สวัสดีผู้ที่สนใจในโรคมะเร็งทุกคน วันนี้เรามีข่าวดีจะแจ้งให้ทราบว่า ล่าสุดมหาวิทยาลัยมิชิแกนประสบความสำเร็จใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวด์รักษามะเร็งแล้ว ซึ่งมันจะน่าสนใจอย่างไร ใครอยากรู้ตามมาดูกันเลย
สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้
- ปกติแล้วการรักษามะเร็งในจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดร่วมกับการทำคีโมเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ล่าสุดมหาวิทยาลัยมิชิแกนประสบความสำเร็จในการรักษามะเร็งแนวใหม่ด้วยการใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวด์
- แต่ล่าสุดทีมวิศวกรของ มหาวิทยาลัยมิชิแกนได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า histotripsy โดยดัดแปลงใช้คลื่นอัลตราซาวด์ ส่งพลังงานเสียงคลื่นสั้นไปยังจุดที่ต้องการ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะมีข้อดีเหนือวิธีรักษาอื่นๆคือการระบุจุดรักษาได้อย่างแม่นยำ
- ซึ่งคลื่นเสียงนี้จะเข้าไปทำให้เกิดฟองขนาดเล็กในเซลล์ที่ผิดปกติ จากนั้นฟองนี้จะขยายตัวและแตกออกเพื่อทำลายโครงสร้างของเซลล์มะเร็งจากด้านใน แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ยังถือเป็นความท้าทายในการรักษามะเร็งในมนุษย์ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดมะเร็งและเนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบ
- จากการทดลองรักษามะเร็งตับในหนูทดลอง พบว่าสามารถทำลายเซลล์มะเร็งตับได้ 50 – 75% โดยมีความแม่นยำระดับมิลลิเมตร จากนั้นภูมิคุ้มกันของร่างกายจะสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งส่วนที่เหลือได้
- หลังจากนี้คือการทดสอบเชิงคลีนิกกับผู้ป่วยที่เป็นคนจริงๆ ในสหรัฐและยุโรป โดยในช่วงเริ่มต้นจะเน้นไปที่การรักษามะเร็งตับก่อน ซึ่งหากสามารถรักษาคนจริงๆ ได้สำเร็จก็น่าจะช่วยเพิ่มความหวังในกลับผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลกได้
และนี่ก็คือเทคโนโลยี histotripsy ที่เราอยากแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักในครั้งนี้ ก็หวังว่านี่จะเป็นอีกหนึ่งข่าวดีในวงการแพทย์ที่จะทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีความหวังมากยิ่งขึ้น และหากมีข่าวความคืบหน้าประการใดเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้อีก เราจะรีบมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบโดยทันที