ผลของการพัฒนาดังกล่าวจะทำให้เสิร์ชเอ็นจิ้นของกูเกิ้ลได้รับสิทธิ์ในการเข้าไปสำรวจข้อมูลที่อยู่ในบัญชีผู้ใช้จีเมล์ เพื่อนำข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาผูกเข้ากับผลลัพธ์เสิร์ช ตัวอย่างเช่น สมมติคำที่คุณเสิร์ชมีคำว่า “Apple” ผลลัพธ์ที่ปรากฎขึ้นมา ก็อาจจะมีอีเมล์นิวสเล็ตเตอร์หลายๆ ฉบับของ Apple ที่ส่งมาให้คุณได้ หรือแม้แต่อีเมล์แจ้งการส่งผลิตภัณฑ์ หากคุณได้สั่งซื้อสินค้าจากแอปเปิ้ลผ่านทางเว็บไซต์ เป็นต้น โดยผลลัพธ์ที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลจากจีเมล์จะแสดงขึ้นมาด้านขวาถัดจากพื้นที่แสดงผลลัพธ์หลักทีอยู่ตรงกลาง และในบางกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วน ผลลัพธ์การค้นที่เจาะเข้าไปในอินบ๊อกซ์ของจีเมล์ของคุณก็อาจจะโผล่ที่ด้านบนสุดของหน้าผลลัพธ์พร้อมทั้งไฮไลท์คำตอบที่ได้จากอีเมล์ด้วย เช่น หากคุณเสิร์ขคำว่า “my flight” กูเกิ้ลจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเที่ยวบินที่แน่นอน ซึ่งดึงมาจากจีเมล์ของคุณ ซึ่งรวมถึงการค้นหาผลลัพธ์ที่คล้่ายๆ กันนี้เช่น การเสิร์ชเกี่ยวกับการสั่งจองที่นั่งในภัตตาคาร หรือตั๋วคอนเสิร์ทผ่านทางออนไลน์ งานนี้ไม่ใช่แค่กูเกิ้ลจะเข้าไปสแกนจีเมล์ เพื่อหาคีย์เวิร์ดมาเชื่อมกับโฆษณาในเว็บของตนเท่านั้น แต่มันยังทำอินเด็กซ์ของเมล์ทุกฉบับในจีเมล์อีกด้วย แม้กูเกิ้ลจะเป็นผู้นำทางด้านเสิร์ชเอ็นจิ้นของโลก แต่ก็ยังคงมีเรื่องกังวลเกียวกับหอกข้างแคร่อย่างบริการโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก เนื่องจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ทำให้การแชร์ข้อมูลข่าวสารทำได้ง่ายกว่า และทำให้เว็บพวกนี้เริ่มที่จะดึงผู้คนเข้าไปใช้บริการได้มากขึ้นเรื่อยๆ แทนการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด และลิงค์ต่างๆ ในเสิร์ชเอ็นจิ้นของกูเกิ้ล ด้วยเหตุนี้เอง กูเกิ้ลจึงต้องพยายามที่จะปรับปรุงบริการด้วยการสร้างบริการที่มีความเป็นส่วนตัวกับผู้ใช้มากขึ้น และนำบริการเหล่านี้เชื่อมต่อเข้ากับท่อใหญ่อย่างเสิร์ชเอ็นจิ้น การผสานข้อมูลในอีเมล์เข้าไปในผลลัพธ์เสิร์ชอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้กูเกิ้ลในเรื่องของความเป็นส่วนตัว กูเกิ้ลหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวด้วยการแสดงผลลัพธ์ส่วนตัวจากจีเมล์ของผู้ใช้ในหน้าผลลัพธ์ในลักษณะของแท็บที่ต้องคลิก เพื่อเปิดออกมาดูรายละเอียดได้ แทนที่จะโชว์หราขึ้นมาให้เห็นทันที นอกจากนี้ผู้ใช้จะเห็นข้อมูลนี้ได้จะต้องลงทะเบียนก่อนด้วย อย่างไรก็ตาม กูเกิ้ลพยายามเชื่อมบริการจีเมล์เข้ากับเสิร์ชอย่างระมัดระวังเป็นที่สุด เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดปัญหาเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดยคุณสมบัติใหม่จะเริ่มให้กับผู้ใช้ทีสนใจแค่ 1 ล้านรายก่อน ซึ่งจะต้องเข้าไปลงทะเบียนยินยอมให้เกิดการเชื่อมบริการที่ http://g.co/searchtrial เทียบกับจำนวนผู้ใช้จีเมล์ทั้งหมด 425 ล้านราย (ตลอด 8 ปีทีผ่่านมา) ถือว่าเป็นกลุ่มทดลองใช้งานที่เล็กมาก หลังจากได้ฟีดแบ็คการใช้งานจากผู้ใช้กลุ่มนี้ กูเกิ้ลหวังว่า จะมีโอกาสได้ให้บริการจีเมล์ลักษณะนี้กับผู้ใช้บริการที่เหลือทั้งหมด ซึ่งนั่นหมายความว่า ผู้ใช้จีเมล์หลายร้อยล้านรายจะยินยอมให้ข้อมูลของตนเข้าไปอยู่ในหน้าผลลัพธ์การเสิร์ชของกูเกิ้ล นอกจากนี้ กูเกิ้ลยังพยายามที่จะแสดงข้อมูลจากบริการอีเมล์ของผู้ให้บริการรายอื่นๆ ด้วย ทางด้านคู่แข่งอย่างไมโครซอฟท์กล่าวว่า ทางบริษัทไม่มีนโยบายที่จะเปิดให้ข้อมูลในบริการเว็บเมล์ของตนเข้าไปอยู่ในเสิร์ชของกูเกิ้ล ในขณะที่ยาฮูไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อเรื่องนี้ แต่ผมได้ยินครั้งแรกแล้วมันดูน่ากลัวไปไหม? ถ้าคนอื่นค้นๆ แล้วดันเข้าไป Gmail ของเราได้นี่ปัญหาใหญ่เลยนะเนี้ย.. งานเข้า!!