เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงกับตัว มันไม่ใช่เรื่องไอคิว มันมีทั้ง อีคิวและอีโก้ รวมอยู่ในนั้นด้วย เรื่องที่นวลนำเสนอมา มักจะเป็นที่เห็นในสังคมจริงๆ (แนะนำควรดูในคลิปเพราะผมแค่สรุปตามประสบการณ์ที่เคยเจอ)
คลิปต้นทาง https://www.youtube.com/watch?v=keTUj4WH3sc
นวลแบ่งระดับไอคิวเป็น 3 ประเภทคือ
- รู้ไม่จริง รู้แบบผิดๆ หรือโดนหลอกว่าให้เชื่อว่าเป็นแบบนั้นจริง (ในนี้นวล จะใช้คำว่า โง่) หมายถึง เชื่อในสิ่งที่ทราบโดยทันทีโดยไม่คิดไตร่ตรองอีกสักรอบ (เชื่อแล้วเชื่อเลย รักแล้วรักเลย)
-
รู้แหล่ะ พื้นแน่นแล้ว แต่มารู้ตัวทีหลังว่า ยังมีสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้อีก หรือสิ่งที่ตัวเองรู้นั้น มันมีรายละเอียดลึกกว่านั้นอีก
-
ระดับมาสเตอร์ เขาไม่คิดว่าสิ่งที่เขารู้นั้นผิดไปเกินกว่านั้นแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าเขาจะไม่แสวงหาความรู้หรือศึกษาให้ลึกกว่านั้น เขายังคิดที่ต่อยอดหรือรับฟังในสิ่งที่แปลกใหม่กว่านั้นได้
มาเรื่องที่อีคิว หรือ อีโก้
- พวกเหล่านั้น จะใช้อีโก้มาช่วยว่า กูเนี่ย รู้จริง ไม่มีใครมารู้ไปกว่ากูได้ ใครเถียงกู สามารถสู้ด้วยอีโก้ของกู กูจะชักน้ำพริกที่ละลายแม่น้ำทั้งห้ามาสาดให้มึงจมดิน (นวลจะใช้คำว่า โง่แต่อวดฉลาด)
-
พวกรู้แบบผิวเผิน หรือ มีพื้นฐานในความรู้นั้นแล้ว เมื่อคนพวกนี้เห็นคนที่รู้มากกว่าตน ก็จะพยายามศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม แต่บางทีมันก็เป็นดาบสองคม คือ เราได้เข้าใจเพิ่มเติม หรือ เขาพูดอะไรอยู่กันแน่ ถ้าต้องพูดคัยกับคนกลุ่ม1 เขาจะรู้สึกว่า ทำไมสิ่งที่กูรู้ มันสู้มึงไม่ได้ขนาดนั้นเลยเเหรอ ถ้าได้คุยกับคนกลุ่ม3 เขาจะรู้สึกว่าได้รับการเติมเต็มจากความรู้จากสิ่งมีมาก่อนหน้านั้น ถ้าได้คุยกับคนกลุ่ม2 เหมือนได้แลกเปลี่ยนความคิดกันมากกว่า
-
อีคิวกับอีโก้พวกเขาสูงนะ แต่จะไม่รุนแรงเท่ากลุ่ม 1 เพราะเขาพยายามใช้เหตุผลมาควบคุมสิ่งดังกล่าว แต่เขาสามารถอธิบายแทนการเถียงให้คนกลุ่ม 1และ 2 ได้
จะพูดถึงประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว คือ ผมจบสายภาษาญี่ปุ่นมา จบถึง ป.โท ไปอยู่ยุ่นระยะยาว (แต่ไม่ถึงปี) ถึง 2 รอบ (ทุนฟรีด้วย) แล้วประสบการณ์ขนาดนี้ จะจัดตัวเองอยู่ในกลุ่มไหน ?
“ขอจัดตัวเองไว้ที่กลุ่ม 2”
ทำไมล่ะ ? เพราะคิดว่าตัวเงยังมีองค์ความรู้ไม่พอ แถมสิ่งที่เรียนมาขนาดนี้ มันดันไม่ใช่สิ่งที่ชอบตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ ถ้าชอบก็ไม่ยอมยกให้เป็นอันดับแรกหรอก และถ้าคุณไม่มีผลงานวิชาการไปสู้ระดับดร.เขาได้ คุณอยู่ในกลุ่ม 2 แน่นอน แต่ก็ยังมีความมั่นใจว่า กูรู้ดีกว่าคนกลุ่ม 1 แน่ พื้นฐานก็มี ประสบการณ์ในงานก็มี พบผู้คนมาเยอะ เพียงแค่รู้ในระดับนี้ก็พอแล้ว
แล้วผมไปเจออะไรมา “ก็ผมไปเจอคนกลุ่ม 1 เถียงสู้เรื่องการใช้ภาษาญี่ปุ่นน่ะสิ” ผมรู้ว่าอีกฝ่ายนั้น ไม่ได้จบสายภาษาแน่นอน แต่เป็นพวกโอตาคุ และอายุมากกว่าเท่านั้น เมื่อเราเห็นว่าสิ่งที่เขาพูด มันผิด เราเลยพยายามอธิบายว่า มันไม่ใช่ หรือมันไม่ได้ตรงตัวขนาดนั้น มันยืดหยุ่นได้ เนื่องจากบลาๆๆๆๆ แต่เขาก็เถียงสู้ด้วย หลักของตำรา ประสบการณ์ส้นตีนอะไรของเขา จนเราแบบ งั้นกูพอก็ได้ ยอมให้เขารู้แบบผิดแบบนั้นก็ดีแล้ว
