นายจัง อูยอล หัวหน้า แผนกพัฒนาแอพพลิเคชั่น บริษัท เอสเค แพลเน็ท มองว่า คนเกาหลี และ คนไทยมีพฤติกรรมการบริโภค และวัฒนธรรมหลายด้านที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับอาหาร นอกจากนี้ ยังมองเห็นจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่กำลังเติบโตอย่างมากในประเทศไทย ปัจจัยเหล่านี้สะท้อนว่าไทย คือ Potential Market หรือ ตลาดที่มีศักยภาพในการตอบรับสินค้าและบริการแอพพลิเคชั่นของ SK planet ที่ดีเยี่ยม ในเอเชีย อาคเนย์ จากการสำรวจตลาด และ มองเห็นภาพของผู้บริโภควัยรุ่นยุคสมาร์ทโฟน ที่ชอบถ่ายรูปอาหาร เอาไว้แชร์กับเพื่อนๆในสังคมออนไลน์ SK Planet จึงปิ้งไอเดียที่จะเพิ่มความสนุกในการรับประทานมากขึ้น ด้วย DishPal แอพพลิเคชั่น ที่จะการเป็นช่องทางเข้าถึงสังคมออนไลน์แห่งใหม่สำหรับผู้ที่รักการกินทั่วโลก ให้เป็นพื่นที่ ที่สามารถแลกเปลี่ยนรูปภาพ และ ความคิดเห็น เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม ในทุกๆมื้อ และ สร้างเพื่อนใหม่ที่มีความสนใจเดียวกัน ในการที่จะเข้ามาเจาะตลาดผู้บริโภคแดนต้มยำกุ้งนั้น แอพพลิเคชั่นจากแดนกิมจิ ตระหนักถึงความท้าทายด้านเทคโนโลยีสื่อสารในบ้านเรา เนื่องจากความเร็วอินเตอร์เน็ต และบริการ 3G ที่ช้ากว่าหลายๆประเ ทศ แต่ SK คาดว่าปัญหานี้จะหมดไป เมื่อการแข่งขันในตลาด ผลักดันให้ผู้ประกอบโทรคมนาคมไทยพัฒนาโครงข่ายและบริการ 3G เพราะอย่างที่ประเทศเกาหลีใต้ ถ้าย้อนไปดูเมื่อปี 2002 หลังจากมีการประมูลใบอนุญาต 3G ระหว่าง 3 ผู้ประกอบการ SK telecom, KT&T และ LG telecom เทคโนโลยีสื่อสารก็พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนวันนี้บริการของ ผู้ประกอบการทั้งสามราย ครอบคลุมแผ่นดินเกาหลี 100% เป็นผลมาจากการแข่งขันพัฒนาบริการเพื่อแย่งชิงลูกค้า แม้ว่าทางการ จะไม่ได้กำหนดเงื่อนไขนี้ไว้ก็ตาม อีกทั้งชาวเกาหลีก็ได้มีโอกาสเลือกใช้บริการ 4G มาเกือบ 1 ปีแล้ว นอกจากในไทยแล้ว SK planet ก็ตั้งใจที่จะขยายฐานผู้ใช้ในเอเชียอาคเนย์อย่างจริงจัง ด้วยการตั้งสำนักงานใน ประเทศสิงคโปร์ ด้วย แอพพลิเคชั่น DishPal ถือได้ว่าเป็นธงรบสำคัญของ SK Planet ในการบุกตลาดแอพพลิเคชั่นนอกบ้าน DishPal จะถูกใจชาวไทย และผู้ใช้สมาร์ทโฟนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เหมือนอย่างความนิยมอาหารเกาหลี หรือ เค ป๊อป หรือไม่ นี่เป็นความเคลื่อนไหวที่ตลาดแอพพลิเคชั่นจะละสายตาไม่ได้