Thursday, April 10, 2025
30.6 C
Bangkok

Lunar Gateway จะขับเคลื่อนด้วยขุมกำลังปัญญาประดิษฐ์

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ของโลกเราพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และตอนนี้มันจะไม่ได้ถูกนำมาใช้งานเพียงแค่บนโลกเท่านั้น แต่มันกำลังจะถูกนำขึ้นไปใช้งานในห้วงอวกาศ เพราะล่าสุดนาซา (NASA) เตรียมพัฒนาเอไอสำหรับใช้กับลูนาร์ เกตเวย์ (Lunar Gateway) ที่จะสร้างให้โคจรรอบดวงจันทร์ภายในปี 2024 ซึ่งเอไอจะสามารถตอบโต้กับนักบินอวกาศได้และมีการเชื่อมต่อสื่อสารกันคล้ายกับแชตจีพีที (ChatGPT) ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • สำหรับ ลูนาร์ เกตเวย์ เป็นสถานีอวกาศที่จะโคจรรอบดวงจันทร์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นฐานและจุดแวะของนักบินอวกาศที่จะเดินทางไปยังดวงจันทร์และสถานที่อื่น ๆ ในอวกาศที่ไกลออกไป โดยมันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอาร์เทมิส (Artemis Program) โครงการส่งนักบินอวกาศไปเหยียบดวงจันทร์ในรอบ 50 ปี

  • โดยเหตุผลที่นาซาต้องการนำเอไอมาใช้กับลูนาร์ เกตเวย์ เนื่องจากปัญหาการสื่อสารล่าช้าระหว่างโลกและดวงจันทร์ ซึ่งมีความล่าช้าราว 5 – 20 นาที ส่งผลให้ในกรณีฉุกเฉิน นักบินอวกาศบนลูนาร์ เกตเวย์จะไม่สามารถขอความช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากสถานีภาคพื้นดินได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเอไอตัวนี้จะถูกนำไปงานหลัก 2 อย่าง คือ

  1. เป็นผู้ช่วยให้กับนักบินอวกาศในการควบคุมลูนาร์ เกตเวย์
  2. ทำหน้าที่ควบคุมลูนาร์ เกตเวย์ในกรณีที่ไม่มีนักบินอวกาศประจำอยู่บนนั้นและในกรณีที่ไม่มีการควบคุมจากสถานีภาคพื้นดิน (Ground Station)
  • ยกตัวอย่างการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ เช่น กรณีที่ลูนาร์ เกตเวย์ถูกขยะอวกาศพุ่งชนจนเกิดความเสียหาย เอไอจะทำการประมวลผลความเสียหาย, ปิดประตูโมดูลที่เสียหาย ไปจนถึงแจ้งเตือนการอพยพให้กับนักบินอวกาศทราบ เนื่องจากการรอคำสั่งจากทีมภาคพื้นดินในกรณีอันตรายแบบนี้ เวลาเพียงแค่ 5 นาที ก็อาจทำให้นักบินอวกาศอพยพไม่ทัน

  • นอกจากนี้ นาซายังตั้งเป้าให้เอไอมีความสามารถในการตรวจสอบความเสียหายของลูนาร์ เกตเวย์ได้เองแบบอัตโนมัติและจะช่วยแจ้งเตือนการซ่อมบำรุงให้กับนักบินอวกาศทราบ รวมถึงจะช่วยแก้ปัญหาในกรณีลูนาร์ เกตเวย์ประสบปัญหาออฟไลน์หรือปัญหาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์

  • อย่างไรก็ตาม นาซาวางแผนที่จะเชื่อมการทำงานของเอไอเข้ากับยานอวกาศโอไรออน (Orion) ที่นักบินอวกาศจะใช้เดินทางจากโลกเพื่อไปเทียบท่ายังลูนาร์ เกตเวย์, ยานอวกาศสตาร์ชิป เฮทแอลเอส (Starship HLS) ที่ใช้สำหรับลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์, สถานีภาคพื้นดินบนโลกและระบบย่อยต่าง ๆ เพื่อให้เอไอสามารถทำงานได้อย่างครอบคลุม

  • โดยข้อควรระวังของการพัฒนาเอไอตัวนี้ ก็คือมันจะต้องไม่มีข้อผิดพลาดเลย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในด้านควบคุมลูนาร์ เกตเวย์ หรือการให้คำแนะนำกับนักบินอวกาศ นั่นแปลว่าทีมเจ้าหน้าที่ของนาซาจะต้องรวบรวมฐานข้อมูลที่ใหญ่มาก ๆ เพื่อใช้สำหรับการฝึกเอไอให้มีความแม่นยำสูง ซึ่งอาจทำให้การพัฒนากินเวลานาน

  • ทั้งนี้ ในเดือนพฤศจิกายน 2024 นาซามีแผนส่งโมดูลตั้งต้นของลูนาร์ เกตเวย์ จำนวน 2 โมดูล โดยจะใช้จรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) ของบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX)

  • โดยมูลค่าทั้งหมดตั้งแต่การสร้างโมดูลไปจนถึงการส่งโมดูลไปโคจรรอบดวงจันทร์ มีมูลค่าประมาณ 331.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 11,000 ล้านบาท ซึ่งในอนาคตจะมีการส่งโมดูลเพิ่มเติมขึ้นไปเชื่อมต่อ เพื่อขยายความสามารถในการใช้งานและจะทำให้มันมีขนาดใหญ่กว่าสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ถึง 6 เท่า โดยสถานีอวกาศนานาชาติมีพื้นที่อยู่อาศัยขนาด 388 ตารางเมตร

  • ในส่วนของการใช้งาน ลูนาร์ เกตเวย์จะทำหน้าที่คล้ายกับสถานีอวกาศนานาชาติ นอกจากจะเป็นทางเชื่อมให้นักบินอวกาศได้แวะพักเพื่อเดินทางไปยังสถานที่อื่นไกลๆ ยังเป็นที่อยู่อาศัยและทำงานทดลองด้านวิทยาศาสตร์ของนักบินอวกาศอีกด้วย

และนี่ก็คือโครงการ Lunar Gateway ที่เราอยากแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับคอเทคโนโลยีกันทุกคน และหากมีความคืบหน้าประการใดเกี่ยวกับโปรเจ็คต์นี้อีก เราจะรีบแจ้งให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครโดยทันที

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

This field is required.