แล้วเขาก็ออกผลงานของเขา จากการแปลชื่ออาหาร ก็เสร็จโจรสิครับ เพราะสิ่งนั้นมันเผยแพร่บนสาธารณะ(โลกออนไลน์)ไง เลยรู้เลยว่า นี่ไม่ได้แปลจากองค์ความรู้จริงๆ หรือ แปลจากวัฒนธรรมการใช้ภาษาที่เจ้าของภาษาเขาใช้ “นี่มันกูเก้งทรานสเลด”เลย บางทีคำศัพท์ถูกนะ แต่ไวยากรณ์ดันเรียงลำดับผิด อันนี้พื้นฐานมากๆๆๆ ถ้าเป็นศัพท์เฉพาะ สิ่งที่คุณแปลแน่ใจหรือว่า มันเป็นคำที่เขากำลังใช้กัน หรือเป็นคำเก่าไปแล้ว
(หมายถึง คนแก่ใช้ วัยรุ่นไม่ใช้ ผมยกตัวอย่าง คำว่า ขอบคุณ ภาษากลางของญี่ปุ่น ใช้ว่า อาริกาโตะ แต่ภาษาท้องถิ่นอย่างเมืองโอซาก้า คำใช้คำว่า โอขินิ แต่วัยรุ่นเขาแทบจะไม่ใช้กันแล้ว เพราะมันน่าอาย มันดูบ้านนอก หรือคำศัพท์อาหาร เช่น กระเทีม เขาเรียกว่า “นินนิคุ” แต่หลังๆ เขาใช้ทับศัพท์ว่า “การ์ริค(ขุ) แทน ขอเดาว่า น่าจะเป็นที่การออกเสียงที่น่าจะคล้ายกับคำว่า “คินนิคุ” ที่แปลว่า”กล้ามเนื้อ” ซึ่งความหมายไปคนละทางเลย นี่คือการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมการใช้ภาษา)
แม้แต่เอกสารราชการ ผมรับแปลนะ ได้เงินด้วย เขาให้ตัวอย่างเป็นภาษาไทย เขียนแบบสละสลวยเชียว แตถ้าคุณจะแปลเป็นภาษาของเขา คุณต้องรู้จัก “แบบฟอร์มการเขียนเอกสารทางการ” ก่อน ต่อให้ต้นทางมีข้อมูลยังไงมา เราจะแปลตรงตัวไม่ได้ เราต้องยึดตามแบบฟอร์มที่พึงมี จากนั้น เขาใส่รายละเอียดที่แปลเพิ่มลงไปได้ ถ้ามีคนมาอ่านแล้วบอกว่า ทำไมคำนั้นไม่มี คำโน้นเพิ่มมาทำไม แสดงว่า คุณไม่รู้จักวัฒนธรรมการใช้ภาษาจริงๆ พจนานุกรมทำให้คุณรู้คำศัพท์ แต่ไม่ได้หมายความว่า คำศัพท์นั้นจะใช้ได้ทุกสถานการณ์
นั้นแหล่ะ ถ้าคุณยังกล้าแสดงความรู้แบบผิดๆ แต่ยังมั่นใจในตัวเอง คุณก็จะเป็นได้แค่คนกลุ่ม 1 ให้เขานินทาเล่น ขนาดผมเอาสิ่งที่เขาแปลให้รุ่นน้อง+รุ่นพี่ที่จบภาษาแถมได้ไปทำงานที่ญี่ปุ่นดู เขายังขำเลย กล้าแปลออกขายได้ไง ถ้าอย่างงั้นปล่อยเขาไปเถอะ เขาอยู่ในระดับนั้นไปแล้ว คงพึงพอใจที่คิดว่าเก่งกว่าคนอื่น สุดท้ายคุณก็บัวใต้น้ำตามสำนวนไทยที่เรียกกัน
ถ้าคุณอยากพัฒนาตนเอง คุณต้องยอมฟังคนที่รู้มากกว่าคุณ(หมายถึงต้องมีสิ่งที่การันตีว่า พื้นฐานเขาดีกว่าคุณนะ) แต่อย่าฟังแล้วเชื่อทันที ให้พยายามหาอะไรมายืนยันหลังได้ที่ได้ฟังเขาพูดมา ถ้าทำแบบนี้ คุณก็จะขึ้นมาอยู่ในกลุ่มที่ 2 และอาจจะมาอยู่ในกลุ่มที่ 3 สักวันหนึ่งก็เป็นได้
แต่ถ้าเอาแต่ฟังเฉยๆ ไม่ถามเมื่อสงสัย ไม่ค้นคว้าเพิ่มเติม คุณก็ยังอยู่ในกลุ่ม 1 อยู่ดี เพราะสิ่งที่เขาพูดมาอาจจะผิดก็ได้ เพราะคนที่พูดกับคุณอาจจะอยู่ในกลุ่ม 1 ก็ได้
เตือนอีกครั้ง แนะนำควรดูในคลิปเพราะผมแค่สรุปตามประสบการณ์ที่เคยเจอ และผมจะให้ดูผลงานที่ผมเถียงกับเขา ว่าเขาเก่งภาษาญี่ปุ่นกว่าผม แล้วก็พิจารณาเอาเอง
ขนมปังคีโตแต่ไม่คีโต ??? แปลไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการสื่อแถมใช้คำศัพท์ผิด
ผิดทั้งการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์