Saturday, April 19, 2025
28.9 C
Bangkok

SME จะรอดในยุคดิจิตอลได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบ

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันเป็นประจำเช่นเคยกับเรื่องราวที่น่าสนใจด้านธุรกิจ ตอนนี้ก็ปี 2020 กันแล้วโลกเราขับเคลื่อนด้วยดิจิตอลเต็มรูปแบบ ทำให้เราเห็นธุรกิจหลายอย่างเจอ ดิจิตอลดิสรัป จนต้องพังพินาศหายวับไปต่อหน้าต่อตา หากใครเป็นหนึ่งในคนที่ประกอบธุรกิจ SME และไม่อยากเจ๊งจะต้องปรับตัวอย่างไร ลองมาหาความรู้กันหน่อย 

ปัจจัยความสำเร็จของเอสเอ็มอีบนฐานแอนะล็อก มีอยู่ด้วยกัน 3 จุดหลัก ได้แก่ จุดขาย-จุดคุ้ม-จุดซื้อ

ปัจจัยเรื่อง จุดขาย เกี่ยวข้องกับ “คุณภาพ” ของผลิตภัณฑ์ (ทั้งสินค้าและบริการ) ที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในฐานะที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ต้องทำให้มีขึ้นในทางใดทางหนึ่ง ถือเป็นปัจจัยขั้นต้นของความสำเร็จ ตั้งแต่การได้มาตรฐานขั้นต่ำ หรือผ่านหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ซึ่งเป็นข้อกําหนดขั้นพื้นฐานที่จําเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทําให้สามารถผลิตได้อย่างปลอดภัยโดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทําให้เป็นอันตรายหรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค สำหรับเอสเอ็มอีที่เก่งและมีความพร้อม จะมีการพัฒนาคุณภาพหรือรับเอามาตรฐานในขั้นที่สูงขึ้นมาดำเนินการ เพื่อสร้างให้เกิดความโดดเด่นในตัวผลิตภัณฑ์เหนือคู่แข่งขันเพิ่มเติม เป็นปัจจัยความสำเร็จที่เน้นเรื่องผลิตภัณฑ์ (Product-focus)

ปัจจัยเรื่อง จุดคุ้ม เกี่ยวข้องกับ “ผลิตภาพ” ในกระบวนการ ที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในฐานะที่เป็นเจ้าของกระบวนการ ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้น ถือเป็นปัจจัยขั้นกลางที่จะทำให้ทุกๆ การขายมีกำไรเหลือ เพราะต้นทุนไม่บานปลาย มีการลดของเสียจากการผลิต ลดการสูญเสียในกระบวนการ ลดเวลาและขั้นตอนการผลิตและการให้บริการ การบริหารสินค้าคงคลัง และการรักษาเวลาในการส่งมอบ เป็นต้น สำหรับเอสเอ็มอีที่เก่งและมีความพร้อม จะมีการยกระดับผลิตภาพด้วยการปฏิบัติตามมาตรฐานที่เป็นสากล อาทิ มาตรฐานไอเอสโอ เพื่อสร้างให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในกระบวนการผลิตและการให้บริการที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยความสำเร็จที่เน้นเรื่องกระบวนการ (Process-focus)

ปัจจัยเรื่อง จุดซื้อ เกี่ยวข้องกับ “ตราสินค้าและเรื่องราว” ที่องค์กรนำเสนอ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในฐานะที่เป็นเจ้าของตราสินค้า (Brand) ต้องมีเรื่องราวหรือภูมิหลังที่สร้างให้เกิดคุณค่าเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญในสายตาของผู้ซื้อ ถือเป็นปัจจัยขั้นปลายที่จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเป็นลูกค้า และซื้อหาในราคาที่ตนเองพึงพอใจกับตราสินค้าและเรื่องราวที่องค์กรนำเสนอ ซึ่งได้ราคาดีและมีส่วนต่างสูง (High Margin) กว่าเอสเอ็มอีที่ไม่ได้เน้นเรื่องตราสินค้าและขาดเรื่องราวในการนำเสนอ สำหรับเอสเอ็มอีที่เก่งและมีความพร้อม จะมีการสร้างความแข็งแกร่งในตราสินค้าด้วยการใช้องค์ประกอบด้านการออกแบบและนวัตกรรมเพิ่มเติม เพื่อสร้างให้เกิดความแตกต่างจากตราสินค้าของคู่แข่ง และไปเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของกิจการ เป็นปัจจัยความสำเร็จที่เน้นเรื่องการรับรู้ของลูกค้า (Customer-focus)

อย่างไรก็ดี เอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จบนฐานแอนะล็อก ด้วยการมีจุดขาย-จุดคุ้ม-จุดซื้อ ข้างต้น ใช่ว่าจะสามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จบนฐานดิจิทัล เอสเอ็มอีที่ปรับตัวย้ายฐานกิจการของตนจากห่วงโซ่คุณค่าเก่าบนฐานแอนะล็อก ให้เข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าใหม่บนฐานดิจิทัล จึงจะสามารถเติบโตและประสบความสำเร็จ

