สวัสดีนักธุรกิจรุ่นใหม่ทุกคน วันนี้เราจะขอพาคุณมาทำความรู้จักกับเศรษฐีรวยสุด ในสวิตเซอร์แลนด์ เพิ่งเริ่มธุรกิจได้แค่ 10 ปี เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจกันหน่อย ใครสนใจก็ตามมาดูรายละเอียดที่ด้านล่างนี้เลย
เรื่องราวที่น่าสนใจของชายที่รวยที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์
- 810,000 ล้านบาท” คือมูลค่าทรัพย์สินของคนที่รวยที่สุดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งหากพูดถึงคนที่รวยที่สุดของประเทศสวิตเซอร์แลนด์แล้ว หลายคนอาจคิดว่าต้องเป็นเจ้าของธุรกิจยาหรือนาฬิกาหรู ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศแห่งนี้
- เศรษฐีชาวสวิสคนปัจจุบัน ไม่ได้ร่ำรวยจากทั้ง 2 ธุรกิจที่กล่าวมาเลยแต่เขามีทรัพย์สินมาจากการก่อตั้งสตาร์ตอัปฟินเทค ที่เพิ่งก่อตั้งได้เพียง 10 ปี แต่วันนี้บริษัทถูกประเมินมูลค่าไว้มากถึง 1,400,000 ล้านบาท เศรษฐีรวยสุดในสวิตเซอร์แลนด์ คือใคร แล้วเขาก่อตั้งสตาร์ตอัปฟินเทค อะไรขึ้นมา ?
- เรื่องราวทั้งหมดนี้เริ่มต้นมาจากคนที่มีชื่อว่าคุณ “Guillaume Pousaz”
- คุณ Guillaume Pousaz หรือคุณ Pousaz เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1981 ปัจจุบันอายุ 41 ปี ตั้งแต่เด็กคุณ Pousaz เป็นคนที่หลงใหลใน 2 เรื่องด้วยกัน นั่นคือเรื่องตัวเลข และการเขียนโปรแกรม
- แม้ในตอนแรกคุณ Pousaz จะเลือกเรียนสาขาวิศวกรรมคณิตศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี แต่อาชีพที่เขาใฝ่ฝันมาตลอดคือ วาณิชธนกิจ หรือก็คืออาชีพที่ต้องข้องเกี่ยวกับการระดมเงินทุน การซื้อขายหลักทรัพย์ ไปจนถึงการทำดีลควบรวมกิจการ
- ภายหลังจากจบการศึกษาจาก École Polytechnique Fédérale De Lausanne เขาเลือกที่จะเข้าเรียนต่อที่ HEC Lausanne ในสาขาเศรษฐศาสตร์ทันที
- ซึ่งก็ต้องบอกว่าการที่คุณ Pousaz เลือกเรียนต่อในทันทีนั้น เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะว่าในช่วงปีสุดท้ายของการเรียน เขาได้รับข้อเสนองานวาณิชธนกิจจาก Citibank ในลอนดอน อย่างไรก็ตามคุณ Pousaz กลับไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบสุดท้าย เขาจึงผิดหวังเป็นอย่างมาก
- ซึ่งก็มากจนถึงขนาดที่เขาตัดสินใจหยุดเรียนไปเลย และก็ได้ย้ายออกจากสวิตเซอร์แลนด์ มาอยู่ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ใครจะรู้ว่าจากความผิดหวังในครั้งนี้นี่เองที่ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขา กลายเป็นคนที่รวยที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์
- 4 เดือนหลังจากที่คุณ Pousaz ได้ออกจากมหาวิทยาลัย เขาได้เริ่มงานที่บริษัท International Payments Consultants หรือ IPCซึ่งเป็นบริษัทที่มีธุรกิจเกี่ยวกับการรับชำระเงิน
- หลังจากทำงานที่ IPC ได้เพียง 1 ปี เขาก็ได้ตัดสินใจลาออก เพื่อมาเริ่มต้นทำธุรกิจเป็นของตัวเองนั่นคือการก่อตั้งบริษัทสตาร์ตอัปที่ชื่อ “NetMerchant” ร่วมกับหัวหน้าฝ่ายขายจากที่ทำงานเก่า
- โดย NetMerchant เป็นแพลตฟอร์มที่จะเข้ามาช่วยจัดการให้ร้านค้าในสหรัฐอเมริกา สามารถรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการด้วยสกุลเงินจากประเทศในโซนยุโรปได้
- แต่หลังจากดำเนินธุรกิจไปได้ไม่นาน ก็เริ่มเกิดปัญหาตามมาเมื่อรายได้ของบริษัทเริ่มเติบโตมากขึ้น
ทำไมการที่บริษัทเติบโตได้ดี จึงกลายมาเป็นปัญหา ?
