่เราเป็นและเคยชินมากกว่า
เช่น เมื่องานที่ได้รับมอบหมายเกิดความผิดพลาดสำหรับคนที่ผ่านงานมามากมายจะมีสติและคิดหาทางออก
แต่ในทางกลับกันคนที่ไม่เคยรับผิดชอบงานใดใดจะลนลานและมองหาคนที่รับผิดก่อนโดยไม่เคยกล้าที่จะบอกออกไปว่าตัวต้นเหตุของเรื่องผิดพลาดทั้งหมดมาจากตัวเราเอง
เพราะคนเหล่านี้มักเข้าใจว่าคนที่เก่งจะไม่มีข้อผิดพลาดใดใดทั้งสิ้น โดยเขาไม่รู้ว่าคนที่เก่งจริงจะเรียนรู้จากความพลาดของตัวเองแล้วนำมาปรับใช้ คิดหาทางออกเพื่อจะไม่ทำให้ความผิดพลาดนั้นกลับมาเดินรอยเดิม
และเมื่อเรารู้ว่าเพื่อนร่วมงานเราเป็นเช่นนี้
เราก็จงไม่ยุ่งเกี่ยวกับเขา โดยเฉพาะงานที่เราต้องรับผิดชอบทำคนเดียว
แม้ว่าเขาจะเสนอตัวช่วยเหลือแต่โปรดจงจำไว้ว่าหากมีความผิดพลาดใดใดเกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องใหญ่โตเขาก็จะโยนความผิดออกจากตัวแบบมึนๆทันที
แม้ว่างานนั้นเขาจะเป็นคนทำ
แต่แล้วไง
เมื่อหัวหน้างานมอบหมายเธอแล้ว ฉันอาสาช่วย ส่วนจะดีไม่ดีอันนั้นไม่รู้
เพราะฉันจะไม่รับผิด ฉันจะรับชอบเพียงอย่างเดียว
ดังนั้นวิธีรับมือ คือเราควรจัดการงานของเราด้วยตัวเราเองให้เรียบร้อยซะ
และถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องพึ่งพาหรือเชื่อใจคนประเภทนี้ เพราะสุดท้ายเราอาจจะต้องมาเสียความรู้สึกกับเขาจนไม่อยากทำงานด้วย ซึ่งความคิดนี้มันไม่ควรมีและเกิดขึ้น...