เบนจามิน ชอย นักศึกษาอายุสิบเจ็ดปี จากรัฐเวอร์จิเนียใช้เวลาว่างที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน สร้างแขนเทียมที่มีต้นทุนต่ำขึ้นมา มันสามารถควบคุมได้ด้วยความคิด โดยใช้ AI เข้ามาช่วย
รายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย
- แขนเทียมสร้างขึ้นโดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยพิมพ์ส่วนประกอบทีละชิ้นส่วนและนำมาประกอบเข้ากันด้วยหนังยาง พร้อมกับเขียนโค้ดเข้าไปในชิปที่ฝังอยู่บนแขน เพื่อทำให้มันสามารถขยับตามคำสั่ง
- ในการใช้การสื่อสารจากสมอง ชอยไม่ได้เอาชิปไปฝังในสมอง แต่เขาใช้คลื่นไฟฟ้าหรือ EEG ซึ่งเป็นระบบบันทึกกิจกรรมทางไฟฟ้าของสมองด้วยเซนเซอร์สองตัว
- โดยตัวหนึ่งเป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดพื้นฐานที่หนีบไว้ที่ติ่งหู ขณะที่อีกตัววางอยู่บนหน้าผากและจะรวบรวมข้อมูล EEG ครับ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ข้อมูลจะถูกส่งไปยังแขนเทียมผ่านทาง Bluetooth และจะถูกแปลงเป็นคำสั่งที่ใช้สั่งการเคลื่อนไหว โดยใช้โมเดล Ai ที่ฝังอยู่ในชิปบนแขน ผลลัพธ์คือเขาสามารถขยับแขนได้ตามความคิดของเขาจริง ๆ
- หากย้อนกลับไปในช่วงเริ่มต้น โมเดล AI สร้างขึ้นโดยได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัคร 6 คนที่ชอยทำงานด้วยเขาใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมง ในการรวบรวมข้อมูลสมองผ่านการกำมือและคลายมือ และฝึก AI ให้ทำตามคำสั่งที่ส่งมา อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ทำให้เวลาตอบสนองของแขนล่าช้า และจำเป็นต้องเชี่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา
- ต่อมาชอยจึงบีบอัดอัลกอริธึมของเขา ซึ่งมีโค้ดมากกว่า 23,000 บรรทัด และอัลกอริธึมย่อยใหม่เจ็ดแบบลงในชิบบนแขนกล ทำให้ลดเวลาในการตอบสนองได้มากขึ้น จนได้รับความสนใจจากผู้พิการในรัฐเพนซิลเวเนียครับ
ปัจจุบันแขนเทียมของชอย ถูกพัฒนาและเปลี่ยนมามากกว่า 75 ครั้ง และปัจจุบัน มันถูกประกอบไปด้วยวัสดุเกรดวิศวกรรมที่สามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 4 ตัน และมีความแม่นยำในการส่งคำสั่งจากสมองถึง 95 เปอร์เซ็นต์