- แน่นอนว่าคุณ Pousaz ที่ตั้งใจทำธุรกิจมาตั้งแต่แรก ต้องการนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นของบริษัท ไปลงทุนต่อยอดให้กิจการมีการเติบโตมากขึ้นอีกแต่ผู้ร่วมก่อตั้ง หรืออดีตหัวหน้าฝ่ายขายไม่ได้คิดแบบนั้น เขาคิดว่าให้ธุรกิจเติบโตไปแบบนี้ก็พอ แล้วไม่ต้องลงทุนเพิ่ม
- เขาต้องการนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นของบริษัท มาจ่ายเป็นเงินเดือนของตัวเอง เพื่อที่จะสามารถซื้อรถหรูและบ้านหลังใหม่ด้วยแนวทางที่ต่างกันนี้เอง ทำให้บริษัท NetMerchant มาถึงทางแยก
จนบทสรุปสุดท้ายคือการปิดตัวลงในปี 2009
- จากปัญหาในครั้งนั้น ทำให้ในเวลาต่อมาคุณ Pousaz เลือกที่จะก่อตั้งบริษัทด้วยตัวเองในปีเดียวกันนั้น เขาได้ทำการก่อตั้งบริษัท Opus Payments ขึ้นในสิงคโปร์ โดย Opus Payments เป็นเหมือนโครงสร้างระบบรับชำระเงินออนไลน์ที่เข้ามาช่วยจัดการให้ร้านค้าในฮ่องกง สามารถรับชำระเงินจากลูกค้าทั่วโลกได้
จุดเปลี่ยนที่สำคัญของ Opus Payments เกิดขึ้นในปี 2011
- เมื่อบริษัทสามารถดีลเป็นพาร์ตเนอร์กับ DealeXtreme ซึ่งเป็นเว็บไซต์จากจีน ที่ทำการขายอุปกรณ์เทคโนโลยีไปทั่วโลกจากการได้เป็นพาร์ตเนอร์กับ DealeXtreme ทำให้บริษัทเริ่มมีขนาดใหญ่มากพอ จนถึงจุดที่สามารถทำกำไรได้
- ถัดจากนั้นเพียง 1 ปี บริษัทก็ได้ทำการรีแบรนด์จาก Opus Payments เป็น Checkoutจากนั้นไม่นาน บริษัทก็ได้เริ่มใช้กลยุทธ์จับมือเป็นพันธมิตร
กับเหล่าบริษัทที่มีบริการเกี่ยวข้องกับการชำระเงิน ยกตัวอย่างเช่น
- เข้าเป็นสมาชิกหลักของบริษัทบัตรเครดิตยักษ์ใหญ่อย่าง Visa และ Mastercard
-
จับมือเป็นพาร์ตเนอร์กับ แอปพลิเคชันชำระเงินของคนจีนอย่าง Alipay
-
จับมือเป็นพาร์ตเนอร์กับ WeChat แอปพลิเคชันแช็ตยอดนิยมของจีน ที่มีบริการ WeChat Pay สำหรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจยังคงสงสัยว่า โมเดลธุรกิจของ Checkout เป็นอย่างไร ? อธิบายง่าย ๆ คือ Checkout เปรียบเสมือนโครงสร้างระบบการรับชำระเงินออนไลน์
โดยหน้าที่หลักของ Checkout คือ การเข้ามาช่วยจัดการให้บริษัทและร้านค้า สามารถรับชำระเงินจากลูกค้าที่มีการชำระเงินในรูปแบบที่แตกต่างกันได้ครอบคลุมมากขึ้น
ทั้งนี้ ระบบของ Checkout สามารถรองรับการชำระเงินได้มากถึง 25 วิธี และรองรับสกุลเงินกว่า 150 สกุลเงิน จากสกุลเงินทั่วโลกซึ่งมีทั้งหมด 180 สกุลเงิน
หมายความว่าธุรกิจที่เลือกใช้ระบบของ Checkout จะไม่ต้องกังวลเลยว่า ลูกค้าจะเป็นใคร มาจากประเทศไหน และใช้สกุลเงินอะไรจ่าย เพราะระบบรับชำระเงินของบริษัทครอบคลุมแทบจะทุกวิธีการชำระเงินในโลก
นอกเหนือจากเรื่องการรับชำระเงินแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ตัวอื่นเพิ่มเติมอีกด้วย เช่น
- สามารถดูข้อมูลรายได้ของร้านค้า ว่ามาจากการชำระเงินของลูกค้าด้วยวิธีใดบ้าง
-
มีเครื่องมือช่วยตรวจจับธุรกรรม ที่มีความผิดปกติแบบเรียลไทม์
คำถามต่อมาคือ แล้วรายได้ของ Checkout มาจากไหน ?
คำตอบคือ มาจากค่าธรรมเนียมโดยทุก ๆ ธุรกรรมที่เกิดขึ้น Checkout จะทำการหักค่าธรรมเนียมบางส่วน ซึ่งค่าธรรมเนียมจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับการชำระเงินในแต่ละรูปแบบ เช่น
- ค่าธรรมเนียม 0.95% ของธุรกรรม บวกกับ 0.2 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับบัตรเครดิตจากยุโรป
-
ค่าธรรมเนียม 2.9% ของธุรกรรม บวกกับ 0.2 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับบัตรเครดิตอื่น ๆ
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัทเพิ่งสามารถระดมทุนในรอบ Series D ได้อีก 35,000 ล้านบาททำให้ปัจจุบันบริษัท Checkout ถูกประเมินมูลค่าไว้มากถึง 1,400,000 ล้านบาท
มูลค่าระดับนี้ นับว่าใหญ่กว่าทุกบริษัทในตลาดหุ้นประเทศไทย และ Checkout ก็ได้กลายมาเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 7 ของโลก และมากที่สุดของสหราชอาณาจักร ที่ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งของสำนักงานใหญ่
ส่งผลให้คนที่อยู่เบื้องหลังเรื่องราวนี้อย่างคุณ Guillaume Pousaz กลายเป็นคนที่รวยที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยมูลค่าทรัพย์สินกว่า 810,000 ล้านบาท
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพราะคุณ Pousaz โชคดี ไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์จึงสามารถร่ำรวยได้แต่รู้หรือไม่ว่า ในวันที่เขาตัดสินใจหยุดเรียน แล้วย้ายมาที่สหรัฐอเมริกา เขามีเงินติดตัวเพียง 530,000 บาทโดยเราสามารถนำเรื่องราวของคุณ Pousaz มาเป็นกรณีศึกษาได้หลายเรื่องเริ่มตั้งแต่การก่อตั้งธุรกิจร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น ที่เมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจ จนบริษัทมีรายได้เติบโตหากเราไม่พูดคุยหรือตกลงกันตั้งแต่แรก ว่าหากธุรกิจประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว เราจะทำอะไรกันต่อ ก็อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ อย่างในกรณีของคุณ Pousaz ที่ถึงขั้นตกลงกันไม่ได้ จนต้องปิดบริษัทไปเลยอีกเรื่องก็คือ การรู้ตัวเองว่าชอบทำอะไร อินกับอะไรจุดนี้ก็ถือเป็นเครื่องยนต์ที่ทำให้เดินหน้าต่อไปไม่มีหยุดทั้งพลาดงานในฝัน เพราะไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบสุดท้ายต้องปิดกิจการลงทั้งที่รายได้โตระเบิด เพราะขัดแย้งกับผู้ร่วมก่อตั้งหากเป็นใครหลายคน ก็อาจจะล้มเลิกความตั้งใจ และหมดไฟไปแล้วแต่คุณ Pousaz ก็ได้ลุยต่อ จนประสบความสำเร็จกับ Checkout ที่แม้จะเริ่มต้นมาได้เพียง 10 ปี