ห่วงโซ่คุณค่าใหม่บนฐานดิจิทัล ในที่นี้ หมายถึง คู่ค้าหรือคู่ธุรกิจ ที่เอสเอ็มอีต้องเข้าเกาะเกี่ยวเป็นพันธมิตรเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและทรัพยากรบนฐานดิจิทัล ตัวอย่างของคู่ค้าในห่วงโซ่คุณค่าใหม่ ได้แก่ Facebook ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าถึงผู้ใช้ทั่วโลก Grab ผู้ให้บริการสั่งสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ Kerry ผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุจากหน้าประตูถึงหน้าประตู (Door-to-Door)

ปัจจัยความสำเร็จของเอสเอ็มอีบนฐานดิจิทัล มีอยู่ด้วยกัน 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ เส้นทางสื่อของ-ขายของ-ส่งของ

ปัจจัยเรื่อง เส้นทางสื่อของ เกี่ยวข้องกับ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ที่เป็นเจ้าของช่องทางสื่อสารหรือเจ้าของแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งสามารถช่วยสื่อข้อมูลสินค้าและบริการให้เข้าถึงผู้ใช้ที่เป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและด้วยต้นทุนที่ต่ำ (กว่าสื่อออฟไลน์มาก) จะเห็นว่า เอสเอ็มอี กระทั่งวิสาหกิจชุมชน หรือผู้ประกอบการโอทอป ที่ใช้ประโยชน์จากช่องทางสื่อสังคมออนไลน์นี้ สามารถพลิกธุรกิจให้มียอดขายเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด เช่น ปรากฏการณ์ของ “อาซัน” ที่มีการแชร์ไลฟ์สด และคลิปวิดีโอผ่านเฟซบุ๊ก อาหารทะเลตากแห้ง จ.สตูล ด้วยเงินทุนเริ่มแรกเพียง 700 บาท แต่วันนี้มียอดรายได้เกือบ 20 ล้านบาทต่อเดือน และเคยทำยอดขายสูงสุดได้ถึง 2 ล้านบาท จากการขายไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก ในเวลาเพียง 4 ชั่วโมง (ประชาชาติธุรกิจ, 20 เม.ย. 62)

ปัจจัยเรื่อง เส้นทางขายของ เกี่ยวข้องกับ ผู้ให้บริการสั่งสินค้าและบริการออนไลน์ ที่เป็นเจ้าของหน้าร้านสรรพสินค้าออนไลน์ (เช่น Lazada หรือ Shopee) หรือเจ้าของแอปพลิเคชันบนมือถือ (เช่น Grab หรือ LINE MAN) ซึ่งสามารถรับออเดอร์สินค้าและบริการจากผู้ซื้อที่เป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง จะเห็นว่า วันนี้ ร้าน Street Food เจ้าดังนับร้อย มียอดขายจากการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน มากกว่าหน้าร้าน โดยไม่จำเป็นต้องขยายพื้นที่ร้าน เพิ่มโต๊ะ หรือเปิดสาขาใหม่ และผู้บริโภคจากทั่วสารทิศ ก็ได้ทานอาหารเจ้าดัง ที่บ้าน ที่ออฟฟิศ โดยไม่จำเป็นต้องฝ่าการจราจร มาทานที่ร้าน เป็นปรากฏการณ์ที่มาพร้อมกับยุคดิจิทัลในแบบฉบับที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจับต้องได้อย่างแท้จริง ส่วนร้านค้าที่ไม่ปรับตัว ยังอาศัยแต่ห่วงโซ่คุณค่าเก่า ก็จะบ่นว่าเศรษฐกิจไม่ดี ผู้คนหดหาย ไม่จับจ่าย ไม่มีกำลังซื้อดังแต่ก่อน นั่นก็เป็นเพราะผู้บริโภคทยอยย้ายกำลังซื้อและไปจับจ่ายอยู่ในห่วงโซ่คุณค่าใหม่บนฐานดิจิทัลนั่นเอง

ปัจจัยเรื่อง เส้นทางส่งของ เกี่ยวข้องกับ ผู้ให้บริการรับส่งสินค้าและจัดส่งพัสดุ ที่เป็นเจ้าของเครือข่ายโลจิสติกส์ ช่องทางรับส่งสินค้า จุดให้บริการสาขาหรือร้านพาร์เซลช็อป (Parcel Shop) ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการหรือร้านค้าขนาดเล็กหรือบุคคลทั่วไป สามารถส่งสินค้าไปยังครอบครัว เพื่อน ลูกค้า และบริษัทคู่ค้าได้อย่างสะดวกสบาย (ทั้งในระดับธุรกิจถึงธุรกิจ ธุรกิจถึงบุคคล และบุคคลถึงบุคคล) ซึ่งบนฐานแอนะล็อกเดิม ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการส่งของเองที่ต้นทางและลูกค้ามารับของเองที่ปลายทาง (Port-to-Port) ขาดความสะดวกและไม่คล่องตัวเท่ากับบริการจัดส่งของแบบหน้าประตูถึงหน้าประตู (Door-to-Door) ที่ใช้เทคโนโลยีและระบบจัดการรับส่งพัสดุบนฐานดิจิทัล (ทั้งการลำเลียงสินค้า การบริหารคลังสินค้า การกระจายสินค้า การรับชำระค่ารับส่งสินค้า ฯลฯ) ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สามารถตัดตอนภาระในการจัดส่งสินค้าให้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการในห่วงโซ่คุณค่าใหม่ และมีเวลาให้กับการขายการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

