แม้ผลการศึกษาขององค์กรอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) จะสรุปว่า “มือถือ” อาจะเป็นสาเหตุของการเกิด “มะเร็งสมอง” ได้ แต่หลายคนเกิดคำถามตามมาว่า หากเป็นเช่นนั้นจริง ทำไมทั่วโลกถึงไม่มีรายงานการเพิ่มของผู้ป่วยมะเร็งสมองอย่างชัดเจน? เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ตัวแทนฝ่ายวิจัยมะเร็งระหว่างชาติของ WHO ประกาศว่า ผลจากการศึกษาเป็นเวลาหลายปีของทางหน่วยงาน โดยประเมินยอดผู้ใช้มือถือทั่วโลกที่มีมากกว่า 5 พันล้านราย หรือคิดเป็นสามในสี่ของประชากรโลกกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการเป็นเนื้อ งอก และมะเร็งในสมอง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในสหรัฐฯ เผยอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยที่เป็น มะเร็งในระบบประสาทส่วนกลางของสมองยังมีอัตราคงที่มาตั้งแต่ปี 1987 อย่างไรก็ดี หลักฐานความน่าเชื่อถือของ WHO ก็คือ มันเป็นผลการศึกษาที่หลายประเทศทำร่วมกัน ซึ่งพบว่า ผู้ใช้มือถือบ่อยเกินไป โดยเฉลี่ยประมาณ 30 นาทีต่อวันต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้องอกที่แกนสมอง (Glioma) มากกว่า 40% โดย WHO ยังไม่ได้เผยแพร่เอกสารงานวิจัยที่ระบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสมอง ชนิดอื่นๆ ตามมาด้วย หรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณของสมองที่ได้รับคลื่นสัญญาณจากมือถือโดยตรง ซึ่งงานวิจัยเก่าๆ กว่า 30 ชิ้นที่พยายามจะหาหลักฐานเชื่อมโยงระหว่างมือถือกับมะเร็ง แต่ก็ไม่พบ ที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่า ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งระบุว่า ผู้ใช้มือถือมีโอกาสเป็นมะเร็งสมองต่ำกว่าผู้ใช้โทรศัพท์บ้านอีกต่างหาก ประเด็น ที่เป็นคำถามก็คือ แล้วอะไรที่ทำให้ตัวเลขของยอดผู้ป่วยมะเร็งสมองคงที่? หรือตกหล่นหายไปไหน? เวลาเป็นตัวแปรสำคัญ เนื่องจากการเจริญเติบโตของเนื้องอกต้องใช้เวลาหลายปี ซึ่งอาจหมายถึงสิบปีในการพัฒนา และนักวิจัยบางรายยังให้ความเห็นอีกว่า ผู้ใช้ส่วนน้อยที่ใช้มือถือนานเกินกว่าจะส่งผลกระทบต่อสมองจริง อย่างไรก็ ตาม มีการเตือนออกมาเช่นนี้ ก็น่าจะเป็นการดีที่คุณผู้อ่านที่เป็นผู้ใช้มือถือนานๆ จะได้ระมัดระวังกันมากขึ้น แต่ระยะหลังมานี่ ผู้ใช้มือถือส่วนใหญ่จะหันมาใช้หูฟังบลูทูธที่ช่วยให้ปลอดภัยกว่ากันมากขึ้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งใช้มือถือเพื่อแชท หรือ BB ซึ่งสองกลุ่มนี่้จะเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มที่ชอบจ้อเป็นเวลานานๆ 😀 ข้อมูลจาก: WHO