จับตาการปิดตัวลงของ “โกวาลลา (Gowalla)” แอปพลิเคชันเช็คอินสถานที่ซึ่งคนไทยหลายคนนิยมใช้งานในช่วงปีที่ผ่านมา นี่คือสัญญาณที่แสดงว่าการควบรวมกิจการโกวาลลากับเฟซบุ๊ก (Facebook) นั้นเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว เท่ากับคุณสมบัติมากมายกำลังถูกเสริมเติมให้เฟซบุ๊กกลายเป็นแหล่งที่เก็บ ข้อมูลกิจกรรมประจำวันของผู้ใช้ได้อย่างละเอียดกว่าเดิม เรียกว่าการบอกลาของโกวาลลาที่เกิดขึ้นเป็นการทิ้งชื่อโกวาลลาให้เป็นอดีต เท่านั้น ก่อนจะกลับมาเกิดใหม่ในฐานะส่วนหนึ่งของเฟซบุ๊กชนิดรวมกันเป็นเนื้อเดียว โกวาลลานั้นเป็นบริการที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์พกพาสามารถ “เช็คอิน” หรือคลิกแสดงตัวว่ากำลังอยู่ในสถานที่ใดเพื่อแบ่งปันให้เพื่อนในเครือข่าย ทราบ ซึ่งสามารถต่อยอดด้านการตลาดได้อย่างหลากหลาย โกวาลลาเคยเป็นคู่แข่งของบริการสไตล์เดียวกันอย่างโฟร์สแควร์ (Foursquare) ก่อนจะถูกเฟซบุ๊ก เครือข่ายสังคมยอดฮิตเสนอซื้อกิจการเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ล่าสุดโกวาลลาประกาศปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยประกาศขอบคุณผู้ใช้บริการไว้บนหน้าเว็บไซต์ “ขอบคุณสำหรับการออกเดินทางไปพร้อมกับโกวาลลา เรายินดีมากที่ได้ร่วมเดินทางไปทั่วโลกพร้อมกับคุณ” ตามเนื้อความในประกาศระบุ ก่อนจะเชิญให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดรายการเช็คอิน ภาพ และรายละเอียดอื่นๆไปก่อนที่เว็บจะปิดบริการ การปิดบริการโกวาลลานั้นเกิดขึ้นหลังจากการตกลงขายกิจการในเฟซบุ๊ กราว 3 เดือน หลังจากบริษัทก่อตั้งนาน 5 ปี เพื่อแลกกับหุ้นเฟซบุ๊กมูลค่า 3 ล้านเหรียญ (ตามรายงานของสำนักข่าว ZdNet.com) ในช่วงที่มีรายงานข่าวว่าเฟซบุ๊กบรรลุข้อตกลงและเข้าซื้อกิจการโกวาลลาเมื่อ เดือนธันวาคมที่ผ่านมานั้นมีเสียงวิจารณ์หนาหูว่า เฟซบุ๊กไม่ได้ตัดสินใจซื้อกิจการโกวาลลาเพราะอยากฮุบบริการหรือฐานผู้ใช้ แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงคือทีมนักพัฒนาเบื้องหลังโกวาลลาที่จะสามารถเสริม แกร่งให้เฟซบุ๊ก จอช วิลเลียมส์ (Josh Williams) อดีตซีอีโอโกวาลลาไม่แก้ต่างในเรื่องนี้ แต่เล่าถึงต้นเหตุการซื้อกิจการครั้งนี้ว่าเป็นเพราะการเข้าร่วมงานประชุม F8 ซึ่งเฟซบุ๊กเปิดตัวคุณสมบัติไทม์ไลน์ โดยจอชและสก็อตต์ เรย์มอนด์ส (Scott Raymonds) ผู้ร่วมก่อตั้งโกวาลลาได้รับการติดต่อเพื่อยื่นข้อเสนอขอซื้อกิจการหลังจบ งานดังกล่าว ก่อนหน้านี้ จอชเคยให้สัมภาษณ์ว่าหลังจากจบขั้นตอนการควบรวมกิจการ เขาและทีมงานโกวาลลาได้ร่วมกันพัฒนาชุดคำสั่ง (API) ที่นักพัฒนาแอปพลิเคชันจะสามารถรวมกิจกรรมในเฟซบุ๊กเข้ากับพิกัดสถานที่ (location) ได้อย่างเสรี โดยหนึ่งในแผนการเติบโตที่โกวาลลาจะช่วยเสริมแกร่งให้เฟซบุ๊กนั้นจะเน้น เรื่องการทำให้ไทม์ไลน์ (Timeline) หรือเพจประวัติกิจกรรมตามลำดับเวลาของผู้ใช้เฟซบุ๊กนั้นมีรายละเอียดมากขึ้น ผลของ API ที่อดีตทีมโกวาลลาพัฒนาขึ้นนั้นกิจกรรมบนเฟซบุ๊กทั้งการอัปเดทสถานะ (status update), การแชร์ภาพและวิดีโอ (photo and video-sharing), การติดป้ายชื่อเพื่อน (friend-tagging) และการเช็คอิน (check in) จะปรากฏในแอปพลิเคชันอื่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ไม่ได้ใช้แอปพลิเคชันนั้นสามารถเห็นกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชันนั้นได้อย่างสบาย ซึ่งเป็นช่วยเพิ่มโอกาสให้นักพัฒนามีโอกาสประชาสัมพันธ์แอปพลิเคชันมากขึ้น ขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กจะยิ่งผูกติดกับเครือข่ายมากกว่าเดิม นอกจากนี้ อดีตทีมโกวาลลาจะช่วยให้เฟซบุ๊กสามารถพัฒนาบริการบอกเล่าเนื้อหาและ ประสบการณ์ในการเดินทางในไทม์ไลน์ของเฟซบุ๊กได้ดีขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยผูกติดให้ผู้ใช้และเครือข่ายใช้งานเพจดังกล่าวได้นานขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจโฆษณาออนไลน์ของเฟซบุ๊กเป็นลูกโซ่ การปิดบริการโกวาลลาที่เกิดขึ้นนั้นล่าช้ากว่ากำหนดการเดิมที่วางไว้ เดือนมกราคม แต่ก็เป็นไปตามความคาดหมายเพราะจากประวัติศาสตร์การซื้อกิจการของเฟซบุ๊กที่ ผ่านมา บริการที่ถูกซื้อมักจะถูกทิ้งไปแล้วดึงทีมพัฒนามารวมอยู่ใต้ชายคาเฟซบุ๊ก โดยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดของผู้ใช้โกวาลลา จะไม่ถูกเฟซบุ๊กนำมาใช้งานใดๆ ผลจากการปิดบริการครั้งนี้จะสะท้อนถึงอนาคตของบริการคู่แข่งของโกวาล ลาอย่างโฟรสแควร์ บริษัทด้านการเช็คอินดันดับ 1 ที่มียอดการเช็คอินแล้วกว่า 1,500 ล้านครั้งจะต้องดิ้นรนขยายฐานธุรกิจอย่างหนักกว่าเดิมหลังจากสามารถหาลูกค้า ร้านค้ามาลงโฆษณาได้มากกว่า 250,000 รายทั่วโลก เพราะไม่ใช่เรื่องเล่นๆแน่ หากยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊กจะขยับลงมาเล่นในตลาดบริการเช็คอินด้วยตนเอง พร้อมกับฐานผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนซึ่งอาจทำให้รายได้ในธุรกิจนี้ไหลไปอยู่กับเฟซบุ๊กได้ในพริบตา Company Related Link : Gowalla