อินเทลได้ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของบริษัทอีกครั้ง กับผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดอย่างโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 (โค้ดเนม Sapphire Rapids) รวมถึงซีพียู Intel® Xeon® CPU Max ซีรีส์ (โค้ดเนม Sapphire Rapids HBM) และจีพียู Intel® Xeon® GPU Max ซีรีส์ (โค้ดเนม Ponte Vecchio) ให้ผู้ใช้ได้สัมผัสอีกขีดสุดของประสิทธิภาพการใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์ ตลอดจนศักยภาพ ความปลอดภัย และทักษะการประมวลผลใหม่ ๆ สำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) คลาวด์ เครือข่ายและเอดจ์ รวมไปถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เรียกได้ว่าทรงพลังที่สุดในโลกตอนนี้
- ลูกค้าและพันธมิตรตอบรับใช้งานอย่างกว้างขวางทั่วอุตสาหกรรม ตั้งแต่ AWS, Cisco, Cloudera, CoreWeave, Dell Technologies, Dropbox, Ericsson, Fujitsu, Google Cloud, Hewlett Packard Enterprise, IBM Cloud, Inspur Information, IONOS, Lenovo, Los Alamos National Laboratory, Microsoft Azure, NVIDIA, Oracle Cloud, OVHcloud, phoenixNAP, RedHat, SAP, SuperMicro, Telefonica และ VMware
- โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 และซีพียูและจีพียู Max ซีรีส์ พร้อมส่งมอบประสิทธิภาพการทำงานระดับชั้นนำด้วยกลยุทธ์ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเวิร์กโหลดโดยเฉพาะ มาพร้อมกับชิปเร่งความเร็วการประมวลผลภายในที่ไม่มีซีพียูเครื่องไหนในโลกเคยมีมาก่อน เพื่อรองรับเวิร์กโหลดสำคัญอย่าง AI, เครื่องมือวิเคราะห์, ระบบเครือข่าย, ความปลอดภัย, การจัดเก็บข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Performance Computing: HPC)
- โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 คือโปรเซสเซอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ผ่านการผลิตที่ยั่งยืนมากที่สุดของอินเทล โดดเด่นด้วยฟีเจอร์การใช้งานที่หลากหลายเพื่อเสริมขุมพลังและประสิทธิภาพการทำงานขั้นสุดด้วยการใช้งานทรัพยากรของซีพียูอย่างคุ้มค่าเพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน
- เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นกว่า 9 เท่า1 จากประสิทธิภาพการทำงานโดยเฉลี่ยต่อวัตต์สำหรับเวิร์กโหลดเฉพาะเมื่อใช้ชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาในอุปกรณ์ ประหยัดพลังงานมากถึง 70 วัตต์2 สำหรับซีพียูหนึ่งเครื่องที่ใช้โหมดพลังงานสูงสุดและแทบไม่ลดทอนประสิทธิภาพการทำงานลงเลยสำหรับเวิร์กโหลดเฉพาะ พร้อมช่วยลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (Total cost of ownership: TCO)3 ลงถึง 52-66%
อินเทลทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรอย่างใกล้ชิดในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ที่มาพร้อมโซลูชันและระบบการใช้งานที่แตกต่างและสามารถปรับขนาดได้ เพื่อช่วยลูกค้าและพันธมิตรในการแก้ปัญหาสำคัญด้านการประมวลผลที่ท้าทาย กลยุทธ์อันโดดเด่นของอินเทลในการเร่งการประมวลผลเพื่อเวิร์กโหลดเป็นหลักและซอฟต์แวร์ประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับเวิร์กโหลดเฉพาะ ทำให้อินเทลสามารถส่งมอบประสิทธิภาพการประมวลผลตามโหมดการใช้พลังงานที่เหมาะสม เพื่อให้ใช้ต้นทุนรวมการเป็นเจ้าของทั้งหมดได้อย่างคุ้มค่า
นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ซึ่งถือเป็นโปรเซสเซอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ผ่านการผลิตที่ยั่งยืนมากที่สุดของอินเทล ยังโดดเด่นด้วยฟีเจอร์การใช้งานที่หลากหลายสำหรับการดูแลจัดการพลังงานและประสิทธิภาพการทำงานด้วยการใช้งานทรัพยากรของซีพียูอย่างคุ้มค่าเพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน
