ซิป้า รอคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณในการดำเนินงานของสำนักงานทั้งหมด 310 ล้านบาท ในเดือน ก.พ. 2555 ก่อนสานต่อ “โครงการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์เพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ตาม ภูมิภาค” ปีที่ 2 ตั้งเป้าพัฒนาบุคลากรป้อนเข้าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้ได้ 2,000 คน ภายใต้งบประมาณ 25 ล้านบาท นายศราวุธ กลันทะกะสุวรรณ ผู้จัดการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า กล่าวในฐานะผู้ดูแลโครงการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์เพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ตามภูมิภาค ว่าโครงการดังกล่าว เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ มิ.ย. 2554 ถึง ม.ค. 2555 ด้วยงบประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งภายหลังจากหมดระยะเวลาดังกล่าวซิป้าจะเดินหน้าต่อในปืที่ 2 แต่ในตอนนี้อยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณให้กับซิป้าที่ยื่นของบประมาณในการดำเนินงานของสำนักงานทั้ง หมด 310 ล้านบาท ในเดือนก.พ. 2555 ก่อนจึงจะสามารถดำเนินการได้โดยจะต้องใช้งบประมาณในการทำโครงการอีกกว่า 25 ล้านบาท ซึ่งตั้งเป้าพัฒนาบุคลากรป้อนเข้าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้ได้ 2,000 คน อย่างไรก็ดีโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ที่ จบใหม่ให้สามารถเข้าทำงานในภาคอุตสาหกรรมได้ทันทีโดยที่บริษัทซอฟต์แวร์ไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่าย และเวลาในการฝึกอบรม เนื่องจากซิป้าจะเป็นคนสนับสนุนทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากซิป้าเล็งเห็นว่าใน แต่ละปีภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยขาดแคลนบุคลากรประมาณ 10,000 คน แม้จะมีนิสิตนักศึกษาจบใหม่ด้านซอฟต์แวร์ประมาณ 17,000 คนต่อปี แต่พบว่ามีผู้ที่เข้ามาทำงานในภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จริงๆ เพียงหลัก 1,000 คนเท่านั้น ดังนั้นเพื่อลดการขาดแคลนบุคลากร และสร้างความพร้อมให้นิสิตนักศึกษาจบใหม่สามารถทำงานได้ทันที ซิป้าจึงร่วมกับสถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการซอฟต์แวร์จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น “ตลอดระยะเวลาการฝึกงานช่วง 2 เดือนแรก นิสิต-นักศึกษาต้องมีรายได้อย่างน้อยเดือนละ 3,000 บาท ซึ่งซิป้าจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ ส่วนเดือนที่ 3-6 นิสิต-นักศึกษาต้องสามารถสร้างผลงาน และสร้างรายได้จากผลงานได้เอง แต่ถ้าบริษัทที่รับนิสิต-นักศึกษาเข้าฝึกงานพอใจก็สามารถรับเข้าทำงานได้ ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาฝึกอบรม” สำหรับโครงการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์เพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ตามภูมิภาคถือเป็นการนำเหล่า นิสิต นักศึกษา จากสถาบันต่างๆทั่วประเทศให้เข้ามาพัฒนาเสริมทักษะในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย จำนวน 1,030 คน ในสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ 18 สถาบัน โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมจำนวน 113 บริษัท ในขณะที่ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีนักศึกษาที่เข้าร่วมมากที่สุดถึง 380 คน จาก 18 สถาบัน ในส่วนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในภาคเหนือที่เข้าร่วมโครงการมี 31 บริษัท อาทิเช่น บริษัท คลิกคอนเนค จำกัด รับนิสิตนักศึกษาเข้าฝึกงาน 45 คน บริษัท ใหม่ไทยเอ็นเตอร์ไพรส จำกัด รับนิสิตนักศึกษาเข้าฝึกงาน 43 คน และบริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด รับนิสิตนักศึกษาเข้าฝึกงาน 20 คน ด้าน นายศิริพร พรศิริศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาด บริษัท คลิก คอนเนค จำกัด หนึ่งในบริษัทที่เข้ารวมโครงการในภาคเหนือ เปิดเผยว่า บริษัทมีนักศึกษาที่เข้ามาฝึกงานในบริษัทจำนวน 45 คน โดยคาดหวังว่าจะนักศึกษาส่วนหนึ่งในจำนวนดังกล่าวมีศักยภาพเพียงพอที่ก้าวมา เป็นพนักงานในบริษัทได้บ้างส่วนภายหลังหมดระยะเวลาโครงการ 6 เดือน ทั้งนี้สาเหตุที่เข้าร่วมโครงการเนื่องจากต้องเจอกับปัญหาเดิมๆซึ่ง หลายบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ภายในประเทศไทยเจอ คือในเรื่องการขาดบุคลากรทางด้านซอฟต์แวร์โดยตรง ขณะที่นักศึกษาจบใหม่ก็ไม่มีศักยภาพที่จะสามารถเข้ามาทำงานในบริษัทต่างๆได้ เลยในทันทีจะต้องเสียเวลาในการสอนงาน และอบรมอีกประมาณ 2 เดือนซึ่งสุดท้ายไม่รู้ว่าจะสามารถทำงานได้หรือไหม ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาดังกล่าวไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังเสียโอกาสในการแข่งขันอีกด้วย Company Relate Link : SIPA