โดรนมีหลายชนิด หากเป็นโดรนแบบใบพัด การบินขึ้นลงในแนวดิ่งคงไม่ใช่ปัญหาอะไร แต่หากเป็นโดรนแบบปีกตรึง (Fixed-Wing Drone) การจะบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้จำเป็นต้องอาศัยรันเวย์ ซึ่งนี่ถือเป็นจุดอ่อนสำคัญของการใช้งานโดรนชนิดนี้ แต่เพื่อเป็นการกำจัดจุดอ่อน บริษัทด้านการบินชื่อดังของสหรัฐฯ ได้นำเสนออุปกรณ์ตัวใหม่ที่มันจะช่วยให้โดรนแบบปีกตรึงสามารถบินขึ้นลงในแนวดิ่งได้อย่างง่ายดาย ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร มาติดตามอ่านกันเลย
สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ดังนี้
- ล่าสุด Insitu บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านโดรนในเครือ Boeing ได้เปิดตัวเทคโนโลยีเสริมที่เปลี่ยนให้โดรนแบบปีกตรึง (Fixed-Wing Drones) ให้กลายเป็นโดรนแบบขึ้นลงในแนวดิ่ง (VTOL: Vertical Take-Off and Landing) ได้สำเร็จ
-
เทคโนโลยีตัวนี้มีชื่อว่า FLARES ซึ่งมันจะทำให้โดรนแบบปีกตรึงสามารถรองรับการบินในพื้นที่จำกัดและใช้พื้นที่ในการลงจอดน้อยซึ่งรองรับการทำภารกิจหลากหลายรูปแบบ
-
FLARES: Flying Launch and Recovery System หรือระบบการบินแบบปล่อยตัวและเก็บกู้ หมายถึงระบบที่ใช้อุปกรณ์เสริมยึดติดกับโดรนปกติที่เป็นแบบปีกตรึงเพื่อทำการขึ้นบินในแนวดิ่ง จากนั้นระบบจะปล่อยโดรนปีกตรึงกลางอากาศให้ทำการบินในแนวราบตามปกติ ตัวอุปกรณ์เสริมก็จะกลับมาลงจอดที่ลานบินอีกครั้งเพื่อรอการช่วยขึ้นบินให้กับโดรนลำถัดไป
-
FLARES ได้ถูกนำมาติดตั้งกับโดรน ScanEagle 2 เป็นตัวเลือกแรก โดย ScanEgle 2 เป็นอากาศยานไร้คนขับ (UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ที่รองรับการบินมากกว่า 16 ชั่วโมง ด้วยความเร็วสูงสุด 60 นอต หรือประมาณ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บรรทุกสิ่งของได้มากถึง 18 กิโลกรัม ในขณะที่ส่วนอุปกรณ์เสริมจะบินได้เร็วสุด 30 นอต หรือประมาณ 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถทนลมแรงและสภาพกัดกร่อนของทะเลได้เป็นอย่างดี
และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงการบินที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบถูกใจคอเทคโนโลยีการบินทุกคน และหากมีข่าวคืบหน้าประการใดเกี่ยวกับเทคโนโลยีตัวนี้อีก เราจะรีบมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครทันที