ใครที่สนใจเรื่องราวการบุกเบิกดวงจันทร์ในยุคนี้ต้องมารวมกันทางนี้ เพราะครั้งในเรามีข่าวใหญ่ในวงการอวกาศจากประเทศญี่ปุ่นจะมาแจ้งให้ทราบว่า โครงการตอนนี้โครงการความร่วมมือในการพัฒนายานยนต์ที่จะนำไปใช้วิ่งบนดวงจันทร์ระหว่างโตโยต้ากับฮอนด้าได้ล่มลงแล้ว รายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย
สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้เป็นดังนี้
- ผ่านไปเพียง 10 เดือนความร่วมมือระหว่างโตโยต้าและฮอนด้าในการพัฒนารถโดยสารนักอวกาศบนดวงจันทร์ก็ล่มเสียแล้ว โดยในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา องค์การสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่น (Japan Aerospace eXploration Agency – JAXA) ประกาศว่าได้ดึงบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรี (Mitsubishi Heavy Industry – MHI) เข้ามาช่วยพัฒนาส่วนของระบบไฮโดรเจนฟิวเซลล์ (hydrogen fuel cell) เพื่อผลิตไฟฟ้าแก่รถดวงจันทร์ที่โตโยต้า+JAXA เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2019
-
ภารกิจของ JAXA ในการสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคตจะถูกขับเคลื่อนด้วยรถที่ปรับความดันสำหรับมนุษย์ (manned, pressurized rover) โดยสามารถโดยสารนักอวกาศอย่างน้อย 2 คนและมีห้องเปลี่ยนใส่/ถอดชุดเดินดวงจันทร์ ตัวรถมีขนาดยาวพอๆ กับรถตู้รุ่นใหม่ในไทยเรา สามารถเดินทางได้ไกลถึง 10,000 กม.
-
โดยมิติของยานที่ JAXA และ Toyota ศึกษาพัฒนา ยาวxกว้างxสูง: 6.0×5.2×3.8 เมตร ปริมาตรภายใน: 13ลบม. บรรทุกนักอวกาศ สูงสุด 7 คน (ปีที่แล้วเคยระบุเพียง 2 คนหรือ 4 คนในเหตุฉุกเฉิน) ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนฟิวเซลล์ เป็นไปได้ที่จะผลิตไฮโดรเจนและอ็อกซิเจน จากน้ำแข็งที่อยู่บนดวงจันทร์หรือดาวอังคารมาเติมฟิวเซลล์
-
ไฮโดรเจนและอ็อกซิเจนทำปฏิกิริยาในฟิวเซลล์ เพื่อผลิตไฟฟ้าชาร์จแบ็ตขับเคลื่อนรถ โดยมีไอเสียเป็นน้ำซึ่งสามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ต่อทั้งการบริโภค อุปโภค รวมถึงนำกลับมาแยกเป็นทั้งสองธาตุนั้นเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงจรวด และแน่นอนอ็อกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์อวกาศ
-
โดย JAXA และโตโยต้า ยังยืนยันที่จะดำเนินตามเป้าหมายเดิมที่จะสร้างรถต้นแบบให้เสร็จภายในปี 2027 เพื่อให้หน่วยงานอวกาศต่างๆ ในภาคีโครงการอาร์ทีมิส (Artemis Program) ได้ทดสอบ ก่อนจะสร้างคันจริงเพื่อไปลงดวงจันทร์ในปี 2029
-
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกันยายน ปี 2022 JAXA ได้ดึงฮอนด้า ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่นมาช่วยโตโยต้าพัฒนารถโดยสารสำหรับนักอวกาศบนดวงจันทร์+ดาวอังคาร ทั้งนี้เป็นเพราะฮอนด้ามีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีไฮโดรเจนฟิวเซลล์ (hydrogen fuel cell) มากกว่าโตโยต้า เนื่องจากฮอนด้าเป็นเจ้าแรกๆ ของโลกที่ริเริ่มมากว่า 30 ปีแล้ว แต่โตโยต้ายังรับผิดชอบพัฒนาส่วนเหลือรถนี้ต่อไปร่วมกับฮอนด้า
-
ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรหลักชาติหนึ่งในโครงการอาร์ทีมิส (Artemis) ที่นำโดยสหรัฐอเมริกาเพื่อกลับไปสำรวจดวงจันทร์อย่างถาวรและเพื่อเป็นฐานพัฒนาการไปสำรวจดาวอังคารต่อในอนาคต
และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจล่าสุดเกี่ยวกับโครงการบุกเบิกดวงจันทร์ในยุคนี้ที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกคน และหากมีความคืบหน้าประการใดเกี่ยวกับโครงการนี้อีก เราจะรีบมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครทันที