ข่าวการสังหาร อุซามะห์ บิน ลาดิน (Osama bin Laden) ผู้นำหมายเลขหนึ่งของขบวนการก่อการร้ายอัลกออิดะห์ (Al Qaeda) กำลังได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่า ข่าวสารดังกล่าวย่อมจะแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วบนอินเทอร์เน็ตด้วย เว็บไซต์เอ็นบีซีเปิดประเด็นว่า แม้บินลาดินจะตายจากโลกไปแล้ว แต่การก่อการร้ายกับผู้ใช้บนพีซีกำลังเริ่มต้น รายงานข่าวการเสียชีวิตของผู้นำขบวนการก่อการร้ายอัลกออิดะห์ถูกแพร่กระจาย ไปบนอินเทอร์เน็ตหลายหมื่นลิงค์ เพื่อให้ผู้คนที่สนใจสามารถติดตามอ่านรายละเอียด โดยเฉพาะขั้นตอนการไล่ล่า และกำจัดบุคคลที่อันตรายมากที่สุดในโลก ในขณะที่คลิปวิดีโอเกี่ยวกับการตายของบินลาดินกำลังแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว เหล่าแฮคเกอร์ และผู้ไม่หวังดีบนอินเทอร์เน็ตกำลังใช้โอกาสทองนี้ ในการแทรกซืมด้วยลิงค์ปลอม เพื่อเจาะเข้าไปควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนขโมยข้อมูลสำคัญๆ ของคุณ มัลแวร์ที่เกียวข้องกับการตายของบินลาดิน โผล่บนเว็บภายในไม่กี่ชั่วโมง หลังจากการประกาศของประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า เมื่อช่วงเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยข้อมูลจาก Google Trends เผยให้เห็นว่า “Osama bin ladin dead” เป็น “คีย์เวิร์ด” ที่ถูกใช้ในการเสิร์ชบนกูเกิ้ล (Google) มากที่สุด ทั้งนี้เว็บไซต์ Cnet ได้เผยโดเมนอย่างน้อย 2 แห่งที่พบว่า กำลังปล่อยมัลแวร์ในรูปของซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสปลอม เมื่อผู้ใช้พยายามเสิร์ชข่าวด้วยคีย์เวิร์ด “Osama bin Laden body” ใน Google ในขณะที่มีการพบลิงค์มัลแวร์อีกมากมายว่อนกระจายอยู่ใน Facebook และ Twitter นอกจากนี้ มีภาพโฟโต้ชอปมากมายที่อ้างว่าเป็นศพของบินลาดินที่แสดงขึ้นมาในหน้าผลลัพธ์เสิร์ชของ Google โดยที่ภาพเหล่านั้นมีการแทรกโค้ดอันครายเข้าไปด้วย ข้อมูลจาก: kaspersky มัลแวร์ (อังกฤษ: Malware) ย่อมาจากคำว่า Malicious ware ซึ่งจะใช้แทนโปรแกรมประสงค์ร้ายต่างๆ โดยทำงานในลักษณะที่เป็นไวรัส ทั้งประเภทเวิร์ม (Worm) หรือหนอนอินเทอร์เน็ต และพวกม้าโทรจัน (Trojan Horse) การแอบดักจับข้อมูล (Spyware) และ (Key Logger) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน ตลอดจนโปรแกรมประเภทขโมยข้อมูล (Cookie) และการฝัง Malicious Mobile Code (MMC) ผ่านทางช่องโหว่ของโปรแกรม Internet Explorer (IE Vulnerability) ที่เกิดขึ้น โดยโปรแกรมจะทำการควบคุมการทำงานโปรแกรม Internet Explorer ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ที่ไม่หวังดี เช่น การแสดงโฆษณาในลักษณะของการ Pop-Up หน้าต่างโฆษณาออกมาเป็นระยะ เราเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า แอ็ดแวร์ (Adware) ซึ่งภัยเหล่านี้ในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบแก่ผู้ใช้งานได้ ถ้ารับโปรแกรมเหล่านี้เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรจันฮอร์ส (trojan horse) คือ โปรแกรมที่ดูเหมือนจะมีประโยชน์หรือไม่เป็นอันตราย แต่ในตัวโปรแกรมจะแฝงโค้ดสำหรับการใช้ประโยชน์หรือทำลายระบบที่รันโดยโปรแกรมนี้ส่วนใหญ่จะถูกแนบมากับ E-mail และเมื่อดูเผินๆ ก็เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ทั่วๆไป แต่จริงๆ แล้วข้างในจะแฝงส่วนที่เป็นอันตรายต่อระบบเมื่อรันโปรแกรมนี้ เวิร์ม (worm) คุณสมบัติพิเศษของเวิร์ม คือ สามารถแพร่กระจายตัวของมันเองได้โดยอัตโนมัติและไม่ต้องอาศัยโปรแกรมอื่นในการแพร่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ผ่านทางเครือข่าย เวิร์ม สามารถทำอันตรายให้กับระบบ เวิร์มบางประเภทสามารถแพร่กระจายตัวเองโดยที่ไม่ต้องอาศัยการช่วยเหลือจากผู้ใช้เลย หรือบางตัวก็อาจแพร่กระจายเมื่อผู้ใช้รันโปรแกรมบางโปรแกรม นอกจากความสามารถในการแพร่กระจายด้วยตัวเองแล้ว เวิร์มยังสามารถทำลายระบบได้อีกด้วย ไวรัส (virus) ไวรัสเป็นโปรแกรมที่สามารถติดต่อจากอีกไฟล์หนึ่งไปยังอีกไฟล์หนึ่งภายในระบบเดียวกัน หรือจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นโดยการแนบตัวเองไปกับโปรแกรมอื่น มันสามารถทำลายฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และข้อมูล เมื่อโฮสต์รันโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนที่เป็นไวรัสก็จะถูกรันด้วยและทำให้แพร่กระจายไปยังเครื่องอื่นหรือบางทีก็สร้างโค้ดใหม่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C