อย่างที่กล่าวมาครับว่า ด้วยการผันตัวเองให้เข้าไปอยู่ในห่วงโซ่คุณค่าใหม่ ตาม 3 เส้นทางหลักข้างต้น จะทำให้ท่านผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สามารถอยู่รอดและเติบโต จนประสบความสำเร็จ สมเป็น SMEs ในทศวรรษ 2020 ได้อย่างภาคภูมิ

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

This field is required.

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

Hot this 48 hr.

ความหมายของไพ่ยิปซี ไพ่ทาโรต์ ไพ่ชุดเมเจอร์และไพ่ชุดไมเนอร์ อาร์คานา

ไพ่ทาโรต์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ไพ่ชุดเมเจอร์ อาร์คานา มี 22...

ผู้ก่อตั้ง Telegram Pavel Durov เผยตัวเลขใหม่! แอพพลิเคชั่นแชทฮอตแห่งปีมีผู้ใช้ 1 พันล้านแล้ว พร้อมบ่น WhatsApp ว่าเป็น “ของเลียนแบบไม่มีความมัน”

สวัสดีเพื่อน ๆ ชาวเทคโนโลยีและคนรักแอพแชททุกคน วันนี้เรามีข่าวใหญ่จากวงการแอพแชทที่ไม่ควรพลาดกันแน่! Telegram ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวัน โดยเฉพาะคนที่ชอบความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการสื่อสาร ได้ผ่านการประกาศจากผู้ก่อตั้งแอพฯ ที่มีชื่อเสียงอย่าง...

น้องลิลลี่ แอร์โฮสเตสสาวสวย ตัวเล็ก น่ารัก ขาวออร่าหน้าตาตะมุตะมิชวนให้เคลิ้ม 

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการแนะนำให้รู้จักสาวสวยน่าติดตาม ในโพสต์นี้เราจะพาเพื่อนๆ มาสัมผัสความสวยเว่อร์อลังการของน้องลิลลี่ แอร์โฮสเตสสาวสวย ตัวเล็ก...

Powell พูดอะไรวันนี้? สรุปสุนทรพจน์ประธาน Fed ล่าสุด พร้อมวิเคราะห์ผลกระทบเศรษฐกิจโลก

วันนี้ (16 เมษายน 2025) ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาสุนทรพจน์สำคัญของ Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Federal...

มูลนิธิอาเซียนและ Google.org จัดเวทีประชุมนโยบาย AI ระดับภูมิภาค: เปิดมิติใหม่สู่อนาคตดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรุงเทพฯ – สวัสดีทุกคน! วันนี้เรามีเรื่องราวเด็ด ๆ เกี่ยวกับการประชุมนโยบายระดับภูมิภาคที่เกี่ยวกับ AI ซึ่งจัดโดยมูลนิธิอาเซียน (ASEAN...

Topics

Powell พูดอะไรวันนี้? สรุปสุนทรพจน์ประธาน Fed ล่าสุด พร้อมวิเคราะห์ผลกระทบเศรษฐกิจโลก

วันนี้ (16 เมษายน 2025) ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาสุนทรพจน์สำคัญของ Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Federal...

สหรัฐฯ สั่งห้ามส่งออกชิป AI H20 ของ NVIDIA กระทบตลาดจีนเต็มๆ

หลังจาก NVIDIA เปิดตัวชิป AI ซีรีส์ H20 ที่ออกแบบมาเพื่อตลาดจีนโดยเฉพาะ ล่าสุดมีข่าวด่วนว่า รัฐบาลสหรัฐฯ...

Google เปลี่ยนระบบค้นหาใหม่! ยกเลิกโดเมนประเทศเฉพาะ ใครใช้ .co.th หรือ .co.jp ต้องรู้

ใครที่ชอบใช้ Google แล้วพิมพ์เข้าไปแบบ google.co.th, google.co.jp หรือโดเมนเฉพาะประเทศอื่น ๆ ตอนนี้ Google...

รีวิว League of Legends Season 2: ยินดีต้อนรับ Brawls ลาก่อน Voracious Atakhan

ใครที่ติดตาม League of Legends มานานก็น่าจะรู้กันดีว่า Riot Games ไม่เคยหยุดพัฒนาเกมนี้เลย ล่าสุดใน...

Related Articles

Popular Categories

spot_img