ในช่วงสามปีที่ผ่านมาเราถูกทำให้เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างสามารถแพร่กระจาย ได้เหมือนโรคติดต่อ เพื่อนของคุณมีอิทธิพลกับคุณในหลายๆ ทาง แต่เมื่อคุณลองคลายปมพวกนี้ออกดูแล้ว คุณก็จะพบว่าเพื่อนคุณมีอิทธิพลกับคุณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ได้ยินกันหนาหูเหลือเกินว่ามหาอำนาจเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้งาน มากกว่า 800 ล้านคนอย่าง Facebook นั้นทรงอิทธิพลที่สุดในช่วงเวลานี้ เพราะมันเป็นช่องทางการสื่อสารและแชร์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ล่าสุดบทความจากเว็บไซต์ LiveScience อาจจะทำให้คุณต้องเปลี่ยนความคิดดังกล่าวไปอย่างสิ้นเชิง
จากบทความ Why Most Cultural Tastes Don’t Spread on Facebook ในเว็บไซต์ LiveScience ได้รายงานผลการวิจัยถึงประเด็นดังกล่าวว่าจริงๆ แล้วไอ้การกด Like หรือ Add Friend บุคคลสาธารณะโดยเฉพาะพวกวงดนตรีอินดี้ที่เราเก็งไว้ว่าจะดังแต่ตอนนี้ยังไม่ ดัง เพราะยิ่งมีคนกด Like พวกเขาเหล่านี้ คุณก็จะยิ่งรู้สึกเห่อเขาเหล่านี้น้อยลงจนกระทั่งไม่ค่อยรู้สึกเฉยๆ ไปเลยก็ได้ (ในส่วนนี้ขอเดาว่าอารมณ์ประมาณว่าพอมีคนแห่แหนกันให้ความสนใจสิ่งที่เราชอบ มากเท่าไหร่ ความพิเศษที่เราเคยเป็นคนใกล้ชิดกับสิ่งเหล่านั้นก็จะยิ่งลดน้อยลงตามลำดับ)
เควิน ลูอิซ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อธิบายว่า การเข้าไปกด Like วงดนตรีอินดี้นั้นไม่ใช่แค่การแสดงออกถึงความชื่นชอบในวงดนตรีเหล่านั้น แต่มันยังเป็นการแสดงออกถึงความเหนือกว่าที่เราสามารถเข้าไป Like ได้ก่อนคนอื่น
“นักศึกษาพวกนี้รู้สึกว่าการกด Like วงดนตรีอินดี้ที่คนยังไม่ค่อยสนใจนั้น มันทำให้เขาโดดเด่นหรือแตกต่างจากคนอื่น ฉะนั้นถ้ามีใครมากด Like เพจนี้ด้วยก็จะทำให้เขารู้สึกว่าเขากลายเป็นเหมือนคนอื่นๆ”
ในทางกลับกันกรณีที่ยังเป็นเรื่องดนตรี ถ้าเราเปลี่ยนเป็นดนตรีคลาสสิกแทน เราจะพบว่าผลจะออกมาอีกอย่างหนึ่ง คือดนตรีคลาสสิคนั้นจะมีการแพร่กระจายในหมู่เพื่อนฝูงได้ดี ซึ่งถ้าหากสังเกตดีๆ แล้วก็จะพบว่าเอาเข้าจริงๆ ตัวรสนิยมนั้นๆ มันไม่ได้แพร่กระจายไปในหมู่เพื่อนๆ สักเท่าไหร่ แต่ว่าเป็นตัวคนเล่น Facebook เองต่างหากที่ส่วนใหญ่จะค้นหาเพื่อนที่มีรสนิยมใกล้เคียงกัน
สิ่งที่สามารถยืนยันถึงเรื่องนี้ได้มาจากผลการวิจัยที่ทำการสำรวจการใช้งาน Facebook ของนักศึกษาประมาณ 200 คน ตลอดช่วงเวลาสี่ปีที่พวกเขาศึกษาอยู่ โดยมีการจำแนกข้อมูลคนที่พวกเขาเลือก Add Friend ด้วย เป็นราย รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่พวกเขากด Like ไม่ว่าจะเป็นดนตรีที่ฟัง ภาพยนตร์ที่ดู หรือหนังสือที่อ่าน โดยข้อมูลทั้งหมดนี้จะนำมาประมวลรวมกับ ประวัติการศึกษาและที่อยู่อาศัยของพวกเขา ซึ่งผลจากการวิจัยครั้งนี้น่าจะตอบคำถามข้างต้นของเราได้ว่า Facebook นั้นทรงอิทธิพลถึงขั้นเปลี่ยนความสนใจของคนได้ หรือเพียงแค่เอื้อให้คนที่ชอบอะไรคล้าย ๆ กันมาเจอกันเท่านั้น
ผลที่ได้จากการวิจัยพบว่านักศึกษาที่มีรสนิยมทางดนตรีและภาพยนตร์ส่วนหนึ่ง เหมือนกัน จะมีโอกาสเป็นเพื่อนกันมากกว่า โดยแทนที่รสนิยมจะเผยแพร่ผ่านเพื่อนอีกคนไปยังอีกคน นักศึกษาจะเป็นฝ่ายขอเป็นเพื่อนกับคนที่มีรสนิยมดนตรีเหมือนกัน เช่นถ้าคุณชอบดนตรีแนวร๊อคคุณก็จะเลือก Add Friend คนที่เป็นขาร๊อคได้ง่ายกว่า
เควิน ลูอิซ เสริมว่า นักศึกษาที่มีรสนิยมทางดนตรีหรือภาพยนตร์เหมือนกันในบางด้านจะมีโอกาสเป็น เพื่อนกันมากกว่า (ในกรณีของหนังสือนั้นไม่พบว่ามีอิทธิพลต่อโอกาสในการเป็นเพื่อนกัน) อย่างไรก็ตามมีเพียงไม่กี่กรณีเท่านั้นที่นักศึกษารับเอาความชื่นชอบของ เพื่อนและทำให้หันไปสนใจสิ่งใหม่ๆ
“ในช่วงสามปีที่ผ่านมาเราถูกทำให้เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างสามารถ แพร่กระจายได้เหมือนโรคติดต่อ เพื่อนของคุณมีอิทธิพลกับคุณในหลายๆ ทาง แต่เมื่อคุณลองคลายปมพวกนี้ออกดูแล้ว คุณก็จะพบว่าเพื่อนคุณมีอิทธิพลกับคุณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น”
นอกจากนี้ความเหมือนกันในด้านอื่นยังมีอิทธิพลต่อการเลือกเป็นเพื่อนใน เฟซบุ๊กด้วยเช่นกัน เช่น ที่อยู่อาศัย วิชาเอก และกลุ่มเพื่อน ความเหมือนกันเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากในการที่นักศึกษาสองคนจะเป็นเพื่อน และยังคงความเป็นเพื่อนกันบน Facebook ไปตลอด 4 ปี
การวิจัยครั้งนี้สนับสนุนงานวิจัยชิ้นก่อนๆ ที่แสดงให้ว่าการเป็นเพื่อนกันในโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นมาจากความคล้ายคลึง กันในด้านความชอบและภูมิหลัง และผู้คนจะเลือกเป็นเพื่อนกับคนที่คล้ายกับพวกเขาแทนที่จะสร้างความคุ้นเคย ให้มากขึ้นกับคนที่เป็นเพื่อนกับเขาอยู่แล้ว