นางสาวซานดร้า ริเวอร่า รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ของอินเทล กล่าวว่า “การเปิดตัวโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 พร้อมผลิตภัณฑ์ซีพียูและจีพียู Max ซีรีส์ ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการขับเคลื่อนพร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงบทใหม่ให้กับอินเทล อีกทั้งตอกย้ำตำแหน่งผู้นำในตลาดดาต้าเซ็นเตอร์และผลักดันให้เราเดินเกมรุกขยายสู่ตลาดใหม่ ๆ ต่อไปในอนาคต โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 และซีพียูและจีพียู Max ซีรีส์ ส่งมอบประสิทธิภาพการทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง นั่นคือประสิทธิภาพระดับชั้นนำและความน่าเชื่อถือในการใช้งานภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยเพื่อช่วยลูกค้าทำงานและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง ซึ่งช่วยให้สามารถร่นระยะเวลาส่งมอบบริการตามความต้องการ (time-to-value: TtV) ได้เร็วขึ้น พร้อมขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมของลูกค้าได้มากขึ้น”
โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 แตกต่างจากโปรเซสเซอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อื่น ๆ ในตลาดที่ลูกค้ากำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยได้ขยายไปสู่แนวทางและกลยุทธ์เพื่อรองรับเวิร์กโหลดเป็นหลักและออกแบบมาโดยคำนึงถึงจุดประสงค์การใช้งานโดยเฉพาะ
ชูประสิทธิภาพระดับแถวหน้า พร้อมช่วยเรื่องความยั่งยืนด้วยชิปเร่งความเร็วในตัวที่ให้ความเร็วสูงสุด
ปัจจุบัน มีโปรเซสเซอร์ Xeon กว่าร้อยล้านตัวที่ติดตั้งใช้งานในตลาด ตั้งแต่เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานภายในองค์กรเพื่อดูแลบริการด้านไอที รวมไปถึงโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่ให้บริการด้านไอทีและซอฟต์แวร์ ไปจนถึงอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้ดูแลควบคุมปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ต การประมวลผลจากสถานีฐานแบบไร้สาย และบริการด้านคลาวด์
โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ใหม่ล่าสุด สร้างขึ้นจากนวัตกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ เครือข่าย และเอดจ์อัจฉริยะ และความรู้ความเชี่ยวชาญระดับแถวหน้าของวงการกว่าหลายทศวรรษ พร้อมส่งมอบประสิทธิภาพการทำงานชั้นนำด้วยชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาในตัวและให้ความเร็วสูงสุดเท่าที่ซีพียูเครื่องไหนในโลกเคยมีมา เพื่อช่วยลูกค้าแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ด้านการประมวลผลที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น AI, เครื่องมือวิเคราะห์, ระบบเครือข่าย, ความปลอดภัย, การจัดเก็บข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Performance Computing: HPC)
เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้า โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นกว่า 2.9 เท่า1 จากประสิทธิภาพการทำงานโดยเฉลี่ยต่อวัตต์สำหรับเวิร์กโหลดเฉพาะเมื่อใช้ชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาในอุปกรณ์ ประหยัดพลังงานมากถึง 70 วัตต์2 สำหรับซีพียูหนึ่งเครื่องที่ใช้โหมดพลังงานสูงสุดและแทบไม่ลดทอนประสิทธิภาพการทำงานลงเลยสำหรับเวิร์กโหลดเฉพาะ พร้อมช่วยลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (total cost of ownership: TCO)3 ลงถึง 52-66%
ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน
ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นจากชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาในโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ช่วยให้อินเทลสามารถประหยัดพลังงานในระดับแพลตฟอร์ม ลดความต้องการเร่งการประมวลผลเพิ่มเติม และช่วยให้ลูกค้าอินเทลบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น โหมดประหยัดพลังงานสูงสุดยังช่วยประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊กได้ถึง 20% โดยกระทบประสิทธิภาพการทำงานไม่ถึง 5% สำหรับเวิร์กโหลดบางประเภท11 นอกจากนี้ นวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านชุดน้ำและชุดลมซึ่งเป็นตัวระบายความร้อนของซีพียูในโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 นี้ยังช่วยลดการใช้พลังงานโดยรวมของดาต้าเซ็นเตอร์ลงไปอีก และโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ยังใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนมากกว่า 90% ในการผลิตที่โรงงานของอินเทลซึ่งใช้เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียที่ทันสมัยเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตด้วย
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ในด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 สามารถอนุมานข้อมูลแบบเรียลไทม์ของ PyTorch ได้สูงถึง 10 เท่า5,6 อีกทั้งยังส่งมอบศักยภาพการฝึกฝนการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ด้วยชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาอย่าง Intel® Advanced Matrix Extension (Intel® AMX) โดยโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ได้ปลดล็อกขุมพลังใหม่แห่งศักยภาพของการอนุมานและการฝึกฝนคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลข้อมูลผ่านเวิร์กโหลดที่หลากหลายรูปแบบของ AI ขณะที่ซีพียู Intel Max ซีรีส์ ได้ขยายศักยภาพเหล่านี้สู่การประมวลผลภาษาโดยธรรมชาติ ด้วยความเร็วสูงถึง 20 เท่า12 ในการเรียนรู้โมเดลรูปแบบภาษาขนาดใหญ่ การส่งมอบชุดซอฟต์แวร์ AI ของอินเทลช่วยให้เหล่านักพัฒนาสามารถเลือกใช้เครื่องมือ AI ได้ตามความต้องการและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความเร็วเพื่อการพัฒนา AI ชุดเครื่องมือ AI นี้สามารถพกพาและใช้งานแยกจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานหลัก เพื่อปรับขยายขนาดบนคลาวด์และเอดจ์ได้อย่างสะดวกสบายและราบรื่น การันตีประสิทธิภาพการใช้งานจากการทดสอบโมเดลการเรียนรู้เชิงลึกและการเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ของ AI กว่า 400 รูปแบบตามยูสเคสการใช้งาน AI ทั่วไปในทุกเซกเมนต์ของตลาด
เครือข่าย
โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 นำเสนอตระกูลโปรเซสเซอร์ที่ได้รับการปรับแต่งโดยเฉพาะสำหรับการรองรับเวิร์กโหลดหลายประเภทที่มีประสิทธิภาพสูงบนเครือข่ายและเอดจ์ที่มีความหน่วงต่ำ โดยโปรเซสเซอร์เหล่านี้ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนอนาคตที่ีซอฟต์แวร์จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่โทรคมนาคมและการค้าปลีก ไปจนถึงการผลิตและเมืองอัจฉริยะ สำหรับเวิร์กโหลดของ 5G ชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งมอบปริมาณงานและลดความหน่วง ในขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าด้านการจัดการพลังงานได้ช่วยยกระดับทั้งการตอบสนองและประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มไปอีกขั้น นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 จะมอบความจุของเครือข่ายการเข้าถึงวิทยุแบบจำลองเสมือน (virtualized radio access network: vRAN) ได้ถึงสองเท่าโดยไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า ซึ่งช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถเพิ่มประสิทธิภาพต่อวัตต์เป็นสองเท่าเพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพการทำงานที่สำคัญ การปรับขนาด และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Performance Computing: HPC)
โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 และผลิตภัณฑ์ตระกูล Intel Max ซีรีส์ นำเสนอสถาปัตยกรรมไอทีที่สมดุลและมาพร้อมความสามารถในการปรับขนาดของซีพียูและจีพียู ผ่านการทำงานร่วมกันกับระบบนิเวศซอฟต์แวร์แบบเปิดของ oneAPI เพื่อตอบสนองความต้องการในการประมวลผลของเวิร์กโหลดในด้านระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Performance Computing: HPC) และ AI เพื่อแก้ปัญหาสุดท้าทายระดับโลก
ซีพียู Intel Xeon Max ซีรีส์ เป็นโปรเซสเซอร์ตัวแรกและตัวเดียวที่้รองรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ x86 โดยมีหน่วยความจำแบนด์วิธสูง มีความสามารถในการเร่งเวิร์กโหลด HPC จำนวนมากโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรหัส นอกจากนี้ จีพียู Intel Data Center Max ซีรีส์ ยังเป็นโปรเซสเซอร์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดของอินเทล และจะมีวางจำหน่ายในฟอร์มแฟกเตอร์หลายรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน
ซีพียู Intel Xeon Max ซีรีส์ มีหน่วยความจำ HBM2e แบนด์วิธสูงถึง 64 กิกะไบต์ในแพ็คเกจ ซึ่งจะเพิ่มข้อมูลของการส่งมอบปริมาณงานและข้อมูลสำหรับ HPC และ AI ได้อย่างมาก และเมื่อเทียบกับโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 3 รุ่นท็อป ซีพียู Intel Xeon Max ซีรีส์ สามารถมอบประสิทธิภาพได้มากกว่าถึง 3.7 เท่า10สำหรับแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ใช้ในสถานการณ์จริง เช่น การสร้างแบบจำลองระบบพลังงานและโลก
นอกจากนี้ จีพียู Intel Data Center Max ซีรีส์ ได้รวบรวมทรานซิสเตอร์กว่า 100 พันล้านตัวไว้ในแพ็คเกจเป็นจำนวน 47 ไทล์ ซึ่งจะยกระดับการส่งมอบปริมาณงานให้เข้ากับความท้าทายของเวิร์กโหลดที่มีอยู่ เช่น ฟิสิกส์ บริการทางการเงิน และวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต และเมื่อจับคู่จีพียู Intel Data Center Max ซีรีส์ กับ ซีพียู Intel Xeon Max ซีรีส์ เข้าด้วยกัน ทั้ง 2 แพลตฟอร์มนี้จะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึง 12.8 เท่า13 เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า เมื่อใช้โปรแกรม LAMMPS ที่จำลองการเคลื่อนที่ของโมเลกุลแบบไดนามิค
แพลตฟอร์ม Xeon มาพร้อมฟีเจอร์สุดหลากหลายและความปลอดภัยขั้นสูงสุด
อินเทลได้ชูโรงถึงการเปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์มครั้งใหญ่ ไม่เพียงแต่ โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 จะมีอัตราการเร่งความเร็วที่น่าทึ่งแล้ว แต่ยังประสบความสำเร็จสำคัญในด้านการผลิตอีกด้วย โดยการผสานรวมไทล์ที่สร้างจาก Intel 7 มากถึงสี่ตัวในแพ็คเกจเดียว โดยใช้เทคโนโลยีการบรรจุ EMIB (Embedded multi-die interconnect bridge) ในการเชื่อมต่อ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอคุณสมบัติใหม่ล่าสุด รวมถึงแบนด์วิธหน่วยความจำที่เพิ่มขึ้นด้วย DDR5, แบนด์วิธ I/O ที่เพิ่มขึ้นด้วย PCIe5.0 และการเชื่อมต่อระหว่าง Compute Express Link (CXL) 1.1
โดยรากฐานที่สำคัญของแพลตฟอร์มนี้คือความปลอดภัย โดยโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ได้นำเสนอพอร์ตโฟลิโอการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เป็นความลับซึ่งครอบคลุมผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ซิลิคอนในอุตสาหกรรม เพิ่มระดับความปลอดภัยของการเก็บข้อมูล การปฏิบัติตามกฎระเบียบและการรักษาสิทธิการเป็นเจ้าของข้อมูล (Data Sovereignty) นอกจากนี้ อินเทลยังคงเป็นผู้นำด้านการให้บริการซิลิคอนเพียงรายเดียวที่นำเสนอการป้องกันความเป็นส่วนตัวผ่านการแยกแอปพลิเคชันในหน่วยความจำสำหรับการประมวลผลในดาต้าเซ็นเตอร์ด้วย Intel® Software Guard Extensions (Intel® SGX) ด้วยการลดพื้นที่การโจมตีลงให้เหลือเล็กที่สุดสำหรับการประมวลผลข้อมูลที่เป็นความลับ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นส่วนตัว สาธารณะ หรือในโครงสร้าง cloud-to-edge นอกจากนี้ เทคโนโลยีการแยกเครื่องเสมือน (Virtual Machine: VM) ใหม่ของอินเทล และ Intel® Trust Domain Extensions (Intel® TDX) ยังเหมาะสมอย่างยิ่งในการย้ายแอปพลิเคชันที่มีอยู่ไปยังสภาพแวดล้อมที่เป็นความลับมากขึ้น และ Intel® TDX จะเปิดตัวพร้อมกับ Microsoft Azure, Alibaba Cloud, Google Cloud และ IBM Cloud
สถาปัตยกรรมโมดูลาร์ของโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ช่วยให้อินเทลสามารถนำเสนอโปรเซสเซอร์ที่เปี่ยมไปด้วยความหลากหลายด้านการใช้งานผ่านอุปกรณ์ตามเลข SKUs ราว 50 รายการ เพื่อยูสเคสการใช้งานหรือแอปพลิเคชันของลูกค้า นับตั้งแต่ SKU ที่ใช้สำหรับการทำงานทั่วไป ไปจนถึง SKU ที่สร้างขึ้นโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์เพื่อระบบคลาวด์ ฐานข้อมูลและเครื่องมือการวิเคราะห์ เครือข่าย ระบบจัดเก็บข้อมูล และยูสเคสการใช้งานของเอจด์แบบซ็อกเก็ตเดียว โดยตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel Xeon เจนเนอเรชั่นที่ 4 สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานได้ตามความต้องการที่หลากหลาย และมีจำนวนคอร์ ความถี่ การผสมผสานของตัวเร่งความเร็ว กำลังการใช้คลื่นความถี่ (power envelope) และอัตราความเร็วของหน่วยความจำที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมของยูสเคสการใช้งานและฟอร์มแฟกเตอร์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในสถานการณ์จริง