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

Hot this 48 hr.

ความหมายของไพ่ยิปซี ไพ่ทาโรต์ ไพ่ชุดเมเจอร์และไพ่ชุดไมเนอร์ อาร์คานา

ไพ่ทาโรต์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ไพ่ชุดเมเจอร์ อาร์คานา มี 22...

มูลนิธิอาเซียนและ Google.org จัดเวทีประชุมนโยบาย AI ระดับภูมิภาค: เปิดมิติใหม่สู่อนาคตดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรุงเทพฯ – สวัสดีทุกคน! วันนี้เรามีเรื่องราวเด็ด ๆ เกี่ยวกับการประชุมนโยบายระดับภูมิภาคที่เกี่ยวกับ AI ซึ่งจัดโดยมูลนิธิอาเซียน (ASEAN...

App บังคับรถเสมือน บน iPhone

บริษัท Pop Culture Software ได้พัฒนาแอพฯที่มีชื่อว่า RC vCar โดยใช้กล้องของ iPhone เพื่อเปิดโอกาสให้คุณสามารถเล่นรถบังคับวิทยุที่ไหนก็ได้...

ผู้ก่อตั้ง Telegram Pavel Durov เผยตัวเลขใหม่! แอพพลิเคชั่นแชทฮอตแห่งปีมีผู้ใช้ 1 พันล้านแล้ว พร้อมบ่น WhatsApp ว่าเป็น “ของเลียนแบบไม่มีความมัน”

สวัสดีเพื่อน ๆ ชาวเทคโนโลยีและคนรักแอพแชททุกคน วันนี้เรามีข่าวใหญ่จากวงการแอพแชทที่ไม่ควรพลาดกันแน่! Telegram ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวัน โดยเฉพาะคนที่ชอบความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการสื่อสาร ได้ผ่านการประกาศจากผู้ก่อตั้งแอพฯ ที่มีชื่อเสียงอย่าง...

โน้ตบุ๊ค Razer เจอพิษภาษีทรัมป์เต็ม ๆ ราคาขึ้นกระทันหัน!

ช่วงนี้ใครเล็งจะซื้อโน้ตบุ๊คเกมมิ่งแบรนด์ Razer อาจต้องคิดหนักกันหน่อย เพราะล่าสุดมีรายงานจาก Engadget ว่า Razer กลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดของมาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนที่ออกโดยรัฐบาล Donald...

Topics

ใครได้ใครเสีย? วิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายภาษีนำเข้ารถยนต์ของ Trump ต่อค่ายรถทั่วโลก

นโยบายภาษีนำเข้ารถยนต์ของ Donald Trump ที่เคยเป็นกระแสใหญ่ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งหลังมีการคาดการณ์ว่าเขาอาจกลับมาชิงตำแหน่งอีกครั้งในปี 2024 และแน่นอนว่าโลกยานยนต์ต่างก็จับตามอง โดยเฉพาะค่ายรถที่มีฐานการผลิตในต่างประเทศ หรือมีแผนขยายตลาดไปยังสหรัฐฯ แล้วใครกันที่จะได้ประโยชน์จากภาษีนี้...

หุ้นเอเชียร่วงยกแผง! หลัง Trump กดดันจีนด้วยภาษีเพิ่ม – ตลาดรอผลประชุมดอกเบี้ยอินเดีย

ตลาดหุ้นเอเชียช่วงเช้าวันนี้เปิดตัวแรงตกต่ำกันถ้วนหน้า หลังจากอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ Donald Trump ออกมาให้คำมั่นว่าหากเขากลับมารับตำแหน่งอีกครั้งจะเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนอีกระลอก ซึ่งการประกาศนี้ส่งแรงกดดันต่อนักลงทุนทั่วภูมิภาคทันที ดัชนีหลักหลายประเทศในเอเชียเริ่มเปิดลบอย่างชัดเจน ทั้ง Nikkei 225...

ในปี 2025 แล้ว… Instagram ยังเพิ่งจะเริ่มทำแอปเวอร์ชัน iPad อยู่เลยเหรอ!?

ใครจะไปเชื่อว่าเรามาถึงปี 2025 แล้ว แต่ Instagram ก็ยังไม่มีแอปเวอร์ชันที่ออกแบบมาสำหรับ iPad แบบจริงจัง! ทั้งที่...

โน้ตบุ๊ค Razer เจอพิษภาษีทรัมป์เต็ม ๆ ราคาขึ้นกระทันหัน!

ช่วงนี้ใครเล็งจะซื้อโน้ตบุ๊คเกมมิ่งแบรนด์ Razer อาจต้องคิดหนักกันหน่อย เพราะล่าสุดมีรายงานจาก Engadget ว่า Razer กลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดของมาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนที่ออกโดยรัฐบาล Donald...

Related Articles

Popular Categories

spot_img