สวัสดีชาวไอทีเมามันส์ทุกคน วันนี้เรามีข่าวสำคัญในแวดวงเศรษฐกิจระดับโลกจะมาแจ้งให้ทราบว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กกำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความตกลงปารีสซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย
สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ดังนี้
- ตามรายงานของสมาคมเหล็กโลก (World Steel Association) เหล็กทุกเมตริกตันที่ผลิตในปี 2020 จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 8 ตัน ออกสู่ชั้นบรรยากาศเกือบสองเท่า การปล่อยทั้งหมดนี้มาจากกระบวนการผลิตเหล็กอยู่ที่ประมาณ 2.6 พันล้านตันในปี 2020 หรือคิดเป็นประมาณ 7% ของการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก
- ในประเทศสวีเดนเพียงบริษัทเดียวอย่าง SSAB ยักษ์ใหญ่ด้านเหล็กกล้า มีสัดส่วนการปล่อยมลพิษประมาณ 10% ของประเทศ ที่มาจากเตาเผาผลิตของโรงงาน แต่ในขณะเดียวกัน SSAB เองก็ได้ดำเนินการโรงงานนำร่อง Lulea ที่มีเทคโนโลยีสูงในความพยายามลดการปล่อยคาร์บอนที่จากการผลิตเหล็ก โดยเปลี่ยนกระบวนการบางอย่างออกจากการเผาถ่านโค้กเป็นการเผาไหม้ไฮโดรเจนที่ผลิตขึ้นเองด้วยพลังงานหมุนเวียนแทน
- HYBRIT หรือ Hydrogen Breakthrough Ironmaking Technology เป็นการร่วมทุนกันของบริษัท SSAB, บริษัทขุดแร่ LKAB และ บริษัทพลังงานสัญชาติสวีเดน Vattenfall ที่เปิดตัวในปี 2016
- Mikael Nordlander หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมการลดคาร์บอนของ Vattenfall กล่าวว่า “ค่าใช้จ่ายของพลังงานหมุนเวียน พลังงานที่ปราศจากฟอสซิล ลดลงอย่างมาก พร้อมกันนั้นคุณก็ได้เข้าใกล้เป้าหมายของข้อตกลงปารีสมากขึ้น เพื่อลดการปล่อยมลพิษทั่วโลก”
- ผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรปที่มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมากมีความต้องการเหล็กที่มาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ปล่อยมลพิษ Volvo Group สัญชาติจีนถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่เข้ามาร่วมมือกับ HYBRIT
- Kerstin Enochsson หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อกล่าวว่า “เหล็กคือ “ส่วนสำคัญ” ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของรถยนต์ของพวกเขา 20 ถึง 35% การแก้ปัญหาเฉพาะแค่เปลี่ยนการปล่อมลพิษจากท่อไอเสียมาเป็นพลังงานไฟฟ้านั้นอาจไม่เพียงพอ เราต้องให้ความสำคัญกับตัวรถด้วยเช่นกัน” เธอกล่าว
- นอกจากนี้บริษัทอื่นๆ รวมถึง Volkswagen ก็ส่งสัญญาณว่ามีความต้องการเหล็กสีเขียวนี้เช่นกัน
- กระบวนการ HYBRIT มีเป้าหมายเพื่อทดแทนการใช้ถ่านโค้กในการผลิตเหล็กจากแร่ มาเป็นการผลิตโดยใช้ไฮโดรเจนและไฟฟ้าหมุนเวียนแทน
- มันเริ่มต้นด้วยเม็ดแร่เหล็กแต่งแต้มสีน้ำตาลที่ทำปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจนและลดลงเป็น “เหล็กฟองน้ำ” ซึ่งชื่อนี้มาจากรูพรุนที่ทิ้งไว้หลังการกำจัดออกซิเจน จากนั้นนำไปหลอมในเตาไฟฟ้า หากไฮโดรเจนถูกผลิตขึ้นโดยใช้พลังงานหมุนเวียน ก็จะยิ่งทำให้กระบวนการผลิตนี้ไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เลย
- “เราได้รับเหล็กแล้วเราก็ได้ไอน้ำแทน” Martin Pei หัวหน้าเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีของ SSAB กล่าว “ไอน้ำสามารถควบแน่น หมุนเวียน นำกลับมาใช้ใหม่ได้ในกระบวนการ เราสามารถแก้ปัญหาที่เป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตเหล็กได้อย่างแท้จริง”
- อุตสาหกรรมเหล็กของสวีเดนได้กำหนดแผนการที่จะบรรลุการดำเนินงานผลิตที่ “ปราศจากฟอสซิล” ภายในปี 2045
- ตามรายงานของสมาคมเหล็กโลก กว่า 70% ของการผลิตเหล็กทั่วโลกเกิดขึ้นในเอเชีย ซึ่งผู้ผลิตเหล็กไม่สามารถเข้าถึงเศษเหล็กเก่าในปริมาณที่เท่ากันกับประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมมาเป็นเวลานานแล้ว นั่นเป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าทำไมการปล่อยมลพิษเฉลี่ยต่อตันของเหล็กจึงสูงขึ้นในภาคใต้ของโลก
- โรงงานนำร่อง Lulea ขนาดเล็กยังคงเป็นศูนย์วิจัย และผลิตได้เพียงสองร้อยตันจนถึงตอนนี้ มีแผนจะสร้างโรงงานสาธิตขนาดใหญ่ขึ้นและเริ่มส่งมอบเชิงพาณิชย์ภายในปี 2026
และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงอุตสาหกรรมเหล็กระดับโลกที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการทุกคน และเมื่อได้ทราบแล้วก็อย่าลืมปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงกันนะครับ